Show simple item record

Evidences of dental health service in private hospitals regarding the universal coverage of health care policy, in the selected province in Thailand

dc.contributor.authorวิชัย วิวัฒน์คุณูปการth_TH
dc.contributor.authorWichai Wiwatkunupakarnen_US
dc.contributor.authorปิยะนารถ จาติเกตุth_TH
dc.contributor.authorศศิธร ไชยประสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorอติศักดิ์ จึงพัฒนาวดีth_TH
dc.contributor.authorอารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์th_TH
dc.contributor.authorธงชัย ปรีชาth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:12Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:12Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0941en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1158en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์การจัดบริการทันตกรรมในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชน 1 ใน 15 จังหวัด ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2544 ข้อค้นพบสำคัญสำหรับการศึกษาครั้งนี้มีดังนี้ การเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลเอกชนในการเข้าร่วมโครงการ เริ่มตั้งแต่ระดับผู้บริหารของโรงพยาบาล มีการศึกษาความเป็นมาของโครงการอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ การศึกษาโครงการก่อนทำให้กำหนดจุดยืนของผู้บริหารได้ในภายหลัง บุคลากรของโรงพยาบาลได้รับการอบรมเตรียมความพร้อมเช่นเดียวกับทันตแพทย์ แต่ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะไม่ค่อยได้รับข้อมูลข่าวสารมากนัก ในบางโรงพยาบาลที่ไม่เคยมีทันตแพทย์ full time มาก่อน ก็ต้องจัดหาทันตแพทย์มาประจำตามเกณฑ์การให้บริการที่รัฐกำหนด มีการเตรียมการสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในส่วนของโรงพยาบาลเองโดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางสสจ. ขอให้รายงาน การเตรียมการที่สำคัญ คือ มีการสร้างระบบเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นเครือข่ายที่ไม่เคยมีมาก่อน การมีเครือข่ายนี้ไม่ได้มีผลในการชักจูงให้แต่ละโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ ขึ้นกับแต่ละโรงพยาบาลที่จะตัดสินใจเอง โดยเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการนั้น ได้แก่ เห็นว่าหลักการ/แนวคิดของโครงการนี้ดี ควรสนับสนุน เพราะประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้นโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย ในส่วนของวิธีการจัดสรรงบประมาณนั้น มีข้อดี คือ สามารถส่งตรงถึงประชาชนมากกว่าระบบเดิมที่เคยใช้มา เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้หรืออาจถึงขนาดมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายด้านสุขภาพของท้องถิ่นได้ ในแง่ของการใช้ทรัพยากรร่วมกันนั้น ระบบที่วางไว้เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ดี ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้และหากไม่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ก็มีข้อเสียมากกว่าข้อดี เช่น ไม่แน่ว่าจำนวนผู้มารับบริการจะลดลงหรือไม่ หรือมองในระยะยาวแล้วเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องเข้าร่วมโครงการ ดังนั้น การเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ต้นจะช่วยให้ได้เรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานแต่เนิ่นๆ การรู้ปัญหาเร็วเท่าไหร่ก็จะปรับตัว/ปรับองค์กรได้เร็วเท่านั้น และการที่มีโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการด้วยอาจจะช่วยให้โรงพยาบาลของรัฐเกิดการปรับตัวในการให้บริการบ้างเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ สภาวะการณ์ของโรงพยาบาลเอกชนก่อนเริ่มดำเนินการตามโครงการนั้น พบว่า ระบบบริหารจัดการในฝ่ายทันตกรรมจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงพยาบาล ทันตแพทย์แทบไม่มีบทบาทในการบริหารเลย ระบบค่าตอบแทนที่ให้แก่ทันตแพทย์ มีทั้งแบบให้เป็นเงินเดือนแบบราชการ แบบประกันเงินเดือนขั้นต่ำ และแบบหักส่วนแบ่งค่ารักษาพยาบาล 50 : 50 ศักยภาพการให้บริการทางทันตกรรมของบางโรงพยาบาลอาจจะต้องปรับตัวเล็กน้อยเพื่อสามารถให้บริการทันตกรรมได้ครบตามชนิดของงานในชุดสิทธิประโยชน์ ส่วนสำคัญที่เกือบทุกโรงพยาบาลเป็นเหมือนกันหมด คือ ไม่มีการทำงานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันโรคและงานเชิงรุกมาก่อนเลย ยกเว้นเพียงโรงพยาบาลเดียวที่มีพื้นฐานทำงานเชิงรุกอยู่แล้ว เมื่อเริ่มต้นโครงการแล้ว มีการปรับตัวของโรงพยาบาลทั้งในเชิงบริหารและบริการ ในระดับการบริหารที่สำคัญ คือ เรื่องการประสานงานกับระบบราชการ แม้โรงพยาบาลเอกชนจะเตรียมรับกับเหตุการณ์นี้อยู่แล้ว แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็ยังมีปัญหาในการประสานงาน การสื่อสารระหว่างกันมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง โรงพยาบาลเอกชนจึงเลือกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการของตนเอง เมื่อเลือกที่จะดำเนินการเองจึงต้องมีความชัดเจนในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ให้บุคลากรสับสน ดังนั้นจึงเกิดการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจไว้ที่ผู้บริหาร ซึ่งก็เป็นไปด้วยดี ส่วนสำคัญอีกประการคือเรื่องระบบการเงิน