Show simple item record

The health impact assessment of Map Ta Phud industrial development and its vicinity

dc.contributor.authorเพ็ญโฉม แซ่ตั้งth_TH
dc.contributor.authorPenchom Saitangen_US
dc.contributor.authorวลัยพร มุขสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Musuwanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:33:12Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:01Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:33:12Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1018en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1219en_US
dc.description.abstractรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงเล่มนี้เป็นโครงการหนึ่งภายใต้การสนับสนุนของแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพื่อมุ่งไปสู่การปฏิรูประบบสาธารณสุขในอนาคต การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังและทบทวนผลที่เกิดขึ้น (Retrospective Study) ในมิติของสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการดำเนินนโยบายสาธารณะของรัฐบาลในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่เริ่มขึ้นเมื่อต้นทศวรรษ 2520 โครงการนี้ได้กำหนดให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก สำหรับการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมเหล็ก และอื่น ๆ โดยมีการวางแผนพัฒนาพื้นที่ระยะยาวเป็น 50 ปี การพัฒนาอุตสาหกรรมที่นี่เริ่มต้นด้วยความหวังและความฝันที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้รุ่งเรืองเพื่อพลิกเปลี่ยนประเทศไทยให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะหลังจากที่มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและมีการวางท่อก๊าซครั้งแรกขึ้นที่นี่ จากนั้นมาบตาพุดก็กลายเป็นที่กล่าวขานภายใต้การสร้างภาพของรัฐบาลว่าที่นี่คือเขตอุตสาหกรรมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง ประชาชนได้รับการบอกเล่าพร้อมคำมั่นว่านิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้จะมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษที่ดีเยี่ยม ไม่ต้องห่วงกังวลกับปัญหามลพิษ ทว่าเพียงสองทศวรรษของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การสะสมตัวของมลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมถึงโรคแปลกใหม่ได้ทยอยสำแดงตนออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซ้ำร้ายยังมีความเชื่อมโยงไปถึงผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างแยกจากกันไม่ออก โดยมีประชาชนผู้ไร้เสียงกลายเป็นผู้รับผลกระทบเหล่านี้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันชาวมาบตาพุดเป็นทุกข์สาหัสกับมลพิษอากาศ โดยเฉพาะจากปัญหากลิ่นเหม็นรุนแรง ขณะที่จังหวัดระยองได้ชื่อว่ามีอัตราผู้ป่วยโรคทางเดินระบบหายใจสูงสุด และเป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนี้มีอัตราผู้ติดเชื่อเอชไอวีและผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มากที่สุด รวมทั้งมีผู้เจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตและอัตราการฆ่าตัวตายสูงอย่างไม่น่าเชื่อ เช่นเดียวกับที่มีจำนวนอุบัติภัยด้านอุตสาหกรรมและอุบัติเหตุบนท้องถนนพุ่งสูงขึ้นมากเนื่องจากการใช้สารเคมีจำนวนมหาศาลและการขนส่งภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ทรัพยากรธรรมชาติและการผลิตภาคชนบท โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมและประมง ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในแง่ของการใช้ประโยชน์และคุณภาพ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมีผลเกี่ยวโยงไปถึงความพลิกผันที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิตและความผาสุกของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชนในพื้นที่นี้นอกจากนี้ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยได้ใช้กรอบการวิเคราะห์ขององค์การอนามัยโลกที่เรียกว่า DPSEEA Model อันเป็นแนวการวิเคราะห์และการอธิบายถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบ สภาวะที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงต่อปัญหา ลักษณะของผลกระทบ และปฏิบัติการเมื่อเกิดปัญหาแล้ว โดยเชื่อมโยงให้เห็นตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับของปัจเจกบุคคลและชุมชน รวมถึงการใช้กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเข้ามาเสริมการวิเคราะห์และอธิบายเพิ่มเติม ในท้ายสุดเป็นการเสนอแนวทางการลดผลกระทบทางสุขภาพระดับต่างๆ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการศึกษาครั้งนี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent5225245 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงth_TH
dc.title.alternativeThe health impact assessment of Map Ta Phud industrial development and its vicinityen_US
dc.description.abstractalternativeThe Health Impact Assessment of Map Ta Phud Industrial Development and Its Vicinity is a retrospective case study and successfully carried out with support of the Research and Development Program on Healthy Public Policy and Health Impact Assessment (HPP-HIA) under the Health Systems Research Institute. The study is also done in response to the Program’s approaches towards the health systems reform. Industrialization of Map Ta Phud has been carried out based on the policy to promote the Eastern Seaboard program since early 1980’s. Map Ta Phud is assigned to serve heavy industries of petrochemical, oil and gas refinement, iron and steel for the period of 50 years. Industrialization here stemmed from hopes and dreams that economic propensities were being brought to the country, and that it would uplift Thailand to the status of a Newly Industrialized Country, in particular promising exploitation of natural gas. Map Ta Phud was touted as the most modern industrial estate in the making. Public was promised that with its high standard of management and control, there would be no pollution problems. However, in the last two decades, accumulated pollution and environmental problems as well as mysterious diseases have begun to emerge as very much linked to each other, and hugely affected small people in the area. At present Map Ta Phud People suffer hard the air pollution especially the bad smell while Rayong province boasts the highest number of patients suffering from respiratory diseases. The province is also known as having one of the most highest numbers of AIDS infected people and AIDS-related deaths as well as a great number of mentally ill patients and commit suicide cases. Similarly, the number of industrial incidents and accidents on roads is dramatic due to rapidly increasing chemical use and transports. Drastic changes in the exploitation and quality of natural resources and production of rural sector are obviously akin to the uprooting of the way of life of individuals, families and communities which directly affects to their livelihood.This study, therefore, put on exploring impacts at Map Ta Phud in various forms, in particular through the issue of “health” under a much broader definition than the conventional one. According to the essence of the drafted National Health Act, “health” is defined as the state of human integrated well-being in four aspects of physical, mental, social and spiritual health. Consequently, the outcomes revealed in this paper are rather vogue and pioneering, as there has been none of such study on industrialization with this particular focus. In addition, this paper also applies the WHO’s health and environment analytical framework (or DPSEEA model) to analyze the causes and effects of industrial development at Map Ta Phud. The framework divides the analytical process into five levels of Driving force, Pressure, State, Exposure, Effects and Actions. Based on the process, each specific development programs will be recognized as the driving force of the overall potential health impacts and risks. This driving force can lead to increasing in environmental and social pressures. Such pressures might cause drastic changes in the state of environmental and social quality, after which it leads to exposure to the industrial pollution and social problems and finally ends up with various forms of health effects. Apart from the WHO’s model, the conceptual framework of healthy public policy process is also partially applied in responding to some complicated aspects of the existing problems as well as to propose proactive approaches at different levels to improve those health effects.en_US
dc.identifier.callnoWA754 พ886ซ 2546en_US
dc.identifier.contactno45ข002en_US
dc.subject.keywordHealth Impacten_US
dc.subject.keywordMap Ta Phud Industrialen_US
dc.subject.keywordผลกระทบทางสุขภาพen_US
dc.subject.keywordนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดen_US
.custom.citationเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง, Penchom Saitang, วลัยพร มุขสุวรรณ and Walaiporn Musuwan. "การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1219">http://hdl.handle.net/11228/1219</a>.
.custom.total_download230
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1018.pdf
Size: 5.216Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record