dc.contributor.author | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Health Systems Research Institute | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-10-07T03:39:17Z | |
dc.date.available | 2021-10-07T03:39:17Z | |
dc.date.issued | 2564-09 | |
dc.identifier.isbn | 9789742992606 | |
dc.identifier.other | hs2710 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5420 | |
dc.description.abstract | ในปี 2563 ภารกิจของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีหน้าที่สำคัญในการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข รวมทั้งเป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านสุขภาพของประเทศ (Program Management Unit : PMU) ที่มีบทบาทในการสร้างและขับเคลื่อนงานวิจัยด้านสุขภาพบนพื้นฐานความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ตลอดจนตอบสนองนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ โดย สวรส. มุ่งจัดสรรทุนวิจัยในการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งจัดสรรทุนวิจัยให้กับโครงการสำคัญของประเทศ เช่น โครงการจีโนมิกส์ไทยแลนด์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาโรคเฉพาะบุคคลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น หรือการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เช่น การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้แต่ละงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวรส. ต้องเป็นงานวิจัยที่สามารถแก้ปัญหาของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในมิติของการพัฒนาความยั่งยืนของระบบการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการลดค่าใช้จ่าย การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของงบประมาณการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยมีการผลักดันให้เป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพ การพัฒนามาตรการควบคุม/ป้องกันปัญหาโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ นอกจากนั้นในปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์สังคมต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สวรส. จึงมีงานวิจัยที่ตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวของประเทศอย่างชัดเจน ทั้งการนำเสนอมาตรการต่างๆ ในการบริหารจัดการการแก้ปัญหาโควิด-19 รวมถึงการรักษาพยาบาล การให้วัคซีนและแนวทางในการกักกันโรค เช่น งานวิจัยการสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผน การปรับตัวในช่วงวิกฤตของระบบสุขภาพของประเทศไทยโดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19, การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19, การศึกษาประสิทธิผลการใช้พลาสมาของผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะปอดบวมระดับปานกลางถึงรุนแรง ฯลฯ ทั้งนี้ตลอดการดำเนินงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สวรส. ขอขอบคุณคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย เครือข่ายวิชาการ หน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน ตลอดจนบุคลากรของ สวรส. ที่ร่วมกันทุ่มเททำงาน รวมทั้งสร้างองค์ความรู้และขับเคลื่อนงานวิจัยของ สวรส. ไปสู่การใช้ประโยชน์ที่สนับสนุนการแก้ปัญหาของประเทศและเป็นประโยชน์กับประชาชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | รายงานประจำปี | th_TH |
dc.subject | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข--รายงานประจำปี | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข--การบริหาร | th_TH |
dc.subject | Annual Report | th_TH |
dc.subject | Health Systems Research Institute--Annual Report | th_TH |
dc.title | รายงานประจำปี 2563 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : สร้างองค์ความรู้ สู่การพัฒนาระบบสุขภาพไทย | th_TH |
dc.title.alternative | HSRI Annual Report 2020 | th_TH |
dc.type | Annual Reports | th_TH |
dc.identifier.callno | รายงานประจำปี ส181ร 2564 | |
.custom.citation | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข and Health Systems Research Institute. "รายงานประจำปี 2563 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : สร้างองค์ความรู้ สู่การพัฒนาระบบสุขภาพไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5420">http://hdl.handle.net/11228/5420</a>. | |
.custom.total_download | 1258 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 10 | |
.custom.downloaded_this_year | 259 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 48 | |