แต่ละโรงพยาบาลก็ได้มีการติดตามวิเคราะห์รายรับรายจ่ายกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยให้คนภายนอกรับรู้ได้ ในส่วนของงานบริการ ได้มีความพยายามในการให้บริการที่ดีมีคุณภาพพอสมควร อาทิ การเน้นย้ำให้ทันตแพทย์ต้องให้บริการทางทันตกรรมครอบคลุมตามชุดสิทธิประโยชน์ จะละเว้นไม่ได้ มีการปรับผังเวลาในการให้บริการ จากเดิมที่เคยให้บริการเฉพาะในเวลาราชการ ก็ขยับขยายเวลาออกไปนอกเวลาราชการบ้าง อย่างไรก็ตาม ในบางโรงพยาบาลก็ถูกกำกับการให้บริการจากผู้บริหารอยู่ เช่น ให้ลดจำนวนการให้บริการทำฟันปลอมลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง การให้บริการแต่ละครั้งในผู้ป่วย 1 คนก็ไม่ควรให้บริการเกิน 1 ชนิด รวมถึงการกันเวลาสำหรับให้บริการกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ถือบัตรทอง ส่วนงานเชิงรุกด้านทันตกรรมนั้น มีเพียงแค่ฝากงานไปกับพยาบาลให้ช่วยตรวจฟันนักเรียน แล้วส่งต่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เครือข่ายการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ มีรูปแบบ 3 แบบ ได้แก่ รูปแบบที่มี PCU อยู่ในโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียว กรณีนี้จะพบกับโรงพยาบาลที่ได้รับผิดชอบจำนวนประชากรค่อนข้างน้อยและไม่มีสถานีอนามัยอยู่ในความรับผิดชอบ รูปแบบที่สองเป็นรูปแบบที่มี PCU ที่โรงพยาบาลและมีสถานีอนามัยเป็น PCU อีกแห่งหนึ่ง รูปแบบนี้จะพบในโรงพยาบาลที่มีสถานีอนามัยอยู่ในเขตรับผิดชอบและไม่มีปัญหาในการประสานงานกันมากนัก รูปแบบที่สาม เป็นรูปแบบที่แม้จะมีสถานีอนามัยอยู่แล้ว แต่ก็ใช้ สอ. เป็นแค่ subcontractor ของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลก็ไปหาเปิด PCU นอกโรงพยาบาลเอาเอง เครือข่ายในระดับคลินิกเอกชนยังมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากจำนวนประชากรที่จะแบ่งให้คลินิกช่วยดูแลนั้นค่อนข้างน้อย หากคลินิกจะเข้ามาเป็น subcontractor ได้ ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนต่อหัวประชากรที่มากพอ เช่น มากกว่า 200 บาท ต่อประชากรขั้นต่ำ 10,000 คน ความเป็นไปได้สูงสุดน่าจะออกมาเป็นลักษณะที่ให้คลินิกรับส่งต่อเฉพาะในรายที่รักษายาก จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยรับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลเอกชน พบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่จะพึงพอใจกับชุดสิทธิประโยชน์ รวมทั้งการบริการของบุคลากรของโรงพยาบาล มีส่วนน้อยที่เห็นว่าชุดสิทธิประโยชน์น้อยเกินไปและไม่ค่อยพอใจกับคิวในการนัดมารับบริการครั้งต่อไปที่รู้สึกว่านานเกินไป ความต้องการของประชาชนต่องานส่งเสริมป้องกันก็ค่อนข้างทั่วๆไป เช่น การให้สุขศึกษา การตรวจฟัน การออกหน่วยเคลื่อนที่ ซึ่งก็สอดคล้องกับสิ่งที่ทางโรงพยาบาลคิดว่าจะทำอยู่เหมือนกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงสถานการณ์การให้บริการทันตกรรมและบริการทั่วไปของโรงพยาบาลเอกชน และมีข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการนี้ คือ 1. ต้องปรับวิธีคิดของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการให้เข้าใจตรงตามปรัชญาโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปรัชญาที่ไม่ใช่การสงเคราะห์คนจน 2. ต้องปรับวิธีคิดของบุคลากรทางสาธารณสุขให้เข้าใจถึงสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ระหว่างการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และน่าจะมีการหาข้อสรุปให้ชัดว่ากิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมทันตสุขภาพได้แก่อะไรบ้าง 3. ต้องเข้มงวดกับบทบาทของหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) ให้มาก เพราะที่เป็นอยู่บทบาทของ PCU เน้นงานส่งเสริมป้องกันน้อยมาก (ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็น extended OPD) และที่ทำอยู่ก็ยังมองไม่เห็นว่าในท้ายที่สุดประชาชนจะพึ่งตนเองได้อย่างไร เพราะความสำเร็จของงานส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนควรจะพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ 4. ควรมีกลไกพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้ผู้บริโภคมีการรวมกลุ่มพลังทางสังคม เพื่อตรวจสอบการทำงานของโรงพยาบาล เพราะภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เงินงบประมาณจะส่งตรงถึงโรงพยาบาล ผู้บริโภคพอที่จะประมาณการเงินงบประมาณด้านสุขภาพที่จะดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่ได้ 5.หากในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกสถานพยาบาลได้อย่างอิสระ สถานพยาบาลนั้นควรมีระบบ PCU ที่เข้มแข็งตามเจตนารมณ์ของ PCU มิใช่ PCU ที่เป็น extended OPD โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลในระดับ tertiary care ที่จะเข้าร่วมโครงการด้วย ต้องมีความชัดเจนว่าจะแยกการบริหารทั้งระดับ primary care และ tertiary care อย่างไร มิฉะนั้นแล้วระบบบริการสุขภาพที่ควรมีระบบการส่งต่อจะถูกทำลายลงไปอย่างสิ้นเชิง 6. น่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับบริการของประชาชนด้วย เพราะที่ผ่านมาระบบสุขภาพได้ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมการรับบริการที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกมาพบแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น ทำให้โครงสร้างระบบบริการสุขภาพเสียไป สถานบริการระดับปฐมภูมิก็เสี่ยงที่จะเจอเหตุการณ์ที่ประชาชนไม่เลือกขึ้นทะเบียน 7. อาจจะต้องพิจารณาการแยกชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมออกจากสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพโดยรวมกันอย่างจริงจัง เพราะในภาพของโรงพยาบาลเอกชนนั้น การมีแผนกทันตกรรมอยู่เป็นเสมือนแค่การมีบริการให้ครบวงจรหรือครบตามเงื่อนไขของการเป็น PCU แต่ในเชิงอำนาจการบริหาร การตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงพยาบาล หากแยกชุดสิทธิประโยชน์ทันตกรรมออกมา ความชัดเจนของแผนการดูแลทันตสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบก็น่าจะมีมากขึ้น ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงเหตุผลในเรื่องการลงทุนด้านทันตกรรมที่ค่อนข้างสูง การรวมไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพทั่วไปก็มีโอกาสที่โรงพยาบาลจะขาดทุน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการศึกษาถึงต้นทุนทางทันตกรรม ชนิดของการให้บริการทันตกรรม ฯลฯ เป็นส่วนประกอบการพิจารณาแยกชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ประการสำคัญ คือ การแยกสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมออกมาจะส่งผลต่อการดำเนินงานในลักษณะสุขภาพองค์รวมมากน้อยแค่ไหน มีความเป็นไปได้เพียงใดที่จะทำงานส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพเพียงโดดๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้ 8. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินสถานพยาบาล ต้องทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาศักยภาพของสถานพยาบาลด้วย มิใช่ทำหน้าที่ในการจับผิดและประเมินเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้อาจจะแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาบทบาทหน้าที่นี้ลงไปในสัญญาที่สถานพยาบาลเซ็นรับการเข้าร่วมโครงการ เพราะเนื้อหาในสัญญาฉบับที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่จะพูดถึงบทบาทของสำนักงานประกันสุขภาพในลักษณะ ”สั่งให้ทำ” ไม่มีการพูดถึงบทบาทที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้สถานพยาบาลได้พัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดรับกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 9. ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในระบบประกันสุขภาพ โดยเน้นการควบคุมที่ผู้ให้บริการ เพราะจากการศึกษาพบว่า ภาวะแข่งขันระหว่างสถานบริการทำให้เกิดพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสม เช่น การลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาประจำสถานบริการ หากเป็นเช่นนี้ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสุขภาพก็จะไม่เพียงพอและไม่ได้ช่วยให้สุขภาพของคนส่วนใหญ่ดีขึ้น เป็นการลงทุนเพื่อรักษาโรคมากกว่า 10. ต้องวางระบบฐานข้อมูลให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ อาทิเช่น ฐานข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากของประชากรในเขตรับผิดชอบของแต่ละโรงพยาบาล ณ ขณะนี้ยังไม่มี หากดำเนินโครงการไปแล้วจะประเมินผลสำเร็จของงานส่งเสริมป้องกันได้อย่างไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพช่องปากในเขตพื้นที่นั้นๆ คืออะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent502924 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDental Health Serviceen_US
dc.subjectUniversal Health Coverageen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการทันตกรรมในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค : กรณีศึกษา 1 ใน 15 จังหวัดที่เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายน 2544th_TH
dc.title.alternativeEvidences of dental health service in private hospitals regarding the universal coverage of health care policy, in the selected province in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of the research is to study evidences of Dental Health Service in private hospitals regarding the Universal Coverage of Health Care Policy, in the selected province in Thailand. The research has been started at June 2001. Research findings are as follow: Preparing to participate in the Universal Coverage of Health Care, the managers of health service providers in private hospitals considerably study the policy in detail. Therefore, they can clarify their management goals, policies and strategies conforming to the policy of Universal Coverage. Generally, all health workers are trained and prepared for the new policy. Dental health practitioners, however, did not have as much information as other health practitioners. Some private hospitals even had never employed a full-time dentist according to the governmental criteria of basic essential health care service. New systems of data collection are designed conforming to the characteristics of works in private hospitals, which are different from the system that the Provincial Public Health Office need. Interestingly, since April 2001, it was the first time that a private hospital network has been established. Nevertheless, such network does not influence any decision making of each hospital to be the participant in the policy of the Universal Coverage of Health Care. In general, the reason that each private hospital becoming a part of such policy are the appreciation of the concepts and principles that based on the benefits of citizens, increasing health care accessibility with less expense, in other words, improve health at least cost. The budget managing system of the Universal Coverage provides a higher access for population than previous systems. It encourages consumers for a transparent accountability role, and provides more chance and authority for consumers to participate in deciding local health policy. In addition, the system provides a higher possibility to share resource utilization, which would decrease the nation cost of medical technology. It might be said that it is a rather disadvantage for health institutions that do not participate in the Universal Coverage policy since the beginning, for it could affected to the amount of consumers. Or, considering in a long term, there is a high tendency that finally the Universal Coverage of Health Care in the future will cover all private hospitals. Therefore, it would be wise to learn from problems of the procedure since the beginning. The faster the problems are learned the faster they could be solved and developed. Furthermore, the participation of private hospitals could influence other governmental hospitals to develop or reform their health service, which finally it is the advantage of consumers. Before the private hospitals participating in the Universal Coverage Project, the dental health management depended on the hospital managers, while dentist do not have any authority. There are various payment systems for dentist, i.e., a fixed-rate salary, a minimum rate guarantee, or the 50:50 sharing income. For some hospitals the dental health service should be developed regarding to the core package. One important point found in almost every hospital, except only one hospital, is that the health promotion and prevention in the community are ignored. After attending the Universal Coverage Policy, every hospital have re-arranged and developed their service and management. They have tried to contact and coordinate with government institutions, and find many problems in practical level about the communication and co-operating systems. Finally, many private hospitals decide to solve the problems by themselves. Therefore, the management systems tend to be centralized to the managers, in order to clarify the strategies and determine the method and approach for problems solving. Later, the authority has been distributed more to the head of each section. Each hospital considerably analyse and manage their income and expense. However, the information of financial system cannot be revealed. The dental health care service is relatively developed after entering the Universal Coverage of Health Care. For instance, hospitals pay considerably attention to dental health service to cover the core package. The working time planning for dental health service is extended further to overtime. Nevertheless, in some hospitals dental health service are controlled by the hospital managers. For example, the dental prosthetic service is limited for its high expense; each patient is limited to have only one dental health service each time; and the limitation of service time for health insurance consumers. In case of dental health care in communities, they merely assign nurses to screen oral health status in the school-children and finally refer to the hospital for further treatment. There are three types of health service networks among private hospitals: (1) the hospital that have their own primary care unit (PCU), in case of hospital that have small amount of catchment area without the primary health care institution, (2) the hospital that have PCU of their own together with another PCU in a primary health care institution, in case of private hospital that have a primary health care institution in the catchment area, (3) the hospitals that the catchment area cover a primary health care institution but they merely use it as a subcontractor rather than a PCU, and open their own PCU outside the hospital. At present there is a low possibility to extend health service network to private clinics, for there is not much catchment areas for each clinic. If a private clinic would like to be a subcontractor for a private hospital, it should received a reasonable payment. For example it should be more than 200 baht per head for at least 10,000 patients. However, the highest possibility would be that only severe cases are referred to private clinics. According to the interviewing of dental