Now showing items 5101-5120 of 5900

    • การพัฒนาวิธีวินิจฉัยตามอาการและอุบัติการณ์โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในอำเภอที่เลือกสรร จังหวัดขอนแก่น 

      อุทัย อุโฆษณาการ; ปราโมทย์ ทองกระจาย; จันทร์โท ศรีนา; เกรียงศักดิ์ กันต์พิทยา; คมกริช ทุ่งสะเดาทอง; สมพงษ์ จองชัย; สร้อย อนุสรณ์ธีระกุล; เอื้อมพร ทองกระจาย (2539)
      แนวคิดในการผนวกบริการทางด้านการรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งโรคเอดส์เข้าไปในโครงการบริการสุขภาพอนามัยสำหรับสตรีที่มีอยู่แล้ว ถือเป็นข้อเสนอแนะที่มีความสำคัญและเป็นไปได้อย่างยิ่งในเชิงนโยบายจากองค์การอนามัยโลก ...
    • ก้าวต่อไปของการศึกษาด้านสาธารณสุขไทย 

      Prawes Wasi; ประเวศ วะสี (2537)
      บทความนี้เรียบเรียงจากคำบรรยายในการประชุมสัมมนาประเมินผลโครงการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับระบบบริการสาธารณสุข เพื่อการพัฒนากำลังคน และระบบบริการสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2536
    • ผู้หญิงกับการเจ็บป่วยเรื้อรัง 

      เรณู พุกบุญมี (2539)
      ปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้หญิงพบมากขึ้นตามอายุ และการที่ผู้หญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชายทำให้ผู้หญิงเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากกว่า แต่ภายใต้สังคม-วัฒนธรรมที่ผู้หญิงเป็นผู้ดูแลสุขภาพคนในครอบครัว เมื่อตนเองเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ...
    • มดลูก กบูร กับการใช้ยาของผู้หญิงชนบทอิสาน 

      ลือชัย ศรีเงินยวง (2539)
      ความเชื่อในวัฒนธรรมอิสานเรื่อง "กบูร" ได้เปิดช่องให้มีการแสวงประโยชน์จากความเชื่อดังกล่าว และนำไปสู่การให้ยาที่ไม่เหมาะสมอย่างสิ้นเปลือง โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่จะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในแง่การดื้อยาและผลข้างเคียง
    • คนงานก่อสร้างหญิงอีสาน 

      ศิริพร จิรวัฒน์กุล (2539)
      อุบัติเหตุเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในชีวิตการทำงานของคนงานก่อสร้างหญิง และการทำงานแบกหามของหนักก็ก่อให้เกิดอาการผิดปกติในบางส่วนของร่างกายเป็นประจำ เช่น เจ็บปวดหน้าอก ท้องน้อย มดลูก ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งส่วนใหญ่จะรักษาเ ...
    • การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการยุติการตั้งครรภ์: ประเด็นท้าทายนโยบายการให้บริการของรัฐ 

      นภาภรณ์ หะวานนท์ (2539)
      ประมาณว่าในประเทศไทยมีการทำแท้งสูงถึง 200,000-300,000 รายต่อปี แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้บริการจากสถานบริการที่ให้บริการไม่ถูกหลักการแพทย์ มีราคาสูง ขาดความรับผิดชอบ และยังเสี่ยงต่ออันตรายจากอาการแทรกซ้อน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ...
    • การหมดระดูของผู้หญิงไทย 

      อรอนงค์ ดิเรกบุษราคม (2539)
      สังคมไทยเคยมองการหมดระดูว่าเป็นธรรมชาติ ผู้หญิงไทยรับรู้การเข้าสู่ภาวะดังกล่าวด้วยความรู้สึกด้านบวก สัมพันธ์กับการให้คุณค่าเรื่องความแก่ ที่วัฒนธรรมไทยให้การเคารพยกย่องผู้สูงอายุซึ่งหมายถึงผู้มีความสุขุม มีศีลธรรม ...
    • ภาวะสุขภาพผู้หญิงไทยวัยหมดระดู 

      สุวิภา บุณยะโหตระ (2539)
      ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของช่วงชีวิตในวัยหมดระดู ซึ่งฮอร์โมนเพศที่ลดต่ำลงมีผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ประกอบกับวัยนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ...
    • ระบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ในโครงการประกันสังคม 

      สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ (2540)
      การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ในโครงการประกันสังคมได้รับการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการมาด้วยดี นับแต่เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2534 ด้วยย่างก้าวที่สุขุม มุ่งมั่น มั่นคง และคำนึงถึงความจำเป็น ความสะดวก ความเป็นธรรม คุณภาพและมาตร ...
    • ผู้หญิงกับการคุมกำเนิด 

      มัลลิกา มัติโก (2539)
      นโยบายประชากรและการวางแผนครอบครัวผ่านมาตรการการคุมกำเนิดที่ผ่านมา ได้ละเลยความจริงที่ว่าผู้หญิงมีสิทธิที่จะเลือกหรือไม่เลือก และสิทธิที่จะควบคุมร่างกายตัวเอง การให้บริการอนามัยเจริญพันธุ์อย่างกว้างขวางแก่ผู้หญิงวัยต่างๆ ...
    • ผู้หญิงกับสุขภาพ 

      เพ็ญจันทร์ ประดับมุข (2539)
    • สถานการณ์สุขภาพผู้หญิงไทย 

      ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร (2539)
      สถานการณ์และประเด็นสุขภาพผู้หญิง มิใช่การมองถึงความเจ็บป่วยเพียงแง่มุมเดียว สถานะสุขภาพที่บ่งชี้ถึงระดับคุณภาพชีวิตของผู้หญิงในด้านต่างๆ ช่วงวัยต่างๆ จะเป็นกรอบใหม่ในการมองบริการสุขภาพก็ต้องพิจารณาความครอบคลุมทั้งในด้านป ...
    • รื้อสร้างองค์ความคิดผู้หญิงกับสุขภาพ 

      กฤตยา อาชวนิจกุล; พิมพวัลย์ บุญมงคล (2539)
      ผู้หญิงมีบทบาทมากกว่าความเป็นแม่ ผู้หญิงเป็นผู้ใหับริการสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว สามในสี่ของบุคลากรทางการสาธารณสุขเป็นผู้หญิง แต่สังคมมักมองไม่เห็นบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้ผลิตของครอบครัวและสังคม ประสิทธิภาพการบริการสุขภ ...
    • การวิจัยกับการทำงาน 

      Somsak Chunharas; สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (2537)
      บทความนี้เขียนเมื่อปี พศ. 2537 ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการวิจัยเพื่อใช้ในการพัฒนาการสาธารณสุขในทุกระดับและทุกพื้นที่ เพราะในความเป็นจริงไม่มีวิธีการหรือสูตรสำเร็จใดๆ ที่จะเหมาะสมกับทุกพื้นที่ทุกสถานการณ์ การวิจัยระบบสา ...
    • บันทึกการเสวนาสัญจร เพื่อกระเทาะความคิดใส่บ่อพักความรู้ นำไปสู่การผ่าตัดวิถีชีวิตชุมชนชนบท 

      คณะทำงานวิชาการสนับสนุนการประสานงานนโยบายระบบบริหารและบริการสาธารณสุข (2538)
      มนุษย์กำลังถูกการพัฒนาแบบตะวันตกดึงห่างออกจากวิถีชีวิตเดิม และห่างออกจากสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกที บทความพิเศษฉบับนี้เป็นบันทึกเสวนาสัญจรที่นำท่านกลับไปสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชนที่เต็มไปด้วยสติปัญญาอันน่าเคารพ และรับฟังเป็นอย่างยิ่ง
    • การนำเอาระบบบริการของโรงพยาบาลเอกชนมาใช้ในโรงพยาบาลรัฐ 

      วิทิต อรรถเวชกุล (2538)
      โรงพยาบาลของรัฐมักประสบปัญหาในเรื่องของภาวะสมองไหลอยู่เสมอ ส่วนด้านบริการที่ให้กับประชาชนจะมีความล่าช้าและขาดการเอาใจใส่ต่อผู้มารับบริการอย่างค่อนข้างชัดเจน นอกจากนี้ปริมาณของเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังขาดสัดส่วนที่เหมาะสมกั ...
    • การประยุกต์แนวคิดทางการตลาดเพื่อการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 

      ชูชัย ศรชำนิ (2538)
      บทความนี้ผู้เขียนได้ใช้ศิลปประยุกต์ศาสตร์จากประสบการณ์ทางด้านการตลาดและสาธารณสุขโดยแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่แหวกวงล้อมของความซ้ำซากจำเจออกมาให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการตอบสนองความต้องการของมวลชน ...
    • ศูนย์แพทย์ชุมชน: การให้บริการแบบเวชปฏิบัติครอบครัว 

      ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ; ยงยุทธ พงษ์สุภาพ; สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ; รวินันท์ ศิริกนกวิไล (2538)
      บทความนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการให้บริการสาธารณสุขที่เน้นความสัมพันธ์กับชุมชน การบริการอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดจนถึงการบริหารจัดการด้านระบบข้อมูล การเงิน และการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งรูปแบบการให้บริการลักษณะ ...
    • การประเมินผลเชิงบริหาร เชิงพฤติกรรมและบริการสุขภาพ และเชิงระบาดวิทยา: แผนงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในพื้นที่ 6 จังหวัดของเขต 9: 2536-2537 

      พลเดช ปิ่นประทีป; เพ็ญศิริ จิตรากร; ชาตรี อินทร์ใหญ่; ธีระศักดิ์ เอื้ออริยกุล (2538)
      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก เนื่องจากพฤติกรรมเป็นผลของการเรียนรู้ในลักษณะขององค์รวม หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เพื่อควบคุมป้องกันโรคที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรม ...
    • ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย 

      วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร; อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (2540)
      บทความวิจัยเรื่องนี้ได้ศึกษาวิวัฒนาการของระบบประกันสุขภาพในประเทศไทยอย่างละเอียด นับแต่ปี พศ. 2534-2539 ได้สะท้อนแนวโน้มการพัฒนาและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไตรภาคีคือ รัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง รวมทั้งประชาชนโดยรวม ...