dc.contributor.author | จเด็จ ธรรมธัชอารี | en_US |
dc.contributor.author | Jadej Thammatacharee | en_US |
dc.contributor.author | แพร จิตตินันทน์ | en_US |
dc.contributor.author | มยุรี ธนะทิพานนท์ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:25Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:43:52Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:25Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:43:52Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0806 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1270 | en_US |
dc.description.abstract | การปรับเปลี่ยนโรงพยาบาลบ้านแพ้วให้เป็นองค์การมหาชน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีพัฒนาการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงพยาบาลในอดีต จนมาถึงการปรับเปลี่ยนองค์กร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีกระบวนการศึกษา ด้วยการทบทวนวรรณกรรม ออกแบบสอบถามแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ สัมภาษณ์กลุ่มต่างๆ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ถึงปฏิสัมพันธ์ของบุคคลและเงื่อนไขเชิงระบบ และแสดงบทเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการออกนอกระบบของโรงพยาบาลบ้านแพ้วมีความล่าช้ากว่ากำหนดและมีขั้นตอนที่สำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงการปรับเปลี่ยนนั้น เมื่อพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นมีประเด็นที่น่าสนใจหกประเด็น ได้แก่ การลดความซ้ำซ้อนในการบริหาร การออกพระราชกฤษฎีกาทำให้ความซ้ำซ้อนในทางโครงสร้าง การจัดซื้อจัดจ้างลดลง และทำให้เกิดนวัตกรรมในการทำงานใหม่ๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อนได้ เช่น การให้เอกชนเข้าร่วมในการจ่ายยา การกระจายทรัพยากร ในเรื่องของบุคลากรมีการปรับสัดส่วนของบุคลากรต่างๆ มีทั้งส่วนที่ลดลงและเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มจำนวนบุคลากรในแผนกบัญชีและประชาสัมพันธ์ ลดคนครัวและคนงานบางประเภท ทางด้านงบประมาณมีการจ่ายเป็นรายหัวประชากรโดยได้รับหัวละ 782 บาท ไม่รวมข้าราชการและประกันสังคมในพื้นที่และโรงพยาบาลมีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณให้กับสถานีอนามัย การเพิ่มประสิทธิภาพโรงพยาบาลบ้านแพ้วมีอิสระในการบริหารบุคคลทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดบุคลากรและการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เมื่อพิจารณาผลทางด้านการเงินพบว่าจากเดิมก่อนออกนอกระบบโรงพยาบาลบ้านแพ้วซึ่งอยู่ในภาวะการเงินที่มีหนี้สินมากกว่าเงินบำรุงกลับทำกำไรจากการดำเนินงานในรอบ 4 เดือน ถึง 6.4 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารายละเอียดจะพบว่ามีรายรับบางส่วนที่เป็นส่วนที่เกิดเฉพาะกรณี เช่น การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวในรอบ 4 เดือน โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีรายได้จากการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวถึง 6.7 ล้านบาท ความรับผิดชอบ โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีภาระที่มีต่อประชาชนมีความชัดเจนในการให้บริการและการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล สร้างความรับรู้ของชุมชนมากขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคทำให้เกิดกระแสการตรวจสอบมากขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริหารเนื่องจากหลังออกนอกระบบของโรงพยาบาลบ้านแพ้วคณะกรรมการบริหารเป็นคณะกรรมการชั่วคราวและการประชุมประมาณเดือนละ 1 ครั้งทำให้การตรวจสอบยังไม่ชัดเจนนัก ในส่วนของหน่วยงานอื่นที่มีผลต่อโรงพยาบาลพบว่าในช่วงต้นก่อนการออกนอกระบบทุกอย่างเป็นไปอย่างล่าช้า แต่เมื่อมีนโยบายรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคทำให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วได้รับการกล่าวขานถึงอย่างมาก การเมือง ในระดับประเทศก่อนออกนอกระบบพบว่ามีทั้งผู้เห็นด้วยและคัดค้านมีผลทำให้เกิดความล่าช้าในการออกนอกระบบ แต่ก็สามารถออกเป็นโรงพยาบาลอิสระในกำกับของรัฐได้ด้วยการผลักดันของหน่วยงานอื่นๆ หลายหน่วย ในส่วนของระดับพื้นที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างมากจนทำให้เกิดการประท้วงของชาวบ้านก่อนการออกนอกระบบ และมีผลทำให้เกิดความปั่นป่วนในโรงพยาบาลอย่างมาก แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ พบว่านโยบายของรัฐบาลค่อนข้างสนับสนุนการออกนอกระบบของโรงพยาบาลบ้านแพ้วทำให้ความร่วมมือในทุกระดับเกิดความชัดเจนขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าก่อนการออกนอกระบบของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้มีการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารโรงพยาบาลในรูปของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลภาคเอกชน และมีการทำงานร่วมกับกลุ่มโรตารีอย่างดี หลังการออกนอกระบบของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว 4 เดือนยังไม่สามารถตั้งคณะกรรมการบริหารในส่วนของชุมชนได้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการสรรหาอยู่ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้มีปัญหาในช่วงแรกเนื่องจากความไม่แน่นอนของการปรับเปลี่ยน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลมีความชัดเจนขึ้นทำให้ประชาชนมีการรับรู้มากขึ้น การติดตามผลของการปรับองค์กรของโรงพยาบาลบ้านแพ้วยังต้องการการศึกษาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบอีกเพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าการปรับองค์กรของโรงพยาบาลบ้านแพ้วเพื่อให้เป็นองค์การมหาชนนั้นมีส่วนทำให้เกิดผลดีต่อองค์กร ต่อนโยบาย และต่อระบบสุขภาพโดยรวมอย่างไร | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 5127511 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Hospital Administration | en_US |
dc.subject | Autonomous Hospitals | en_US |
dc.subject | การบริหารโรงพยาบาล | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | กระบวนการออกจากระบบราชการขององค์การมหาชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านแพ้ว | en_US |
dc.title.alternative | Autonomize process of Banphaew hospital | en_US |
dc.description.abstractalternative | Autonomize Process of Banphaew Hospital The autonomization process of Banphaew hospital is a long continuous evolution process. Initiated by community participated in hospital administration in the past to organization reform recently. The objective of this study is to observe and analyze the interaction between each stakeholders with system transformation process. The data was obtained by literature review, questionnaire, focus group interview and in depth interview. The study revealed that there was the delay of the autonomization process and there are many important episode occurred between the process. Six issues were taken into consideration in the following aspects:Decrease administration complexity new national gazette that would establish new organization structure that is more efficient. The inventory process is to be kept easy and the organization can initiate new innovative according to the need of the population. Ex: the join venture with pharmaceutical company to manage the drug procurement and delivery process, the join venture with Banphaew municipal to construct public swimming pool.Improve resource allocation As an autonomous hospital, Banphaew hospital has freedom to manage its own human resource according to need. There was a sharply increase in accountants, public relation. There was a sharply decrease in cook, and low skill labors. The hospital is financed with capitation budget 782 baht per registered person. This excludes civil servant and people who are in social security scheme. The hospital is the main contractor of the budget; therefor the hospital allocates the budget to health centers.Increase effectiveness and efficiency As an autonomous hospital, Banphaew has freedom to design the remuneration processes that relates with performance. This maximizes organization effectiveness. Before being autonomous, the hospital was in depth, compared to after being autonomous which the profit from four month operation was around 4 to 6.4 million baht. However, after investigation we found that there was some revenue from special ex-province project; such as physical examination of the immigrant, which brought 6.7 million baht to the hospital.Increase accountability the autonomization process included the commitment to service with continuous quality improvement. The public acknowledgement about the new autonomous hospital commitment was due to universal coverage policy of the government that emphasizes the evaluation process. Because of the delay of the whole process, the executive board accountability cannot be evaluated as intended. The accountability that the other supported government agency should commit to the autonomization process of Banphaew was related to political agenda.Political compliance before the gazette was approved there was a split between the pro and the con, which create the day of the whole process. However, the hospital was autonomized by the support from several public agencies. At district level, there formed controversial groups and there was a demonstration at district level due to autonomous process. The chaos period within the hospital during the transformation was also related to the ex-hospital controversial. However, after the 6th of January election, the government that was led by Tasking Chinawatra announced health policy that highly supported autonomous hospital and the other stakeholder pay more attention as well as being more supportive to Banphaew hospital.Increase community participation Banphaew community was participated a hospital administration board even before autonomization process and there was a good relation between the hospital and the Rotarian. Four months after autonomization, the executive board from community is still under searching and appointing process. The uncertainty of the other stakeholder prohibited Banphaew hospital from running the public campaign about the change. The change of the government to government that won landslide vote by universal health coverage campaign created public health concern in the country, which was the best propaganda for Banphaew hospital.The autonomization process Banphaew hospital should be investigate more to follow the change systematically to answer the question whether the change to autonomous hospital was really good for the organization, policy, and the health of the whole population. | en_US |
dc.identifier.callno | WX150 จ131ก 2544 | en_US |
dc.identifier.contactno | 43ค020 | en_US |
dc.subject.keyword | Banphaen Hospital | en_US |
dc.subject.keyword | องค์การมหาชน | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลบ้านแพ้ว | en_US |
dc.subject.keyword | การมีส่วนร่วมของชุมชน | en_US |
.custom.citation | จเด็จ ธรรมธัชอารี, Jadej Thammatacharee, แพร จิตตินันทน์ and มยุรี ธนะทิพานนท์. "กระบวนการออกจากระบบราชการขององค์การมหาชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านแพ้ว." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1270">http://hdl.handle.net/11228/1270</a>. | |
.custom.total_download | 151 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 14 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |