แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินบริการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

dc.contributor.authorปิยะฉัตร ชื่นตระกูลen_US
dc.contributor.authorPiyachat Choenthrakulen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:15Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:01Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:15Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:01Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0765en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1252en_US
dc.description.abstractการประเมินบริการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การวิจัยเรื่องการประเมินบริการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานของการฌาปนกิจสงเคราะห์ในชุมชน ตลอดจนเสนอทิศทางการจัดบริการของการฌาปนกิจสงเคราะห์ในชุมชนที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ จำนวน 383 ราย กรรมการบริหารองค์กรฌาปนกิจสงเคราะห์ในชุมชนจำนวน 81 ราย และผู้รับผิดชอบในภาครัฐ 9 ราย จากชุมชนทุกภาค ในพื้นที่ 9 จังหวัด 18 อำเภอ 36 ชุมชน เก็บข้อมูลช่วงเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2542 ผลการศึกษามีดังนี้ การเริ่มต้นรวมกลุ่มเป็นองค์กรบริการในชุมชนมีแนวคิดจากพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่มีอยู่และพัฒนาการรวมกลุ่มมาไม่นานนักด้วยสาเหตุทำตามชุมชนอื่นและคิดว่าจะทำให้มีเงินทำศพมากขึ้น ชุมชนส่วนใหญ่มีการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรบริการฌาปนกิจสงเคราะห์ ลักษณะบริการ ด้านรูปแบบของบริการจะมี 2 แบบ คือ แบบเป็นทางการซึ่งจัดตั้งภายนอกชุมชนแต่จะให้บริการมาถึงชุมชนด้วย ผู้สูงอายุไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ และรูปแบบบริการแบบไม่เป็นทางการ เป็นบริการที่จัดเฉพาะสมาชิกในชุมชน บริการสำหรับสมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงและไม่มีการจัดตั้งองค์กรบริการแต่จะให้บริการเฉพาะกิจ ซึ่งส่วนใหญ่การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรฌาปนกิจสงเคราะห์ในชุมชนเกือบทั้งหมดมีการจัดบริการแบบนี้และผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์กรรูปแบบนี้ ในด้านสถานที่ตั้งองค์กรบริการ ในรูปแบบบริการแบบเป็นทางการ สถานที่ตั้งองค์กรบริการจะอยู่นอกชุมชน ส่วนรูปแบบองค์กรบริการไม่เป็นทางการซึ่งมีอยู่ในชุมชนสถานที่ตั้งจะใช้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎร์เป็นสถานที่ตั้งองค์กร การจัดตั้งองค์กรบริการส่วนใหญ่ไม่มีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย นโยบายและวัตถุประสงค์บริการส่วนใหญ่จะเป็นไปเพื่อการสงเคราะห์ศพ ในชุมชนโครงสร้างองค์กรบริการจะมีลักษณะไม่เป็นทางการ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่แบบหลวม ด้านระบบการดำเนินงานทั้งหมดดำเนินการในรูปกรรมการ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้ง กรรมการส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อาชีพเกษตรกร มีจำนวนหนึ่งในสี่เป็นผู้สูงอายุด้วย กรรมการมีความคิดเห็นในทางบวกต่อฌาปนกิจสงเคราะห์ ดำเนินการโดยกรรมการซึ่งมักเป็นกรรมการหมู่บ้านด้วยจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยคณะกรรมการจะมอบให้กรรมการคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบดำเนินการ และจะมีทีมงาน 2 – 4 คน รับผิดชอบดำเนินงานตามนโยบายและวัตถุประสงค์ซึ่งเน้นการทำศพโดยเฉพาะ กระบวนการดำเนินงานอาศัยแนวทางที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ไม่มีการเขียนระเบียบชัดเจน และส่วนใหญ่มีข้อกำหนดที่ระบุไว้ในเรื่องวิธีการรับสมาชิกซึ่งมี 2 แบบคือแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นสมาชิกแบบรายบุคคล โดยอัตราค่าสมาชิกส่วนใหญ่จะยึดตามกฎหมายคือเก็บค่าสงเคราะห์ศพ 20 บาท/รายแต่มีความยืดหยุ่นเพราะมีการเก็บตามศักยภาพของผู้สูงอายุตั้งแต่ 5 บาท- 50 บาท และเมื่อมีการตายเกิดขึ้นจะมีการจ่ายเงินภายใน 1 วัน การประเมินการให้บริการพบว่า ในรูปแบบบริการแบบเป็นทางการจะถือมาตรฐานบริการตามระเบียบของกฎหมาย แต่ในองค์กรบริการในชุมชนแม้จะอาศัยแนวทางตามระเบียบปฏิบัติอยู่บ้างแต่จัดว่ายังไม่มีมาตรฐานบริการ แต่ ทั้งนี้การดำเนินงานจะเป็นไปตามจุดมุ่งหมายคือเพื่อการสงเคราะห์ศพ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ บริการที่จัดขึ้นตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่ บริการฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ความเป็นธรรมและให้โอกาสแก่ผู้สูงอายุในการใช้บริการ ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในบริการ เป็นบริการที่จัดน่าจะมีความยั่งยืนและปัญหาอุปสรรคในมุมมองของผู้สูงอายุจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริการ ส่วนในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกรรมการจะเป็นเรื่องการทำตามบทบาทของสมาชิกและปัญหาด้านการดำเนินงานอยู่ที่ระบบการทำงาน ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานฌาปนกิจสงเคราะห์ในชุมชนที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การพัฒนาตัวผู้สูงอายุด้านเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดย การสร้างงานให้กับผู้สูงอายุในชุมชน จัดทำแผนงาน/โครงการสร้างโอกาสหรือเอื้อที่จะสนับสนุนความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างความแน่นแฟ้นให้แก่ผู้สูงอายุและครอบครัว และจัดความครอบคลุมหลักประกันทางสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ต้องพัฒนาองค์กรบริการฌาปนกิจสงเคราะห์ในชุมชน ด้วยการพัฒนากรรมการด้านองค์ความรู้ และพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพรวมทั้งการจัดทำนโยบายแบบมีส่วนร่วมที่จะดูแลให้ผู้สูงอายุมีหลักประกันการตายเต็มร้อยen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent465607 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAge Groupsen_US
dc.subjectElderly -- Quality of lifeen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- คุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- บริการen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.titleการประเมินบริการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeThe evaluation of the funeral welfare service for the improvement of quality of life of the elderly peopleen_US
dc.description.abstractalternativeThe Evaluation of The Funeral Welfare ServiceFor The Improvement of Quality of Life of the Elderly People The study on "evaluation of the funeral welfare service for the improvement of quality of life of the elderly people" aimed to evaluate the work on the local funeral welfare, as well as to propose an appropriate operation of a local funeral welfare which will assist in the improvement of the quality of life of elderly people. The study was conducted in April - May 1999 by interviewing 383 elderly people, 81 local funeral welfare committee, and 9 responsible government officials. The study sites covered 9 provinces which included 36 localities in 18 districts. Below is the description of the brief results. Local people cooperatively initiated the local funeral welfare based on the existing cultural concept. The cooperation was formed not very long ago following other localities and having believed that this would increase a financial aid for the funeral. This service was formed in most localities. Concerning the service, there were classified into 2 categories which were official and unofficial funeral welfare. The former was established outside a locality but provided its services to cover localities, however, elderly people could not be its members. The latter was established to provide service to only members in that locality and its neighbors. It did not have a legal form of organization but provided the service based on needs. Most organizations were in this category and mot elderly people were the members. Regarding the location, the official funeral welfare had its organization located outside the locality, while the unofficial service had its organization located at a local welfare center and did not register legally. Its objective was to provide the funeral welfare and it had very flexible roles. The administration structure was composed of elected committees, including at least 2 village committees, out of which most of them were in a middle age and one fourth was the elderly. These committees had a very positive attitude toward the funeral welfare. The committees would assign a committee to be responsible for a funeral with a team of other 2 - 4 people. The funeral procedures were based on the legal process but no clear written procedures were recorded. However, the criteria for membership were set up clearly. There were 2 categories of members, in person and in a group. Most elderly people were in the former. The members needed to pay a membership fee of 20 Baht per person according to the law, however, this could be flexible depending on their financial status. It could be collected varies from 5-50 Baht and when a death occurred, the money for funeral welfare will be given within a day. After evaluating the services, it was found that the services were implemented in compliance with the legal standards. However, the local unofficial service was not in a good standard though it followed the legal procedures but the elderly people were satisfied with the services. This was because the services were in their needs, covered the entire locality, based on equality and elderly people could participate in the services. This service was potentially sustained. In term of problems, there was a problem associated with the funeral welfare service in some members' opinions as well as problems with the roles of the members and service procedures. The recommendations for the better funeral welfare service for the improvement of the quality of life of elderly people are that the quality of life of elderly people is developed by providing employment for local elderly people; that opportunity supporting a better relationship among elderly people and family is developed; and that health insurance for elderly people is thoroughly provided. In addition, an organization providing the local funeral welfare should be improved through the development of the knowledge resource and the better service system; and a policy is formulated to ensure the insurance after death for all elderly people.en_US
dc.identifier.callnoWT31 ป621ก [2544]en_US
dc.subject.keywordFuneral Welfare Serviceen_US
dc.subject.keywordElderly peopleen_US
dc.subject.keywordฌาปนกิจสงเคราะห์en_US
dc.subject.keywordบริการฌาปนกิจสงเคราะห์en_US
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติฌาปนกิจสงเคราะห์en_US
dc.subject.keywordสวัสดิการผู้สูงอายุen_US
dc.subject.keywordบริการสำหรับผู้สูงอายุen_US
.custom.citationปิยะฉัตร ชื่นตระกูล and Piyachat Choenthrakul. "การประเมินบริการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1252">http://hdl.handle.net/11228/1252</a>.
.custom.total_download146
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0765.pdf
ขนาด: 428.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย