Show simple item record

People involvement and participation mechanism and health system reform process in the northeast of Thailand

dc.contributor.authorวงศา เลาหศิริวงศ์th_TH
dc.contributor.authorWongsa Laohasiriwongen_US
dc.contributor.authorวิไลวรรณ เทียนประชาth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:59Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:38Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:59Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:38Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1165en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1212en_US
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีคิด การให้คุณค่า และวิธีการปฏิบัติ ตลอดจนการก่อตัวของกลไกกำกับสุขภาพภาคประชาชนในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะคือระยะแรกจากการจัดเวทีสมัชชาสุขภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเด็น “ผ่าทางตันเกษตรเคมีสู่เกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพทางรอดสุดท้ายของคนอีสาน” ซึ่งจัดขึ้นในจังหวัดสกลนคร ระยะที่ 2 เป็นการศึกษากลุ่มเครือข่ายสมัชชาสุขภาพใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อศึกษาศัพท์และนิยามที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ และศึกษาการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับความคาดหวังและผลที่คิดว่าจะได้รับจากการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยผู้ที่ให้ข้อมูลได้แก่ กลุ่มเครือข่ายสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ทีมผู้ประสานงานระดับภาค จังหวัด เจ้าหน้าที่ภาครัฐ กลุ่มองค์กรภาคประชาชน ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคเอกชน เก็บข้อมูลโดยการ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การทบทวนเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างของการให้ความหมายของคำว่าสุขภาพในประชาชนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมสมัชชาสุขภาพโดยประชาชนที่ไม่เข้าร่วมมักจะมองสุขภาพว่าเป็นภาวะไม่มีการเจ็บป่วย ร่างกายแข็งแรงทำงานได้เท่านั้น แต่ประชาชนที่เข้าร่วมจะให้ความสำคัญต่อความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติ จิตวิญญาณ สภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ซึ่งคล้ายกับของแกนนำ ผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่อื่นๆ และเจ้าหน้าองค์กรเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสมัชชาสุขภาพ สุขภาพถูกมองว่าเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ต้องดูแลตนเอง ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมองไกลไปถึงความรับผิดชอบร่วมกันของบุคคล ชุมชน ภาครัฐและภาคส่วนอื่น กระบวนการสมัชชาสุขภาพมีผลต่อแนวคิดเกี่ยวสุขภาพแต่ยังไม่สามารถขยายไปยังประชาชนทั่วไปในวงกว้าง ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเกษตรปลอดสารพิษ ปุ๋ยชีวภาพ การพิทักษ์สิทธิ์ พัฒนาสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตดั่งเดิมและสมุนไพร และเชื่อมโยงเข้ากับพรบ.สุขภาพว่าจะเป็นกลไกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนระบบให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน คำศัพท์ที่ใช้ในเวทีสมัชชาสุขภาพและการปฏิรูประบบสุขภาพประชาชนทั่วไปไม่คุ้นเคยและไม่เข้าใจความหมายในบางคำ หรือไม่สนใจใคร่รู้ เนื่องจากเป็นคำใหม่และเป็นวิชาการ ต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ ศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพที่พบ ได้แก่ คำว่า สุขภาพ สุขภาวะ จิตวิญญาณ สุขภาพองค์รวม ปฏิรูประบบสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์สุขภาพ บูรณาการ สร้างนำซ่อม และใกล้บ้านใกล้ใจ ด้านกลไกการกำกับสุขภาพโดยภาคประชาชนพบว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในสมัชชาสุขภาพจะเป็นการประชุมของกลุ่มองค์กร เครือข่าย ผู้สนใจใฝ่รู้ ประเด็นการประชุมจะยึดตามปัญหาในพื้นที่เป็นหลัก โดยเป็นเวทีให้สมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระดมสมองเพื่อหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ด้านการเกษตรทางเลือก สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ และนำเข้าสู่สุขภาพเพื่อให้ชุมชนมีสุขภาวะ และแนวทางการผลักดันร่าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ การก่อตัวของกลุ่มและกลไกกำกับสุขภาพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีการดำเนินการก่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าสมุนไพร กลุ่มส่งเสริมอาชีพเกษตรกร กลุ่มเยาวชน เมื่อตัวแทนกลุ่มเข้ามาร่วมสมัชชาทำให้มองเห็นความเชื่อมโยงกับสุขภาพ จึงมีการพัฒนาให้กลุ่มมีกิจกรรมด้านสุขภาพ การทำงานจะเห็นเป็นสองลักษณะคือ การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและการนำกลุ่มและบุคคลที่สนใจ มาร่วมกันคิด เสนอปัญหาและกำหนดยุทธศาสตร์ การทำงานเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งการขอการสนับสนุน ด้านงบประมาณ กลุ่มที่มีการดำเนินการหลังการปฏิรูประบบสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเป็น กลุ่มออกกำลังกาย และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะรวมตัวกันหลวมๆ และมีกิจกรรมทางสุขภาพร่วมกันแต่ไม่มีการวางแผนในการที่จะเสนอปัญหาและนโยบายต่อรัฐหรือขยายแนวคิดไปสู่สังคม สำหรับเหตุและวิธีการเข้าร่วมมีผลต่อการความเข้าใจและบทบาทในการกำกับกลไกสุขภาพพบว่า การเข้าร่วมในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพและการประชุมสมัชชาสุขภาพ มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านวิธีการเข้าร่วม บางส่วนได้รับการบอก ชักชวนโดยตรงหรือได้รับเชิญทางจดหมาย ด้านความต่อเนื่องพบว่าผู้ที่ติดตามข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจะมีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดของการปฏิรูประบบสุขภาพ กระบวนทัศน์ในการมองสิ่งต่างๆ มีความเชื่อมโยงกับสุขภาพ สามารถมองสุขภาพแบบองค์รวม ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจะมีกระบวนทัศน์ที่แตกต่างจากกลุ่มแรกอย่างเห็นได้ชัด โดยจะคิดในมุมมองที่ตนเองเป็นอยู่ เช่น มองการสร้างสุขภาพคือการออกกำลังกายเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงกับปัจจัยด้านอื่นได้ ประเด็นที่ประชาชนห่วงใยคือจะสร้างความสนใจ และเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ กระบวนการสมัชชาสุขภาพและปฏิรูประบบสุขภาพ แก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างไรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Systems Reformen_US
dc.subjectHealth Care Reformen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleกลไกกำกับสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือth_TH
dc.title.alternativePeople involvement and participation mechanism and health system reform process in the northeast of Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeThis qualitative study aimed to identify people's concepts, values, perceptions, practices, expectations on health, health system reform process and its effects on people. It also focused on the formation of people involvement and participatory mechanism in health system reform process in the Northeast of Thailand. There were 2 phases of data collection, First, was during the Northeast People Health Assembly on Breaking the Impasse!, from Chemical Agriculture towards Alternative Agriculture of the Northeast, organized in Sakolnakorn. Second phase focused on people health assembly networks and general population in Sakolnakorn, Mahasarakham and Nongboulumpu. Key informants were, people organizations, people, people assembly regional coordinators, governments officers and NGOs. Document reviews, in-depth interviews, focus group discussion and observation were applied for data collection. The Information from various sources was undergone content analysis.The results revealed that, people had different concepts on health. People who did not or seldom participated in any people health assembly viewed health as an absent of disease, physically fit and could continue their work. Those who involved in people health assembly defined health in a wider aspect as, the state of well being not only physical but also psychological, conscious, spiritual as well as environment and life style which is similar with those identified by coordinators and NGos. People who did not involve in the process thought health is individual responsibility, whereas those who involved suggested that it should be a share responsibility of individual, community as well as government and other sectors. It was found that people health assembly had effects on people perception on health, however it was limited within those who continuously involved in the process. People attentions were on alternative (organic) agriculture, organic fertilizer, people rights protection, environmental development, traditional life style, and herbs. They linked the issues with the Health Bill, which hoped to be the main mechanism in creating a system, which would facilitate good health of the people. People were not familiar and understand some terms used in the health assembly and health system reform process, since they were new and rather academic. The common terms used were health, spiritual, holistic health, health system reform, health assembly, Health Bill, vision, health strategy, focusing on health promotion not curative and quality care at hand. People involved in health assembly in various meetings of groups, organizations, and networks. Agendas in the meetings were based on community problems. They shared information, brain stormed for appropriate strategies in problem solving in the assembly especially on alternative agriculture, environment, local wisdom, traditional medicines and supports for the Health Bill. Most of the groups and networks were formed before the initiation of the health system reform process such as the forest protection groups, herbal groups. After joining the health assembly they could relate their activities with health and develop activities on health. They strengthen their groups by leading and participation of members, identifying problems and strategies in solving them, as well as requested for outside financial supports. Groups and networks, which formed after the health system reform process, were mostly exercise and consumer groups. There were loosely integrated, they just joined activities but not involved in identifying problems or strategies. Some of them join the process from being directly told or invitation letters by coordinators or organizers. People who continuously joined or followed the process had similar concepts with the health system reform and had insight on holistic health. Those who never or seldom joined the process had different perceptions. They could not relate health determinants, some perceived that exercise was the only method of health promotion. People main concern was how to make health, health assembly and health system reform widely known to the public.en_US
dc.identifier.callnoWA525 ว129ก 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค067en_US
.custom.citationวงศา เลาหศิริวงศ์, Wongsa Laohasiriwong and วิไลวรรณ เทียนประชา. "กลไกกำกับสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1212">http://hdl.handle.net/11228/1212</a>.
.custom.total_download108
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1165.PDF
Size: 606.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record