dc.contributor.author | สุรเกียรติ อาชานานุภาพ | en_US |
dc.contributor.author | Surakiat Achananupap | en_US |
dc.contributor.author | เนตรนภา ขุมทอง | en_US |
dc.contributor.author | สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย | en_US |
dc.contributor.author | ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:33Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:41:49Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:33Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:41:49Z | |
dc.date.issued | 2542 | en_US |
dc.identifier.other | hs0539 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1286 | en_US |
dc.description.abstract | การประเมินและพัฒนาคุณภาพบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การวิจัยนี้ได้ดำเนินการในรูปแบบ action research ในเขตอำเภอโคกสำโรง (จ.ลพบุรี) และอำเภออุทัย (จ.พระนครศรีอยุธยา) โดยในช่วงแรกมีการประเมินสถานการณ์ พบว่า ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงของประชากร อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปในพื้นทีสำรวจ 4 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 14.1-24.6 (เฉลี่ย 19.7) สัดส่วนของผู้ที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน คิดเป็นร้อยละ 59.8-78.5 (เฉลี่ย 64.1) ของผู้ที่สำรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูงทั้งหมด, สัดส่วนของผู้ที่ไปพบผู้รักษาตามนัดทุกครั้ง (ในรอบ 3 เดือนก่อนทำการสำรวจ) คิดเป็นร้อยละ 37.3-48.5 (เฉลี่ย 41.4) ของผู้ที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, สัดส่วนของผู้ที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ <140/90 มม.ปรอท คิดเป็นร้อยละ 29.2-46.0 (เฉลี่ย 39.9) ของผู้ที่พบผู้รักษาตามนัดทุกครั้ง ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน ได้รับความรู้จากแพทย์ ร้อยละ 78.8 เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ร้อยละ 16.7 และพยาบาล ร้อยละ 8.8 ในหัวข้อเกี่ยวกับการปฏิบัติตน ร้อยละ 51.8, อาการและสาเหตุ ร้อยละ 27.3 และภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 24.1 แต่ผู้ป่วยส่วนมากยังขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีดัชนีมวลกาย > 25 กก./ม2 ถึงร้อยละ 48.4, มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ร้อยละ 23.3 ดื่มเหล้า ร้อยละ 30.4 และเมื่อมีความเครียด จะไม่ทำอะไร ถึงร้อยละ 54.7-61.7 ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงครั้งแรกที่สถานพยาบาลของรัฐ ร้อยละ 53.4-70.0 (เฉลี่ย 62.6), ร้อยละ 22.4-37.3 (เฉลี่ย 30.0) ตรวจพบที่คลินิกเอกชน อาการที่ไปตรวจคือ ปวดศีรษะ ร้อยละ 49.5-65.9 (เฉลี่ย 58.4) ไปตรวจด้วยโรคอื่น ร้อยละ 14.0-28.4 (เฉลี่ย 23.5), ตรวจพบขณะไปตรวจร่างกายประจำปี ร้อยละ 1.6-6.0 (เฉลี่ย 3.9) มีการปรับพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหาร ร้อยละ 27.1-48.0, และการออกกำลังกาย ร้อยละ 10.8-24.0 (เฉลี่ย 15.3) จากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการปรับเพิ่มหรือลดยาตามใจชอบ และผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันได้ดีมักเป็นผู้ที่มีความสามารถในการควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารเค็มและสามารถหาวิธีจัดการกับความเครียด ระยะต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนระบบบริการโดยมีการกำหนดคู่มือแนวทางมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย การพัฒนาระบบข้อมูล ระบบการให้สุขศึกษา ระบบการนัดและติดตามผู้ป่วยและระบบการส่งต่อผู้ป่วย 6 เดือนต่อมาได้มีการประเมินผลพบว่าสัดส่วนของผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดทุกครั้ง (ในรอบ 6 เดือน) ที่โรงพยาบาลโครกสำโรง โรงพยาบาลอุทัย และสถานีอนามัยโพสาวหาญ คิดเป็นร้อยละ 70.4, 45.0 และ 56.3 ตามลำดับ, สัดส่วนของผู้ที่มีค่าความดัน <140/90 มม.ปรอท ที่วัดทุกครั้งของผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 12.3, 16.7 และ 0.0 ตามลำดับ และสัดส่วนของผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย <25 กก./ม2 ที่วัดทุกครั้งของผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 43.9, 44.4 และ 44.4 ตามลำดับ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 4584402 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การพัฒนาคุณภาพบริการ | en_US |
dc.title | การประเมินและพัฒนาคุณภาพบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูง | en_US |
dc.title.alternative | Asessing and improving the quality of care of hypertensive patients | en_US |
dc.description.abstractalternative | Assessing and Improving the Quality of Care of Hypertensive Patients Action research methodology was applied in this project which was carried out at Khoaksamroanng District (Lopburi Province) and Uthai District (Ayutthaya Province). At first, community survey was carried out at the two districts (2 subdistricts for each). It was found that the prevalence of hypertension among population aged 40 and above were 14.1%-24.6% (averagely 19.7%), and 59.8-78.5 (averagely 64.1%) of them had the history of hypertension before the survey. Among those knownn cases, 37.3%-48.5% (averagely 41.4%) had regular visits to health services during the last 3 months; and among those who had regular visits, 29.2%-46.0% (averagely 39.9%) had blood pressure below 140/90 mmHg. Among those knownn cases, 78.8% got the information about hypertension from physicians, 16.7% from health center personnels, and 8.8% from nurses. 51.8% of them got the information related to selfcare behaviors, 27.3% related to etiology and symptoms, and 24.1% related to complications. However, most of them actually have not much knownledge of the disease. 48.4% of those knownn cases had > 25 Kg/M2 . 23.3% of them smoked and 30.4% of them drank alcohol. And 54.7-61.7% of them would do nothing when they had stress. 53.4%-70.0% (averagely 62.6%) of them were first diagnosed the disease at the governmental health services, and 22.4%-37.3% (averagely 30.0%) were diagnosed at private clinics. For the first diagnosis, 49.5%-65.9% (averagely 58.4%) of them had the presenting symptom of headache; 14.0%-28.4% (averagely 23.5%) were diagnosed when they went to see doctors with other diseases; and only 1.6%-6.0% (averagely 3.9%) were detected during health checkup. 27.1%-48.0% of the patients had modification in their dietary and 10.8%-24.0% (averagely 15.3%) in physical exercise. The qualitative study found that most of the patients adjusted the dosage of antihypertensive drugs by themselves, according to their own perception. And those who could control the blood pressure were always due to the capability in weight control, salt restriction and stress management. After the situation analysis, the health services at both districts had been improved by developing standard practice guideline, information system, health education system, appointment and follow-up system, and referral system. The evaluation, after 6 month of implementation, found that 70.4%, 45.0% and 56.3% of the hypertensive patients who attended the service at Khoaksamroang Hospital, Uthai Hospital and Pho-sao-harn Health Center (Uthai District) respectively had the regular visits during these 6 months. And among those who had regular visits, 12.3%, 16.7% and 0.0 respectively had blood pressure <140/90 mmHg at every visit; and 43.9%, 44.4% and 44.4% respectively had BMI <25 Kg/M2 at every visit. | en_US |
dc.identifier.callno | WG340 ส845ก 2542 | en_US |
dc.subject.keyword | Hypertension | en_US |
dc.subject.keyword | Quality of care | en_US |
dc.subject.keyword | Hypertensive Patients | en_US |
dc.subject.keyword | คุณภาพบริการ | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject.keyword | ความดันโลหิตสูง | en_US |
.custom.citation | สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, Surakiat Achananupap, เนตรนภา ขุมทอง, สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย and ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา. "การประเมินและพัฒนาคุณภาพบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูง." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1286">http://hdl.handle.net/11228/1286</a>. | |
.custom.total_download | 268 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |