Show simple item record

An assessment of social welfare system for women with family violence

dc.contributor.authorกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์th_TH
dc.contributor.authorKittipat Nonthapatamadulen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:05Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:33:20Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:05Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:33:20Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs0984en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1227en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมทั้งระบบและรูปแบบของการจัดบริการสวัสดิการสังคมด้านความรุนแรงต่อสตรี ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งในด้านการป้องกัน การพิทักษ์สิทธิ์ การสร้างและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางสังคม การฟื้นฟูสภาพและการให้ความช่วยเหลือ เพื่อประเมินระบบบริการสวัสดิการสังคม ทั้งในด้านปรัชญา กระบวนการทำงาน ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ เพื่อค้นหาศักยภาพและข้อจำกัดของระบบ กลไก และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการพัฒนาระบบบริการสวัสดิการสังคมสังคมที่ครบวงจร การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตกระบวนการให้บริการอย่างมีส่วนร่วม การใช้กลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะ การศึกษาจากกรณีศึกษา ร่วมกับการวิจัยเชิงเอกสาร หน่วยงานที่ศึกษา ได้แก่ กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพสตรี บ้านเกร็ดตระการ สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี เครือข่ายกรุงเทพมหานคร มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กลุ่มครูกัลยาณมิตรมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก จังหวัดบุรีรัมย์ บ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี กรุงเทพมหานคร และมูลนิธิเพื่อนหญิง ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า หน่วยงานในระบบบริการสวัสดิการสังคมเพื่อผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงมีความตระหนักในเรื่องมายาคติต่างๆ ที่เป็นกำแพงขวางกั้นมิให้ผู้หญิงได้รับการช่วยเหลือให้ปลอดภัยจากความรุนแรง จึงมีการรณรงค์เผยแพร่เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ประเด็นการมองว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็น “เรื่องส่วนตัว” ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวในครอบครัวของผู้อื่น เป็นประเด็นที่บุคลากรทุกหน่วยงานเห็นว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ ซึ่งมิได้มีอิทธิพลอยู่ในสาธารณชนเท่านั้น นักวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจหลายท่านก็มีความเชื่อเช่นนี้ ทำให้การป้องกันมิให้ผู้หญิงได้รับความรุนแรงซ้ำ ไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร การประสานงานและการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านเด็กและสตรี ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนมีประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นพัฒนาการความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีการประสานความร่วมมือในลักษณะการผนึกความรับผิดชอบร่วมกันได้มากกว่าแต่ก่อน ทั้งผนึกความรับผิดชอบในกรอบของสหวิชาชีพ ในกรอบของการยึดประชาชนผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนในกรอบของการร่วมในขบวนการรณรงค์เคลื่อนไหวในวงกว้าง กระทั่งความร่วมมือในระดับกิจกรรมที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในหลายหน่วยงาน อาทิ ในบ้านพักเด็กและครอบครัว กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร และบ้านเกร็ดตระการ เป็นต้น การบริหารจัดการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในภาครัฐมีลักษณะการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงจากระบบบริหารบิวรอคเครซี่ดั้งเดิม (Bureaucracy) เป็นบิวรอคเครซี่เชิงวิชาชีพ (Professional bureaucracy) ที่ยืดหยุ่นกับการประสานงานแบบสหวิชาชีพได้มากกว่า สำหรับหน่วยงานภาคเอกชนสามารถธำรงการบริหารจัดการในลักษณะของความเป็นองค์กรทางเลือก (Alternative organizations) ได้ดีและมีวุฒิภาวะของการสร้างความร่วมมือได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังพบความพยายามในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning organization) บุคลากรภาครัฐมีทัศนคติต่อการประสานงานกับภาคเอกชนอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น ขณะเดียวกันบุคลากรในภาคเอกชนยอมรับว่าภาครัฐมีการเปิดโอกาสให้กับความร่วมมือกว้างขวางมากยิ่งขึ้น การดำเนินงานกับผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงที่พบ มีลักษณะเด่น คือการยึดหลักการ “ผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง” นักวิชาชีพไม่ตัดสินใจแทนผู้หญิงที่เป็นผู้ใช้บริการ มีการหนุนสร้างให้ผู้ใช้บริการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ ผ่านการหนุนสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) จากนักวิชาชีพและผู้หญิงที่เคยผ่านประสบการณ์วิกฤตด้านความรุนแรงในครอบครัวมาก่อน หน่วยงานภาครัฐดำเนินการภายใต้นโยบายที่อาศัยอำนาจตามตัวบทกฎหมายโดยตรง อาทิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 เป็นต้น ส่วนการดำเนินงานของหน่วยงานภาคเอกชนไม่ได้อิงนโยบายในความหมายที่เป็นกฎหมายและความเป็นทางการมากนัก ทว่าอิงกับอุดมคติหรือค่านิยมขององค์กรที่กำหนดมาตั้งแต่จุดกำเนิดขององค์กรหรือการเริ่มก่อตั้งองค์กรแต่ละแห่งเป็นต้นมา ทรัพยากรที่นำมาใช้เป็นการสนับสนุนเงินทุนงบประมาณ ที่ครอบคลุมทั้งจากองค์กรต่างประเทศ องค์กรภายในประเทศ และจากรัฐบาล ในด้านของผู้ใช้บริการ ผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงมาจากสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลาย และมักจะอธิบายตนเองในลักษณะตำหนิตนเองหรือนิยัตินิยม (Determinism) ยอมจำนนกับแนวคิดระบบสังคมที่มีชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงที่สามารถผ่านประสบการณ์วิกฤตของความรุนแรงในครอบครัวมาได้ เป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่งและมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจด้วยตนเอง มีการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ และนิยามความหมายของชีวิตใหม่ให้กับตนเอง ศักยภาพของระบบ กลไก และกระบวนการที่ค้นพบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภายในระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพ การให้โอกาสผู้หญิงที่ผ่านประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวมาแล้ว มาเป็นอาสาสมัครหรือผู้ช่วยนักวิชาชีพ หน่วยงานภาคเอกชนสามารถธำรงคุณลักษณะความเป็นองค์กรทางเลือกและเพิ่มพูนความเป็นวิชาชีพได้มากขึ้น มีพัฒนาการของการประสานความร่วมมือในรูปของเครือข่ายการทำงานที่มีความก้าวหน้าพอสมควร กระแสปฏิรูปการเมืองการปกครองที่เน้นการกระจายอำนาจ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนได้รับการคาดหวังให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงมากขึ้น และการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อสิทธิเด็กและสตรีในเชิงนโยบายได้รับการขานรับจากสาธารณชนมากขึ้น ด้านข้อจำกัด ได้แก่ ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานในการทำงานกับผู้หญิงที่แตกต่างกัน ทำให้ขาดความตระหนักในความสำคัญของปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับสตรี กลไกในการให้บริการยังไม่ครบวงจร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักในความสำคัญของการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเท่าที่ควร ในการประเมินความครอบคลุมของการให้บริการสวัสดิการสังคม พบว่ายังมีผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวจำนวนมากที่ถูกครอบงำด้วยมายาคติและวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ทำให้ไม่สามารถพังทลายกำแพงที่กุมขังเธอจนไร้อิสรภาพ ในด้านความเหมาะสมและพอเพียง โดยพื้นฐานของการประสานความร่วมมือ ผู้ศึกษาเห็นว่ามีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้หญิงพอสมควร บริการสวัสดิการสังคมที่ผู้หญิงได้รับมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพพอสมควร ประเด็นสำคัญ คือ การทำงานกับผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรง คือ การทำให้เธอกลับมามีอำนาจ และการปลดปล่อยให้เธอพ้นจากสภาพที่ต้องจำนนกับความรุนแรง ปัญหาใหญ่อยู่ที่ระบบเปิดรับว่าจะทำอย่างไรให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายในครอบครัวเข้ามาสู่ระบบบริการสวัสดิการสังคมได้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมีดังต่อไปนี้ (1) ควรมีนโยบายด้านการรณรงค์ความเข้าใจในปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง (2) ควรมีนโยบายด้านการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเพศภาวะและปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ (3) ควรมีนโยบายด้านการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเพศภาวะและปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะในหลักสูตรการผลิตบุคลากรนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (4) ควรมีนโยบายเร่งขยายผลการดำเนินงานด้านการหนุนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (5) ควรมีนโยบายสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อมุ่งพัฒนาความก้าวหน้าของการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีที่ได้รับความรุนแรง (6) ควรมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริการสวัสดิการสังคมเพื่อผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงอย่างครบวงจร (7) รัฐควรมีนโยบายด้านการประกันสังคมและการสงเคราะห์ประชาชนทางสังคมที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงทางสังคม และ (8) ควรมีนโยบายส่งเสริมให้หน่วยงานได้ใช้ผู้ช่วยนักวิชาชีพที่มีประสบการณ์ผ่านวิกฤตปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการให้ความช่วยเหลือ.th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectViolence--Womenen_US
dc.subjectSocial Welfareen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectสวัสดิการสังคมth_TH
dc.subjectFamily Violenceen_EN
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัวth_TH
dc.subjectViolenceen_EN
dc.subjectความรุนแรงth_TH
dc.subjectความรุนแรงต่อสตรีth_TH
dc.titleการประเมินระบบสวัสดิการสังคมสำหรับสตรีที่ได้รับความรุนแรงth_TH
dc.title.alternativeAn assessment of social welfare system for women with family violenceen_US
dc.description.abstractalternativeAn Assessment of Social Welfare System for Women with Family ViolenceThe study is to explore the overview of social welfare service system provided for women who experienced family violence covering both governmental and non-governmental organizations, to assess social welfare service system including philosophy, operating process, practitioners, and clients, to assess the potentiality and limitations of the system, and to generate policy recommendations. The study has been conducted in qualitative research method. The researcher used in-depth interview, participatory observations, focus group discussion, case study, along with the documentary research. The agencies involved are such as Emergency Home for Children and Families, Child Welfare Protection Division, Department of Public Welfare, Kredtrakarn Protection and Occupational Development Center or commonly known as Kredtrakarn Home, Center for the Protection of Children Rights Foundation (CPCR), Friends of Women Foundation (FOW). The agencies involved have realized that myths are the major reasons obstruct the women from accessibility to the social welfare service system. They therefore have continuously launched series of societal-wide campaigns. The myths such as “Privacy against Publicity” existed among not only the general people but also the professional practitioners involved. These practitioners, the police in particular, could actually help prevent women from repeatedly hit, but then over-looked the incident because of their mis-understanding about the dominance of privacy rights over public and professional concerns. Therefore the prevention of the repetition cases of violence was inappropriately conducted. Collaboration among related agencies covering both GOs and NGOs was moderate progress when compared with the former study. This is evidenced by the increasing in collaborative responsibility, interdisciplinary approach, the clients-centered approach, as well as collaboration in social movement activities among the agencies. Even in the level of project activities, both GOs and NGOs personnel worked together as seen in the Home for Children and Family, the Center for Children, Women, and Seniors of BMA and the Kredtrakarn Home. GO administration pattern has been shifted from a traditional bureaucratic to be a professional bureaucratic model which is more flexible to interdisciplinary approach. NGO administrations have continuously maintained its nature of “alternative organization” with increasing maturity of collaboration. In addition, the agencies involved try to push an atmosphere of “learning organization.” GO practitioners gain more positive attitudes towards collaboration with any NGO while NGO workers feel the open-wider opportunities GO officials arranged for them. Working directly with the violence experienced women, the practitioners firmly believe in “clients centered approach.” They avoid a decision-making for the women but encourage their clients to change the structure of power relations by themselves. The practitioners and the women who had obtained an experience of overcoming family violence crisis are significant empowerment activators. GO operations are under policies legitimated by laws while NGOs follow their original ideology and values. Policy resources came from both inside and outside country supports as well as government budget. For the clients, the women experienced with family violence were from various economic and social statuses. They got stuck in “deterministic view” as they often blamed themselves for the reason of being abused. They gave up to the dominated patriarchy value surrounding them. Those who overcame the family violence crisis were the women who finally won their struggle against the structure of dominated power, created their new identity, and redefined the “new meaning of life” by themselves.The potentials of the system are: (1) the positive changes in government administration, (2) the opportunities opened for the women who had an overcome of family violence experience to be para-professional workers, (3) the maintaining of “alternative organization” quality with increasing maturity of collaboration among NGOs, (4) the increasing progress of networks building and development, (5) the political and administration reform which encourages the increasing roles of local administrations and community organizations in surveillance, protect, and help women with family violence, and (6) the increasing public support to the children and women rights movement. The limitations found are: (1) the different basic concepts towards women issues, (2) the failure to building-up a one stop service, and (3) the misunderstanding and unawareness of the problem among local administrations and community organizations.Regarding the service coverage, lots of abused women in the family have been left without any assistance because of the unawareness of the problem among neighbors and related professions. In addition, the women felt powerless by the myths and self- blaming attitudes. The existing welfare service is able to respond to the women problems appropriately in the case that they access to the service system. However the major obstacle is that they were unable to reach the gate of the system. The policy recommendations are (1) Continuously and assiduously campaigning to increasing the awareness and understanding of family violence among public, (2) Implanting the concepts of gender relations and awareness of family violence into every level of education curriculum, (3) Implanting the same concepts and awareness into related professions curriculum, (4) Accelerating the empowerment of the community surveillance and prevention for family violence, (5) Encouraging the learning together environment among related agencies in order to uplift the progress and advance of social surveillance, prevention, and assistance to the women, (6) Supporting the one-stop service for the women with family violence in social welfare system, (7) Restructuring the social insurance and social assistance schemes of the country in order to respond more appropriately and effectively to the women’s needs and problems, and (8) Supporting the agencies to employ the women overcome family violence crisis as the para-professional workers for being an effective and efficiency mechanism in the helping process.en_US
dc.identifier.callnoHV6100 ก676ก 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค003en_US
.custom.citationกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์ and Kittipat Nonthapatamadul. "การประเมินระบบสวัสดิการสังคมสำหรับสตรีที่ได้รับความรุนแรง." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1227">http://hdl.handle.net/11228/1227</a>.
.custom.total_download106
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs0984.pdf
Size: 923.2Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record