consumers from private hospitals, large amounts of the consumers appreciate with the core package and service from the health practitioners. Some of them, however, complaint that the core package is not enough and the queue for the next service is too long. The consumers’ need of health promotion and prevention are relatively ordinary; dental health education, oral health examination, mobile service, which is conforming to the planning of private hospitals. The research findings provide an important and interesting evidence of dental health and general health service in private hospitals. There are some further suggestions for the Universal Coverage of Health Care policy and practice in the future as follows: The understanding of participants are needed to be adapted conforming to the philosophy of the Universal Coverage of Health Care, in particular, the Health Insurance has a deeply meaning than a donated project for the poor. The understanding of public health practitioners regarding the difference between the concepts of health promotion and disease prevention need to be improved. In particular, the activities of dental health promotion should be more clarify. Whereas the efficiency of health promotion is the population capability of self-care, at present the primary care unit pays less attention to health promotion and prevention and work as the extended OPD instead. Therefore, in the future the roles of primary care unit should have been seriously considered. The development of community capacity should be developed. Moreover, there should be an encouragement for a consumer social network in order to examine the efficiency of hospitals. Regarding the Universal Coverage of Health Care, the health care budget will deliver directly to the hospital, thus, it is possible for consumers to estimate cost and assess local health service. In order to offer alternating to the consumers, the hospital should have an efficiency primary care unit, not merely work as an extended OPD. Particularly, the tertiary care hospital should clarify between the managing of primary and tertiary health care, otherwise the health care referral system would totally be demolished. Previous health care systems wrongly influence consumers to seek for the specialist health practitioners only thus health-seeking behaviour of the consumers should be improved. The separation of dental core package from general health core package has to be considerably concerned together with the studying of dental health cost-effective and types of dental treatment. Although it would help clarifying dental health planning, the most important point we should keep in mind is that, by separating dental core package it would possibly affect the concept of holistic approach. Thus, the question of a possibility to exclude dental health promotion and prevention from other works need to be seriously concerned. The health assessment institution should not merely finding faults and assessing, but suggesting and encouraging health institutions as well. Health expense must be carefully regulated, especially among the health providers. According to the research findings, the competition among health institutions could effect many in-appropriate health services. For instance the over expense of medical technologies and specialist employment. Consequently, the budget from the Universal Coverage of Health Care would be insufficient. At present none of private hospitals have data base of oral health status of their catchment area and lack of information about the important factors related to local oral health status. This would effect the health promotion and prevention assessment. Therefore, the data collection systems have to be re-arranged, and developed to achieve the efficiency of health care in the future.en_US
dc.identifier.callnoWU20.5 ว539ก 2544en_US
dc.identifier.contactno45ข014en_US
dc.subject.keywordบริการทันตกรรมen_US
.custom.citationวิชัย วิวัฒน์คุณูปการ, Wichai Wiwatkunupakarn, ปิยะนารถ จาติเกตุ, ศศิธร ไชยประสิทธิ์, อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี, อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์ and ธงชัย ปรีชา. "การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการทันตกรรมในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค : กรณีศึกษา 1 ใน 15 จังหวัดที่เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายน 2544." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1158">http://hdl.handle.net/11228/1158</a>.
.custom.total_download82
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0941.pdf
Size: 547.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record