• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

คุณภาพของข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนและสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย

ยอดพล ธนาบริบูรณ์; Yodphon Tanaboribun;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสมบูรณ์คุณภาพของข้อมูลและเพื่อรวบรวม วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุจราจร และความสัมพันธ์กับแนวโน้มการกระจายของปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลที่มี เพื่อการวางยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบข้อมูล โดยรายงานฉบับนี้ได้เสนอผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณภาพของข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน และสถานการณ์อุบัติเหตุจราจรทางถนนในประเทศไทย นำเสนอแหล่งข้อมูลอุบัติเหตุ ซึ่งได้ครอบคลุมหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรมทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้เสนอถึงคุณลักษณะของข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอุบัติเหตุของหน่วยงานเหล่านี้ หลังจากนั้นได้นำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้จากหน่วยงานเหล่านี้ร่วมกับข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาทำการวิเคราะห์และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ซึ่งผลการศึกษาคุณภาพข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนและสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูลที่มีประโยชน์สูงสุดในการวิเคราะห์อุบัติเหตุในรายละเอียด คือ ข้อมูลดิบ ถึงแม้หน่วยงานหลักส่วนใหญ่จะมีการเก็บบันทึกข้อมูลดิบทั้งในรูปแบบของรายงานและสื่ออิเล็คทรอนิกส์ แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดที่เผยแพร่ข้อมูลดิบสิ่งที่เผยแพร่เป็นเพียงข้อมูลเชิงสถิติและ/หรือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว ทำให้ไม่สามารถนำไปพัฒนาใช้ในรายละเอียดอื่นๆ หรือการวิเคราะห์ในเชิงลึกได้ นอกจากนี้การเข้าถึงข้อมูลดิบของบางหน่วยงานยังพบอุปสรรคด้วยระเบียบและขั้นตอนต่างๆ ของหน่วยงานในอนาคตควรมีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเผยแพร่ข้อมูลดิบบนสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก เช่น ในเว็บไซต์ดังที่ได้ปฏิบัติกันในต่างประเทศ นอกจากนี้ควรมีการพิจารณาที่จะพัฒนาระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกลางซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูลการเข้าถึง และการเผยแพร่ข้อมูล 2. จากการที่ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ จำนวนประชากรและจำนวนรถจดทะเบียนนั้น ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้เสนอดัชนีเพิ่มเติม คือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มาเป็นทางเลือกในการวิเคราะห์อุบัติเหตุทางถนน อย่างไรก็ดีจำนวนประชากรและจำนวนรถจดทะเบียนเป็นข้อมูลที่สืบค้นได้ง่าย และมีความเป็นสากลนิยมใช้กันทั่วโลก ดังนั้นรายงานฉบับนี้ได้เสนอการประยุกต์ใช้ดัชนีรถจดทะเบียนต่อประชากรซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุของประเทศ 3. จากการวิเคราะห์ความรุนแรงของอุบัติเหตุโดยใช้ดัชนีการเสียชีวิต (Fatality Index) แสดงให้เห็นว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจำนวนผู้บาดเจ็บต่ออุบัติเหตุจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นแต่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน 4. เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้เสียชีวิตและการถือครองใบอนุญาตขับขี่ผลการวิเคราะห์ ยืนยันได้ว่าเพศชายมีอัตราความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าเพศหญิงเกือบสองเท่า 5. แม้ว่าบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงและมีแนวโน้มจะลดลงเมื่อพื้นที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ออกไปแต่ในทางตรงกันข้ามอัตราการเสียชีวิตในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกลับมีอัตราน้อยที่สุดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่อยู่ห่างกรุงเทพฯ ออกไป 6. การศึกษานี้ได้เน้นความแตกต่างระหว่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลและช่วงเวลาปกติ โดยวิเคราะห์ปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ ที่อยู่ปัจจุบันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทการเดินทาง และการใช้เข็มขัดนิรภัยและหมวกนิรภัย 7. นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียกตรวจยานพาหนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสถานการณ์อุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการกำหนดยุทธศาสตร์และ/หรือมาตรการการตั้งด่านตรวจหรือจำนวนการเรียกตรวจของเจ้าหน้าที่ควรพิจารณาถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1370.pdf
ขนาด: 2.203Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 8
รวมทั้งหมด: 255
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนน 

    ยอดพล ธนาบริบูรณ์; Yodphon Tanaboribun (สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ, 2548)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสมบูรณ์ คุณภาพของข้อมูล และเพื่อรวบรวม วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุจราจร และความสัมพันธ์กับแนวโน้มและการกระจายของปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลที่มีเพื่อการวางยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา ...
  • วิทยาการระบาดของอุบัติเหตุจราจรทางบก และการปฏิบัติในการลดอุบัติเหตุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

    สมชัย วิโรจน์แสงอรุณ (2539)
    อุบัติเหตุจราจรทางบกโดยเฉพาะจากรถจักรยานยนต์ เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยมีสุราเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ และยังพบว่าทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์ร้อยละ 87 ไม่สวมหมวกนิรภัย ผลการศึกษาได้นำไป ...
  • โครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านอุบัติเหตุจราจรเพื่อใช้ประโยชน์ในการ วางแผนแก้ไขปัญหาของจังหวัดหนองคาย : ระบาดวิทยาอุบัติเหตุจราจรของจังหวัดหนองคาย พ.ศ.2537-2538 

    ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล; Siriwat Tiptaradol; บัญชา ผลานุวงษ์; วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย, 2538)
    Nongkhai accident information system development for planning the solution : epidemiology of traffic accident Nongkhai province 1994-1995All of accident cases attended in the provincial hospital and all community hospitals ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV