แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษทางน้ำ : กรณีศึกษาแม่น้ำนครนายก

dc.contributor.authorยรรยงค์ อินทร์ม่วงth_TH
dc.contributor.authorYanyong Intramuangen_US
dc.contributor.authorนาวิน โสภาภูมิth_TH
dc.contributor.authorสุภาวดี บุญเจือth_TH
dc.contributor.authorสมพร อุดมวินิจศิลป์th_TH
dc.contributor.authorสรัญญา โพธิ์ทองth_TH
dc.contributor.authorNawin Sopapumen_US
dc.contributor.authorSupawadee Bunchueaen_US
dc.contributor.authorSomporns Udomwinisinen_US
dc.contributor.authorSarunya Pothongen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:32Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:39:56Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:32Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:39:56Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1053en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1284en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานวิจัยเรื่องการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษทางน้ำ: กรณีศึกษาแม่น้ำนครนายกth_TH
dc.description.abstractชุมชนเกษตรกรรมลุ่มน้ำย่อยนครนายกใช้แม่น้ำนครนายกเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเพาะปลูก นาข้าว พืชสวน และบ่อกุ้ง บ่อปลา น้ำที่ผันเข้าสู่เรือกสวนไร่นาและครัวเรือนเหล่านั้นถูกจัดสรรและกระจายน้ำผ่านคูคลองชลประทาน ซึ่งมีประตูเปิดปิดกั้นการไหลถ่ายเทน้ำระหว่างโครงข่ายลำคลองสาขาต่างๆ น้ำเสียจากชุมชนเมืองนครนายก น้ำทิ้งจากกองขยะ น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้ระบายทิ้งลงสู่ลำคลองชลประทานเหล่านั้น ก่อให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียหมักหมมทับถมตกค้างโดยเฉพาะบริเวณท้องน้ำลำคลองในที่ลุ่มโดยเฉพาะบริเวณช่วงแม่น้ำที่ไหลผ่านเขตอำเภอบ้านนาและอำเภอใกล้เคียง การเน่าเสียแม่น้ำนครนายกเริ่มทวีความรุนแรงตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา และชุมชนอำเภอบ้านนาได้ร้องเรียนส่วนราชการให้แสวงหาแนวทางแก้ไข แต่ส่วนราชการระดับจังหวัดมีศักยภาพจำกัด ปัญหาความเดือดร้อนที่ชาวบ้านร้องเรียนมากคืออาการและโรคผิวหนังเนื่องจากการสัมผัสน้ำ น้ำในแม่น้ำไม่สามารถอุปโภคและบริโภคได้ ชาวบ้านระบุสาเหตุเกิดจากภาวะ “น้ำเขียว” ชุมชนได้ร้องขอให้นักวิชาการแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบประเมินผลกระทบทางสุขภาพเข้าไปศึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหา คณะนักวิจัยได้ทดลองและออกแบบวิจัยเป็น Planned participatory action research โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนในทุกกระบวนการวิจัย โดยดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2546 กรอบคิดวิจัยประกอบด้วย การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชนโดยการค้นหาปัญหา วิเคราะห์สาเหตุปัญหา และแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ โดยมีขั้นตอนวิจัยโดยสรุปตามลำดับ ดังนี้ (1) การร่วมกันค้นหาขนาดและขอบเขตผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นโดยวิเคราะห์อุบัติการณ์โรคเปรียบเทียบเชิงพื้นที่และเวลาโดยใช้ฐานข้อมูลสถานบริการสาธารณสุข (2) คัดเลือกพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์โรคสูงใช้ Focus group และ In-depth interview ค้นหารายละเอียดข้อมูลเหตุปัจจัยผลกระทบต่อสุขภาพองค์รวมทั้งระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชน (3) จัดกระบวนการเรียนรู้ภาคสนามแก่ประชาชนในการวิเคราะห์ตัวแปรสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนความรุนแรงภาวะมลพิษแม่น้ำนครนายกและสืบค้นแหล่งกำเนิดมลพิษ (4) ใช้เทคนิคการสร้างแผนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงเหตุปัจจัยมลพิษสิ่งแวดล้อมและผลกระทบสุขภาพทั้งในมิติเชิงเวลาและสถานที่ (5) จัดประชุมผู้แทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องรายงานผลกระทบต่อสุขภาพขั้นต้นและปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และ (6) จัดประชุมผู้มีส่วนได้เสีย ผู้กำหนดนโยบายระดับจังหวัด โดยให้ประชาชนนำเสนอข้อมูลสรุปผลกระทบทางสุขภาพและแนวทางแก้ปัญหาต่อที่ประชุม และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียและผู้กำหนดนโยบายร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันหาข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหา และท้ายสุดให้ที่ประชุมรับเป็นมติผลักดันเป็นนโยบายระดับจังหวัดในการแก้ไขปัญหามลพิษแม่น้ำนครนายกต่อไป ผลกระทบจากโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ จังหวัดนครนายกได้ดำเนินการปรับแผนสิ่งแวดล้อมจังหวัดใหม่โดยเน้นการแก้ปัญหามลพิษจากแม่น้ำนครนายกเป็นลำดับแรก มีการปรับกิจกรรมจากเดิมให้สอดคล้องกับข้อเสนอจากที่ประชุมของภาคประชาชน กำหนดให้เทศบาลเมือง แหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมชลประทาน และองค์การบริหารส่วนตำบล ดำเนินการเสนอแผนแก้ปัญหาต่อจังหวัด ผลจากการวิจัยกรณีนี้ชี้ให้เห็นว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพจากฐานล่างได้ ซึ่งการวิจัยนี้ใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเป็นกลไกหลักในการผลักดัน และผลวิจัยนี้ยังสะท้อนภาพเชิงโครงสร้างองค์กรในสังคม ที่ชี้ให้เห็นชุมชนต้องการหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่สนับสนุนการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่พัฒนาการแก้ปัญหาจากระดับฐานล่างth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3151436 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectEnvironmental Illnessen_US
dc.subjectEnvironmental Pollutionen_US
dc.subjectWater Pollutionen_US
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพบริการen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยชุมชนen_US
dc.subjectมลพิษทางน้ำen_US
dc.subjectแหล่งน้ำen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษทางน้ำ : กรณีศึกษาแม่น้ำนครนายกth_TH
dc.title.alternativeBuilding community learning process on health impact assessment from water pollution : A case study of Nakornnayok river Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeLocal farmers who living within Nakornnayok sub-watershed daily used river waters for their household consumption, irrigations rice paddock, horticulture and aquaculture. Those waters were abstracted and supplied through interconnected irrigation canals while the water flows controlled by many mechanical gates. Wastewater discharged from cities, landfills, factories and others all flowed into those irrigated canals where accumulated much pollution and therefore often occurred at the riverbed downstream especially at Ban Na district and its surrounding neighbors. Such pollution became intense since 1997 onwards, while the locals requested a helping hand from the provincial but such authority seemed rather had a limited capacity to deal with that problem. The locals hence still widely faced critical health hazards, particularly with skin diseases when contacted with those polluted waters, while moreover the river waters could not be longer used for daily consumption. The “perish green water” was commonly the so-called by many locals as the major cause of that detrimental health hazards. The locals eventually requested the Health Systems Research Institute researchers to explore any opportunities to alleviate such that problem. The research team agreed to apply the planned participatory action research type introducing to this case, while encouraged the locals to actively participate at every step of research implementation activities. The study was conducted during January-June 2003. The research framework was then logically organized focusing on building local learning process to exploring existing problems, rationalizing cause and effects of the problem encountered and eventually collectively finding the resolution measures. The research activities eventually chronologically outlined were (1) exploring the scope of health impacts temporally and spatially using local health database, (2) selecting the highest health hazard prevalence within communities using focus group and in-depth interview techniques as to fine tune the impacts at individuals, family and community levels, (3) building local capacities on examination techniques on water pollution testing and its origin exploration, (4) using a mapping technique to associate water pollution occurrence and health impacts emerged, (5) organizing a local meeting to verify a study reported on fact findings, and (6) hosting the stakeholders meeting aimed to deliver the study results, and let the local representatives presented and proposed the mitigation measures, as expected to achieve a consensus agreement locally proposed to the provincial authorities to further develop policy and plan for pollution abatement. This action research result eventually led to positive policy changed impact while the Nakornnayok provincial authority admitted to revise its environmental plan while much focused on resolving water pollution at the first priority. The former activities listed in the environmental plan therefore has been changed and redirected in response to the local needs. Further, the provincial also requested the municipalities, factories, irrigation authorities and sub-district administrations to revise their environmental related plan, and resubmitted to the provincial board. The overall study result implied that the health impact assessment used by this study could be acted as a tool to further create local healthy public policy. The learning process introduced by this study also proved to be an critical driving force, however such condition the locals still needed any organizations to helps them to develop success healthy public policy which originated from the grassroots.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ย143ก 2546en_US
dc.identifier.contactno46ค005en_US
dc.subject.keywordHealth Impact Assessmenten_US
dc.subject.keywordNakornnayok Riveren_US
dc.subject.keywordCommunity-based Pollution Monitoringen_US
dc.subject.keywordEnvironmental Health Impacten_US
.custom.citationยรรยงค์ อินทร์ม่วง, Yanyong Intramuang, นาวิน โสภาภูมิ, สุภาวดี บุญเจือ, สมพร อุดมวินิจศิลป์, สรัญญา โพธิ์ทอง, Nawin Sopapum, Supawadee Bunchuea, Somporns Udomwinisin and Sarunya Pothong. "การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษทางน้ำ : กรณีศึกษาแม่น้ำนครนายก." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1284">http://hdl.handle.net/11228/1284</a>.
.custom.total_download185
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1053.pdf
ขนาด: 2.197Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย