Show simple item record

The study of civil society and its impact : Banphaew district, Samutsakorn province

dc.contributor.authorกุลภา วจนสาระth_TH
dc.contributor.authorKhunlapha Wachanasaraen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:10Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:36Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:10Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:36Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1162en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1241en_US
dc.description.abstractรายงานวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาประชาสังคมในระดับชุมชนหมู่บ้านไทย โดยอาศัยการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของกลุ่มองค์กรต่างๆ ในฐานะรูปธรรมเชิงสถาบันของแนวคิดประชาสังคม เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา เพื่อสะท้อนลักษณะของประชาสังคมที่เกิดขึ้นจริงในระดับชุมชนของไทยว่ามีปฏิบัติกรรมทางการสื่อสาร ตกผลึกเป็นสถาบันในรูปแบบของกลุ่มองค์กรอย่างไร และแนวคิดประชาสังคมส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมในระดับชุมชน การรวมตัวเป็นกลุ่มของชาวบ้านในพื้นที่ศึกษามีมาตั้งแต่เริ่มต้นสร้างชุมชน เกิดขึ้นอย่างหลากหลายกระจัดกระจาย ดำเนินไปในหลายรูปแบบ และถูกกำกับความเป็นไปของกลุ่มด้วยหลายปัจจัย ทั้งเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม บริบททางสังคม และเงื่อนไขในการดำรงชีวิตของชาวบ้านแต่ละพื้นที่ ประชาสังคมจึงแตกต่างหลากหลายสอดคล้องกับปฏิบัติกรรมทางสังคมในแต่ละที่นั้น ๆ กล่าวคือ มีลักษณะตั้งแต่เป็นปฏิบัติกรรมทางการสื่อสาร เป็นเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกันหาทางออกในสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน ไปจนถึงการตกผลึกเป็นสถาบันมีการตั้งเป็นกลุ่มองค์กร ทำกิจกรรมอาสาสาธารณะ มีส่วนกำหนดและรับผิดชอบต่อความเป็นไปในบางด้านของชุมชนร่วมกับภาครัฐ ประชาสังคมในปริมณฑลสาธารณะของบ้านแพ้วเกิดขึ้นจากหลายภาคส่วนด้วยกัน ได้แก่ ประการที่หนึ่ง ประชาสังคมที่มีลักษณะอิงอยู่กับภาครัฐและตลาด เป็นกลุ่มพื้นฐานที่สามารถพบได้ทั่วไปในทุกหมู่บ้านของประเทศ เนื่องจากก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของทางราชการและการเติบโตของตลาด โดยเฉพาะการสนับสนุนเงินงบประมาณ และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากภาครัฐ มีโครงสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเป็นทางการ เช่น กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ สมาชิกระดับนำส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานใกล้ชิดอยู่กับหน่วยงานราชการ และมีทุนทางสังคมในรูปของเครือข่าย อิทธิพลบารมีที่สะสมมาแต่เดิมในการตั้งตัวเป็นผู้นำทำกิจกรรมต่างๆ อาศัยความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งเครือญาติ เพื่อนบ้านใกล้ชิด และกึ่งอุปถัมภ์ต่างตอบแทน ร่วมกับช่องทางในการจัดสรรทรัพยากรผสมผสานเป็นแรงยึดเหนี่ยวของกลุ่ม กลุ่มลักษณะนี้จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นความพยายามของภาครัฐที่เข้ามาแบ่งปันพื้นที่สาธารณะในรูปของประชาสังคม ประชาสังคมลักษณะที่สอง หมายถึงภาคสังคมที่เป็นอิสระจากอำนาจการเมืองหรือรัฐ และภาคธุรกิจที่แสวงหากำไร โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นพื้นที่หรือเวทีเปิดให้แก่ชาวบ้านในการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นผลประโยชน์สาธารณะ ประชาสังคมในลักษณะนี้เกิดขึ้นกระจัดกระจาย มีความหลากหลายไปในแต่ละชุมชน กล่าวคือ มีตั้งแต่เป็นพื้นที่หรือเวทีสาธารณะให้แก่ชาวบ้านได้เข้ามารวมกลุ่ม พบปะ พูดคุย อย่างที่เรียกกันทั่วไปว่า “สภากาแฟ” หรือเป็นกลุ่มของภาคเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานอาสาสาธารณะโดยตรง ทั้งทางด้านสาธารณกุศล การศึกษาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข ฯลฯ สำหรับการรวมกลุ่มแบบที่เรียกว่า “สภากาแฟ” นั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามร้านค้าในหมู่บ้าน ซึ่งมักจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ เช่น ราคาผลผลิต ความรู้ด้านการเกษตร ข่าวสารของกองทุนหมู่บ้านหรือกลุ่มออมทรัพย์ รวมถึงเรื่องราวทั่วไปในชีวิตประจำวัน เรียกว่ามีหน้าที่สำคัญในการเป็นปฏิบัติกรรมทางการสื่อสารในระดับหมู่บ้าน ที่อาจจะนำไปสู่การเคลื่อนไหวในชุมชน หรือการตัดสินใจในเชิงนโยบายได้ในบางกรณี ตามแต่สถานการณ์ปัญหาของแต่ละชุมชนขณะเดียวกัน ในอีกระดับหนึ่งก็มีประชาสังคมที่กำหนดโครงสร้างขององค์กรเป็นทางการ จัดตั้งอยู่ในรูปแบบของสถาบัน องค์กร สโมสร มูลนิธิ ฯลฯ สมาชิกส่วนใหญ่มีความต้องการร่วมกันที่จะทำกิจกรรมอาสาสาธารณะ ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เข้าร่วมกับภาครัฐในการตัดสินใจและรับผิดชอบกิจการสาธารณะของชุมชนในบางด้าน ทำหน้าที่สะท้อนปัญหาความต้องการของชุมชน และต่อรองผลประโยชน์กับภาครัฐได้ในบางกรณี ซึ่งบทบาทเหล่านี้มีความเข้มข้นแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มองค์กร ประชาสังคมลักษณะที่สาม เรียกว่าประชาสังคมที่อยู่ในภาคส่วนปัจเจกหรือปริมณฑลส่วนตัว เป็นการรวมกลุ่มของผู้ที่มีความสนใจเฉพาะตัว เพื่อความสนใจร่วมกันของสมาชิกในเชิงปัจเจกบุคคล มากกว่าที่จะทำกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ร่วมของชุมชน ในบางกรณีกลุ่มเหล่านี้ก็มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาอย่างเป็นทางการ เพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร โดยเฉพาะงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐในการดำเนินกิจกรรม กระแสความคิดประชาสังคมที่เข้าไปสู่ชุมชนในระดับหมู่บ้านนั้น ส่งผลกระทบในหลายลักษณะด้วยกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในมิติของการปรับพื้นที่ของทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ความคิดประชาสังคมได้สร้างความหมายใหม่ๆ ให้แก่การรวมกลุ่มในชุมชน นั่นคือ การเป็นโอกาสใหม่ๆ ในการเข้าถึงทรัพยากรที่ภาครัฐจัดสรรมาสู่ชุมชน และเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับภาครัฐในบางโอกาส เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องราวสาธารณะของชุมชนเอง สิ่งนี้กล่าวได้ว่า นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเรื่องจิตสำนึกสาธารณะหรือส่วนรวมของชาวบ้านไม่มากก็น้อยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2730014 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Civil Societyen_US
dc.subjectCommunity Health Servicesen_US
dc.subjectSamutsakornen_US
dc.subjectประชาสังคมด้านสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยชุมชน, การบริการen_US
dc.subjectสมุทรสาครen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการดำรงอยู่และผลกระทบของความคิดประชาสังคมในระดับชุมชนศึกษากรณีอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครth_TH
dc.title.alternativeThe study of civil society and its impact : Banphaew district, Samutsakorn provinceen_US
dc.description.abstractalternativeThis research examines the idea of civil society in Thai community. The important themes are running through the rise and the existing of social groups as the institutionalization of the concept of civil society. This study aims to display the communicative actions of Thai village’s civil society, how this approach becomes institutional organizations, and also, how this approach has any impact in our community. The community groups in this study have emerged at the beginning of community. They are differently occurred and taken to various forms; depend on the environmental conditions, social contexts and life world in their localities. The social actions of civil society might be different, for example in the form of various communicative actions; the place for addressing problematic situations in community; the social institutions or organizations that share taking action and responsibility in public activities with the state sector. There are three actors of civil society in public sphere of Banphaew District. Firstly, the civil society in the sphere of state-market sector, these fundamental groups are found mostly in all villages of Thailand. They are formed by the state policy to enlarge the growth of market sector, and they are subordinated the budget and the means of production by the state sector. The social relationship in these groups is formally organized, such as the village fund, the cooperatives, and the women groups. The leader members mostly have closely relationship with the officials and also have former social capital to influence collective actions legitimately. The social relations in this group based upon kinship networks, neighborhood relation and reciprocity in patron and client relationship. This group is a kind of the state sector in sharing of public sphere in the name of civil society, influence more opportunity in state-resources distribution.Secondly, the civil society in the sphere of social sector that refers to meditating sphere between the state (as the range of activities organized and legitimated by formalized coercive powers); and the market (as the range of profit-oriented activities). Its important role is basically the free place for exchange and discussion about cultural interests and social health. This kind of civil society is different and has variations in each locality. For example, it is the public place of community groups as known as “Sapa Cafe”. Sometimes these communications are institutionalized and organized in the form of voluntary organizations that work for the better public life, such as education, the quality of public life, public health etc.The community groups or “Sapa-Cafe” mostly occur in the form of small shops in the village. The important social role of these shops is the flow of various informations, such as the product prices, their agriculture knowledge, the movement update of the village fund or the community cooperatives, and also activities in everyday life. These communicative actions sometimes lead to the social movements of community or the decision making of social policy, rely on their problematic social situations. Another kind of the social sector is in the form of the formal structured institutions, social organizations, social clubs, foundations etc. Their members need to take action in voluntary activities, being free of formal coercion and the distribution of profits. Their activities in civic engagement are the participation in decision making and sharing responsibility with the state sector; addressing the problems and needs of community; and the negotiation with the state. Thirdly, the civil society in the sphere of private sector is the group of people that have the same interests. It functions individual utility more than collective utility. Sometimes these groups are in the organized groups to take more opportunity in the redistribution of resources, especially the supporting budget from the state sector. The concept of civil society approaches into the village community. It brings changes in many aspects, especially the adjustment of all sectors in public sphere. The state sector is required to reduce its size and de-centralized its authority to the social sector. But it becomes a part of civil society by create and support the budget for organizations in the village. In the meanwhile, even if the social sector is more significant, it’s dispersedly in the various forms. The new social meanings of civil society or gathering into group are new opportunity in the redistribution of public resources, and also the new performing in negotiation with the state. These conduct to the change of public or civic consciousness, more or less.en_US
dc.identifier.callnoHM101 ก728ก 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค032en_US
dc.subject.keywordcivil societyen_US
dc.subject.keywordประชาสังคมen_US
dc.subject.keywordชุมชนen_US
.custom.citationกุลภา วจนสาระ and Khunlapha Wachanasara. "การดำรงอยู่และผลกระทบของความคิดประชาสังคมในระดับชุมชนศึกษากรณีอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1241">http://hdl.handle.net/11228/1241</a>.
.custom.total_download51
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1162.pdf
Size: 1.385Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record