dc.contributor.author | เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Penprapa Siwirod | en_US |
dc.contributor.author | พิกุล นันทชัยพันธ์ | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:17:29Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:36:05Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:17:29Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:36:05Z | |
dc.date.issued | 2547 | en_US |
dc.identifier.other | hs1163 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1149 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้มุ่งทำความเข้าใจถึงวิธีคิด วิธีปฏิบัติ และวิธีให้คุณค่าเกี่ยวกับการกลไกการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพและผลกระทบของกลไกการปฏิรูประบบสุขภาพที่ผ่านมา และที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันโดยการศึกษาการรับรู้ ความคาดหวังของประชาชนเกี่ยวกับกระบวนการปฏิรูป ผลที่ได้รับ การมีส่วนร่วมและบทบาทของประชาชน ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาและการก่อตัวของกลุ่มและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาผู้ที่เข้าร่วมในเวทีสมัชชาสุขภาพ และจากประชาชนที่อาศัยในจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ พะเยา น่าน และเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึง มีนาคม 2547 ผลการวิจัยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1. ประชาชนส่วนใหญ่ยังยึดติดกับแนวคิดสุขภาพแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพทางกายที่เป็นความเจ็บป่วยและโรค และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความหมายสุภาพที่เชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ เช่น การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ และสังคม การปรับกระบวนทัศน์เรื่องสุขภาพยังไม่เห็นชัดเจนในระดับประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่เองก็ยังไม่มีวิธีคิด วิธีให้คุณค่าของสุขภาพองค์รวมในความหมายใหม่เช่นเดียวกัน “สุขภาพองค์รวม” จึงเป็นเพียงวาทกรรมที่คนทั่วไปพูดติดปาก แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าคืออะไร 2.วิธีคิดและวิธีให้คุณค่าเกี่ยวกับสุขภาพยังยึดติดอยู่เฉพาะสุขภาพร่างกายและจิตใจ และการปราศจากโรค จึงสะท้อนไปถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมหรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพที่ยึดติดอยู่แต่เฉพาะการรักษาสุขภาพทางร่างกายเท่านั้น ดังนั้นประชาชนก็ยังเข้าใจว่า การส่งเสริมสุขภาพเป็นการป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นโรคและเป็นเรื่องของหมอหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะเห็นได้จากกิจกรรมการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3. สัญลักษณ์ของสุขภาพ ยังคงเป็น “โรงพยาบาล หรือ หมอ” การดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องของการอธิบายเชื่อมโยงกับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพเดิม เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย ประชาชนหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังไม่ได้มองว่า โรงเรียนหรือวัด หรือองค์กรอื่นๆ ในชุมชนจะสร้างสุขภาพได้อย่างไร และชาวบ้านเองจะส่งเสริมสุขภาพกันเองได้อย่างไร 4. มีความแตกต่างทางการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละระยะของการศึกษา กล่าวคือ กลุ่มที่เข้าร่วมเวทีสมัชชาสุขภาพส่วนใหญ่จะอธิบายกระบวนการปฏิรูปได้ดีกว่า ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมเวทีสมัชชาโดยตรง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบหรือรับรู้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว แม้บางคนจะบอกว่าเคยได้ยินทางสื่อต่างๆ มาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถอธิบายความหมายหรือแนวคิดได้ ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผ่านการเติบโตของสถานบริการรักษายาบาลที่มีในชุมชน ทั้งในแง่การขยายอาคาร เครื่องมือที่ทันสมัย และแพทย์เฉพาะทาง 5. การที่กิจกรรมหรือการก่อตัวของกลุ่มต่างๆ ที่นอกเหนือจากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ริเริ่ม มักมีการรับรู้แยกออกไปจากเรื่องสุขภาพ เช่น มองว่าเป็นเรื่องอาชีพ รายได้และความเป็นอยู่ การรณรงค์ด้านสุขภาพที่มีขึ้นในช่วงของการปฏิรูประบบสุขภาพ มักริเริ่มโดยเจ้าหน้าที่ฯ ทั้งเรื่องกลุ่มหรือชมรมต่างๆ ในสถานีอนามัย เช่น ชมรมออกกำลังกาย ชมรมสมุนไพร ชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งชาวบ้านอ่านสัญญาณไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของสุขภาวะหรือสุขภาพองค์รวม และเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบสุขภาพ 6. กระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ หรือการขับเคลื่อนในระดับชุมชน ไม่ได้เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้เท่าที่ควร เช่น กลุ่มออกกำลังกายซึ่งมีการริเริ่มขึ้นโดยทั่วไปในแทบทุกแห่งหน เป็นการส่งเสริมกิจกรรม แต่ไม่ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่สามารถกระตุ้นให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท่าที่ควร หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการก่อตั้งกลุ่มอาชีพในรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้เรื่องสุขภาพควบคู่ไปด้วย 7. การมีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกที่มีบทบาทในการให้ความร่วมมือ ร่วมรับรู้นโยบาย และร่วมปฏิบัติตาม ส่วนที่ยังถือว่าเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อยก็คือ การมีส่วนร่วมในการคิด ริเริ่ม และ ตัดสินใจ เริ่มก่อตั้งหรือดำเนินการโดยชาวบ้านเอง วิธีคิดและความเชื่อของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับกรอบคิดเดิมที่เห็นว่า ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องสุขภาพคือบุคลากรด้านสุขภาพเท่านั้น จึงมอบความไว้วางใจให้และพร้อมที่จะทำตาม บทบาทหลักในการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพในชุมชน นอกจากจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขแล้ว ผู้นำท้องถิ่นหรือกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลเองก็มองแยกส่วนกับการพัฒนาด้านอื่นๆ การดำเนินนโยบายของการปฏิรูประบบสุขภาพต้องเน้นการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเข้าไปในกิจกรรมการพัฒนาและสรุปบทเรียนที่ได้รับซึ่งจะเป็นการฝึกการคิดเชิงวิเคราะห์ การสร้างเสริมสุขภาพต้องใช้กระบวนทัศน์สุขภาพแนวใหม่ที่เชื่อมโยงในมิติต่างๆ โดยเฉพาะด้านจิตวิญญาณ การปรับกระบวนทัศน์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนา ทำความการสร้างความเข้าใจกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพให้กับชาวบ้าน กลุ่ม องค์กรต่างๆ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและการศึกษาวิจัยที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของภาคประชาชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Systems Reform | en_US |
dc.subject | Health Care Reform | en_US |
dc.subject | การปฏิรูประบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | กลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพในภาคเหนือ | th_TH |
dc.title.alternative | People involvement and participation mechanism and health system reform process in the north of Thailand | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to comprehend the concepts, practices and judgment on mechanisms of health system reform movement and impacts of the past and present health system reform mechanisms by studying perception and expectation of people concerning the reform process, the outcomes, participation and role of people. The study also intended to determine the development trend and formation of various groups and agencies involving in health system reform process. The qualitative research method was employed. Study population included people attending health assembly forums and people who lived in Phayao, Nan and Chiang Mai provinces in the North of Thailand during October 2003 – March 2004. The main findings of this study are as follows: 1. Most people still held on the biomedical model of health that emphasized on physical health mainly illnesses and diseases. Few people gave other health concepts that linked to other dimensions such as occupation and socio-economic aspects. Even among health personnel, they seemed to have no clear concepts and judgment on health in the new paradigm of “holistic health”. The so-called holistic health was just a discourse commonly used among people without obvious explanation. 2. People’s concepts and judgment of health still affixed to physical and mental health and absence of disease. This reflected the practices on health promotion and medical care that also concerned mainly physical health. People continued to perceive that health promotion was an approach to prevent themselves from getting diseases and was responsible solely by doctor or health personnel. It was evident that health care and health promotion activities depended on activities of health personnel. 3. The symbol of health was still the “hospital or doctor”. Health care was a matter of explanation in relation to the conventional structure of health service system such as hospitals and health centers. People or even health personnel still could not elucidate how school, temple or other organizations in a community could help build the health and how people can promote their health. 4. There was a disparity of perception among samples with different education levels. Most of subjects who took part in health assembly forums could explain the reform process better than other groups. Subjects who did not directly participate in the forum mostly did not know or were not aware of the reform process. Although some subjects mentioned that they had heard about the process, but they could not describe its definition or meaning. Most people noticed the ongoing changes through the development of health care facilities in the community in forms of building extension, sophisticated equipment, and presence of specialized doctors. 5. Activities and formation of groups, besides actions taken by health personnel, for example, livelihood, income and well-beings, were perceived as matters not related to health. Health personnel mostly initiated health campaigns during health system reform movement. These included groups or clubs connected to health centers like an exercise group, an herb group, and an elderly group whom people could not interpret as health or holistic health issues and as results of health system reform. 6. Health system reform process or movement in community level did not sufficiently stress on learning process. Exercise groups, which were set up almost everywhere, were promoted as activities without the promotion of learning process. This did not stimulate people to modify their thoughts on health care satisfactorily. The promotion of various job clusters was not linked to learning process in health as well. 7. People partially involved in health system process particularly in cooperation, policy acknowledgement and implementation. The involvements in lesser extent were participation in thinking, initiating, and making decision by people themselves. Concepts and beliefs of most people still stuck to conventional thoughts that those who were skillful of health care were exclusively health personnel whom people placed their trust on and ready to follow suit. It was perceived that the major role of health movement propulsion belonged to health personnel and health volunteers. Community leaders or tambon administration organization committees also regarded health as a separated issue from other modes of development. In performing the health system reform policy implementation, the learning process must be integrated to the developmental activities. The lessons learned will thus be the analytic thinking exercise. Health promotion needs the new paradigm of health that connects all dimensions of health particularly the spiritual aspect. Shifting of health paradigm among health personnel is needed in the development of understanding in health system reform process among villagers, groups, local agencies including health personnel itself. The research should also focus on the learning process of civic sector. | en_US |
dc.identifier.callno | WA525 พ889ก 2547 | en_US |
dc.identifier.contactno | 46ค048 | en_US |
dc.subject.keyword | Health system reform process | en_US |
dc.subject.keyword | Health Forum | en_US |
.custom.citation | เพ็ญประภา ศิวิโรจน์, Penprapa Siwirod and พิกุล นันทชัยพันธ์. "กลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพในภาคเหนือ." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1149">http://hdl.handle.net/11228/1149</a>. | |
.custom.total_download | 88 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |