Show simple item record

Comparative study the effect of medication related problem resolving by community hospital pharmacists in hypertensive patients before and after the patients attending physicians

dc.contributor.authorโพยม วงศ์ภูวรักษ์th_TH
dc.contributor.authorPayoom Wongpuwaruken_US
dc.contributor.authorฐิติมา ด้วงเงินth_TH
dc.contributor.authorชูศรี รัดแก้วth_TH
dc.contributor.authorจันทร์จิราภรณ์ เจริญวงศ์th_TH
dc.contributor.authorสุนิตย์ คำหล้าth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:58Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:33:05Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:58Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:33:05Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0869en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1210en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของรูปแบบการแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนก่อนและหลังผู้ป่วยพบแพทย์ โดยทำการศึกษาแบบ control-group time series design กลุ่มผู้ป่วยที่พบเภสัชกรก่อนพบแพทย์จะเรียกว่า “กลุ่ม 1” กลุ่มผู้ป่วยพบเภสัชกรหลังพบแพทย์เรียกว่า “กลุ่ม 2 ” การศึกษากระทำที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา 7 แห่ง คือ โรงพยาบาลสทิงพระ โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ โรงพยาบาลรัตภูมิ โรงพยาบาลจะนะ โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลควนเนียง และโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรได้ครบ 3 ครั้ง ดังนี้ กลุ่มควบคุมจำนวน 123 คน กลุ่ม 1 จำนวน 108 คน และกลุ่ม 2 จำนวน 113 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 มีปัญหาการใช้ยาร้อยละ 74.8, 63.9 และ 69.0 ตามลำดับ โดยพบจำนวนปัญหาต่อผู้ป่วยหนึ่งรายตั้งแต่ 1 – 7 ปัญหา และในกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มมีจำนวนปัญหาการใช้ยาต่อผู้ป่วยหนึ่งรายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ( p = 0.004) แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนปัญหาการใช้ยาและค่าความดันโลหิต diastolic blood pressure ในกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) เมื่อผู้ป่วยพบเภสัชกรในครั้งที่ 2 และ 3 แต่การลดลงนี้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 ส่วนด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรพบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับสูง (มีค่า median 4 คะแนนขึ้นไปจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 เช่นเดียวกับความพึงพอใจของแพทย์และพยาบาลก็มีความพึงพอใจในระดับสูงเช่นกัน (มีค่า median 4 คะแนนขึ้นไปจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) และไม่แตกต่างกันระหว่างรูปแบบการปฏิบัติงานของเภสัชกรทั้งสองรูปแบบ แต่เวลาที่เภสัชกรใช้ไปในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยกลุ่ม 2 (median = 14 นาที) มากกว่ากลุ่ม 1 (median = 10 นาที) แต่ในการพบเภสัชกรในครั้งต่อมาจะใช้เวลาไม่ต่างกัน (median = 5 นาทีทั้งสองกลุ่ม) สรุปผลการศึกษาได้ว่าการแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรสามารถลดปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยได้ แต่การลดลงของปัญหาของทั้งสองรูปแบบไม่มีความแตกต่างกัน ผู้ป่วย แพทย์และพยาบาลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเภสัชกรแต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองรูปแบบ การศึกษานี้จึงเป็นแนวทางให้เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนสามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลของตนเองไปใช้ในการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยาต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1059250 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบผลของการแก้ปัญหาการใช้ยาโดยเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังผู้ป่วยพบแพทย์th_TH
dc.title.alternativeComparative study the effect of medication related problem resolving by community hospital pharmacists in hypertensive patients before and after the patients attending physiciansen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to compare the effects of medication related problems by community hospital pharmacists in hypertensive patients before and after the patients attending physicians by control-group time series design. The patients who attended pharmacist before physicians will be call "group 1" and the patients who attended physician before pharmacists will be call "group 2". The study was carried out at 7 community hospital in Songkla Province; Satingpra Hospital, Krasasin Hospital, Rattapoom Hospital, Jana Hospital, Tepa Hospital, Kuanniang Hospital and Padangbesar Hospital. The number of patients who could be followed-up for 3 visits were 123 in control group, 108 in group 1 and 113 in group 2. The results showed that medication related problems be found in 74.8, 63.9 and 69.0 in control group, group 1 and group 2 respectively. The medication related problems were found as 1 – 7 problems per patient and the number of medication related problems in experimental groups were less than in control group significantly (p = 0.004) but there was no different between the both experimental groups. Additionally, number of medication related problems and diastolic blood pressure were reduced in both experimental groups (p <0.05) when the patients attended pharmacist at 2nd and 3rd visits but it was not different between group 1 and group 2. Patients satisfied to pharmacy practice at high level (median = 4 points from 5 point full scale) but no difference was found between group 1 and group 2. Physicians and nurses also satisfied to pharmacy practice at high level and no difference was found between the pattern which patients attend pharmacists before and after physicians. However, pharmacists spend more time in group 2 patients (median = 10 minutes) than group 1 patients (median = 10 minutes), especially in the patient’s first visit but it was not different in the later visits (median = 5 minutes in both groups) We can concluded that medication related problem resolving by pharmacists could reduce medication related problems in hypertensive patients but it was not different between the two experiment groups. Patients, physicians and nurses satisfied to pharmacist practice but there was no different between the two experimental groups. The community hospital pharmacists can choose the suitable patterns of medication related problem resolving as this study for doing the pharmaceutical care in their hospital.en_US
dc.identifier.callnoQV350.5 พ971ก 2544en_US
dc.identifier.contactno43ค082en_US
dc.subject.keywordปัญหาการใช้ยาth_TH
dc.subject.keywordผู้ป่วยความดันโลหิตสูงth_TH
dc.subject.keywordการใช้ยาของเภสัชกรth_TH
dc.subject.keywordการใช้ยาในโรงพยาบาลชุมชนth_TH
.custom.citationโพยม วงศ์ภูวรักษ์, Payoom Wongpuwaruk, ฐิติมา ด้วงเงิน, ชูศรี รัดแก้ว, จันทร์จิราภรณ์ เจริญวงศ์ and สุนิตย์ คำหล้า. "การศึกษาเปรียบเทียบผลของการแก้ปัญหาการใช้ยาโดยเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังผู้ป่วยพบแพทย์." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1210">http://hdl.handle.net/11228/1210</a>.
.custom.total_download167
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0869.pdf
Size: 773.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record