Browsing by Subject "ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)"
Now showing items 21-40 of 156
-
การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขและการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-06)วัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และภาระด้านงบประมาณของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ผ่านทางสายสวนเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรง วิธีการศึกษา ใช้แบบจำลองแ ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-07)ภูมิหลังและเหตุผล: ไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) มีความชุกสูงในประเทศไทยและมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษามาก มีคำแนะนำว่าการคัดกรองความเสี่ยงของภาวะ CKD จะมีประโยชน์ อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิด ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติในครรภ์ก่อนคลอดในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-05)ประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคโครโมโซมผิดปกติ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ในทารกแรกเกิดอยู่ระหว่าง 1 : 800 ถึง 1 : 1,000 โดยพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุของมารดา อย่างไรก็ตามร้อยละ 75-80 ของทารกแรกเกิดที่มีอาการดาวน์นั้นพบว่า ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะพาหะธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-05)ความชุกของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด โดยมีผู้ที่เป็นพาหะของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 30-40 จึงสามารถประมาณการได้ว่าจะพบผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงรายใหม่ 5,125 คน ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการค้นหาและตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย M. Tuberculosis ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย ผู้สัมผัสที่อยู่ใกล้ชิดมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคหรือติดเชื้อวัณโรคแฝง ซึ่งมีโอกาสพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยวัณโรค ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยา posaconazole ในการรักษา invasive mucormycosis ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองและไม่ทนต่อยา amphotericin B
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)บทนำ: การติดเชื้อรามิวโคไมโคสิส (Mucormycosis) เป็นการติดเชื้อราชนิดรุนแรงที่มีการรุกรานเข้าสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ไซนัส เพดานปาก ลูกตา ปอด หัวใจและระบบประสาทส่วนกลาง เป็นโรคที่ต้องรักษาตัวใน ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสายสวนสลายพังผืดในช่องเหนือไขสันหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวและโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)ในปัจจุบันหัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืด (Percutaneous Epidural Adhesiolysis, PEA) เป็นการรักษาทางเลือกของอาการปวดในกรณีที่ผู้ป่วยโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวที ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปีที่ 1
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-03)การตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยามีความหลากหลายและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ก่อนเริ่มใช้ยา แต่ทว่าทรัพยากรทางสุขภ ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปีที่ 2
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-09)บทนำ : จากการจัดลำดับความสำคัญและการคัดเลือกการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ (คู่ยีน-ยา) ที่ควรนำมาพิจารณาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า การตรวจยีน HLA-B*57:01 เปรียบเทียบกับการไม่ตรวจยีน ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir ... -
การประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของบริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562-12)รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอโครงการประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของบริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทย ซึ่งผ่านการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทบทวนและอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการ โดยมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยผู้ท ... -
การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของยาวาลแกไซโคลเวียร์สำหรับการป้องกันและรักษาโรคจากเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะและปลูกถ่ายไขกระดูก
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)งานวิจัยนี้ศึกษาความคุ้มค่าการใช้ยา valganciclovir ในข้อบ่งใช้รักษา Cytomegalovirus disease (CMV disease) ในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อเสนอต่อการพิจารณาคัดเลือกเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ จ(2) ระบุข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องได้รับยา ... -
การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของยา Alendronate (ราคายาสามัญ) Risedronate (ราคายาต้นแบบ) ในการป้องกันกระดูกหักในหญิงวัยหมดประจำเดือน
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2555-05)ปัจจุบันในประเทศไทยมียา Alendronate ขนาด 70 มิลลิกรัม แบบรับประทานสัปดาห์ละครั้ง ในรูปแบบยาสามัญ (generic product) ที่มีราคายาลดลงเหลือ 8,467.16 บาทต่อปี และมียา Risedronate ชนิดยาต้นแบบ (original product) ขนาด 35 มิลลิกรัม ... -
การประเมินต้นทุนของโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2563-08-31)ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลส่งผลต่อคุณภาพและความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้านขายยาเป็นหนึ่งในสถานบริการสาธารณสุขที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพที่กระจายและคลอบคลุมพื้นที่มากกว่าสถานบริการหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ปัจจุบันการประกอบวิชาช ... -
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจวินิจฉัยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นด้วยการทดสอบการนอนหลับแบบละเอียด Polysomnography (PSG) ในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea : OSA) เป็นโรคที่พบได้บ่อย สำหรับประเทศไทยมีผลการศึกษา พบว่า มีความชุกของ OSA ร้อยละ 15.4 ในผู้ชาย และร้อยละ 6.3 ในผู้หญิง โรค OSA เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเ ... -
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประชากรไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-02)โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program, HITAP) ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ดำเนินการศึกษาวิจัยในหัวข้อ ... -
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10)วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ ผลกระทบด้านงบประมาณ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย วิธีการศึกษา การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ จะใช้แบบจำลองแผนภูมิต้นไม้ ... -
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของเทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-03)โรคทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือหอผู้ป่วยวิกฤต การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีมาตรฐานอาจไม่สามารถแยกโรคได้หรืออาจใช้เ ... -
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของยา Anti-Parkinson (Rasagiline และ Apomorphine) ในการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันระยะรุนแรงในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)บทนำ: ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันระยะรุนแรง (Advanced Parkinson’s disease, PD) ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องภาวะแทรกซ้อนของอาการด้านการเคลื่อนไหว (Motor complications) ได้แก่ อาการหยุกหยิก (Dyskinesia) และการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ ... -
การประเมินทางคณิตศาสตร์การประกันภัย สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 พ.ศ....
(สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, 2554-01)กำลังแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศไทย เป็นแรงงานซึ่งอยู่นอกระบบการจ้างงาน (Informal sector) ประกอบด้วย เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประมาณ 24 ล้านคน นั้นสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้โดยสมัครใจ ... -
การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของยา Posaconazole ในการป้องกันการติดเชื้อราชนิดลุกลามในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่มีภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินความคุ้มค่าและประเมินผลกระทบด้านงบประมาณของยา Posaconazole ในการป้องกันการติดเชื้อราชนิดลุกลามในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่มีภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกาย (Graft-versus-host) ...