วิเคราะห์องค์กรส่งเสริมสุขภาพดีเด่น : บทเรียนเพื่อการพัฒนา
dc.contributor.author | ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | Prasit Leerapan | en_US |
dc.contributor.author | เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ | en_US |
dc.contributor.author | ลักขณา เติมศิริกุลชัย | en_US |
dc.contributor.author | ทวีวรรณ ลีระพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | ภรณี วัฒนสมบูรณ์ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:45Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:45:37Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:45Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:45:37Z | |
dc.date.issued | 2541 | en_US |
dc.identifier.other | hs0357 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1316 | en_US |
dc.description.abstract | วิเคราะห์องค์กรส่งเสริมสุขภาพดีเด่น: บทเรียนเพื่อการพัฒนา การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายกระบวนการดำเนินงานและผลงานขององค์กรส่งเสริมสุขภาพที่มีผลงานดีเด่น ตลอดจนอธิบายปัจจัยหรือเงื่อนไขเชิงระบบที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ พร้อมทั้งเสนอแนะเชิงนโยบาย ระบบการบริหารจัดการ กลไกหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาองค์กรส่งเสริมสุขภาพทั่วๆไป โดยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาองค์กรส่งเสริมสุขภาพที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 4 แห่ง และเลือกศึกษาเฉพาะองค์กรที่เป็นตัวแทนภาครัฐ (ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 1) ภาคธุรกิจเอกชน (บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด) ภาคเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร (โรงพยาบาล มิชชั่น) และองค์กรประชาชน (ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย) ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการสัมภาษณ์ลึกผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของแต่ละองค์กร นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานต่างๆ และแบบสอบถามจากประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการของแต่ละองค์กรด้วย ผลการศึกษามีประเด็นสำคัญดังนี้1. สรุปลักษณะสำคัญของกรณีศึกษาองค์กรส่งเสริมสุขภาพ 4 แห่ง 1.1 โรงพยาบาลมิชชั่น (โรงพยาบาลเอกชน) จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพหลายโครงการแก่ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเสียค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาและจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ มีความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้าง บุคลากร รูปแบบ เน้น “การให้บริการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มทักษะชีวิตแบบองค์รวม (Holistic Approach) และการฝึกปฏิบัติได้จริง (Practical Model)” ภายใต้หลักสูตร “NEWSTART” (nutrition-exercise-water-temperance-air-rest-trust) ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดียิ่ง 1.2 ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 1 (หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข) เป็นองค์กรภาครัฐรับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนา วิจัย ศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจนมีนโยบายและกลยุทธ์การบริหารจัดการและวิชาการ สร้างเสริมการใช้ศักยภาพบุคลากรอย่างเต็มที่ และ “เน้นการส่งเสริมสุขภาพเริ่มต้นที่เจ้าหน้าที่ก่อน” มีโครงการวิจัยเด่นระดับแนวหน้า เช่น โครงการลามาซ คลินิคดุลยภาพ ตุ๊กตาสื่อรักฟัน 1.3 บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (ธุรกิจเอกชน) เน้นนโยบายสุขภาพพนักงานเป็นนโยบายสำคัญ เริ่มต้นจาก “โครงการลีเวอร์ปลอดบุหรี่” ใช้แนวร่วมผู้ไม่สูบบุหรี่เป็นแรงผลักดันสำคัญ พัฒนาไปสู่กิจกรรม/เงื่อนไขในการส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ อาทิ การรับพนักงานใหม่ที่สุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่อ้วน และสืบต่อถึงโครงการ 6อ. (อาหาร-ออกกำลังกาย-อารมรณ์ดี-อั้นเหล้า-เอดส์-อุบัติเหตุ) 1.4 ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (กลุ่มประชาชน) เป็นตัวอย่าง “พลังการรวมตัวเข้มแข็งของประชาชน” ด้วยความสมัครใจและมีใจรักในการขี่จักรยานท่องเที่ยว พัฒนาสู่การมีสุขภาพดี และทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ได้อย่างสม่ำเสมอ2. ข้อคิดและบทเรียนสำคัญจากกรณีศึกษาองค์กรส่งเสริมสุขภาพ 4 แห่ง 2.1 ความหลากหลายของการส่งเสริมสุขภาพในองค์กรต่างๆ แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมสุขภาพเป็นวิถีชีวิตของทุกคน สามารถขยายขอบเขตและพัฒนาได้ และอาจส่งเสริมให้เกิดขึ้นในองค์กรหรือกลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพก็ได้ 2.2 องค์กรส่งเสริมสุขภาพต่างก็ดำเนินงานโดยอิสระ ภายใต้เงื่อนไขความพร้อมขององค์กรที่แตกต่างกัน ทำให้ขาดพลังในการพัฒนาอย่างเป็นระบบหรือองค์รวมและเกิดผลสำเร็จในวงกว้าง จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางประสานเชื่อมโยงภาคีต่างๆ เชิงนโยบาย กลยุทธ์ งบประมาณ การศึกษาวิจัย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ 2.3 นโยบายส่งเสริมสุขภาพขององค์กรเป็นสิ่งจำเป็นในการกำหนดทิศทางและสร้างเงื่อนไขให้ทำงานได้ ต้องอาศัยผู้นำในการบริหารจัดการ และนโยบายสาธารณะของรัฐเป็นแรงเสริมช่วยผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จ 2.4 องค์กรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพสามารถดำเนินการและเป็นองค์กรนำเรื่องการส่งเสริมสุขภาพได้ ทั้งองค์กรโรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพของภาครัฐและภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชมรม หรือองค์กรเฉพาะกิจต่างๆ อย่างไรก็ตาม องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐในการพัฒนาการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพองค์กรของตนเอง และการร่วมมือประสานงานในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร และเทคโนโลยีการส่งเสริมสุขภาพที่มีอยู่ของแต่ละองค์กรได้ 2.5 กลยุทธ์ส่งเสริมสุขภาพมีความหลากหลายใช้เป็นบทเรียนขององค์กรส่งเสริมสุขภาพอื่นได้ เช่น การเสริมสร้างทักษะชีวิตส่วนบุคคล การฝึกปฏิบัติให้ทำได้จริง การปลูกฝังวิถีชีวิตส่งเสริมสุขภาพให้กับกลุ่มเจ้าหน้าที่ก่อนเพื่อเป็นแบบอย่าง ปรับปรุงสภาพแวดล้อม การสร้างกลุ่มแนวร่วมที่สนใจและมุ่งมั่นในเรื่องเดียวกัน 2.6 ต้องสร้างแรงจูงใจให้รางวัลบุคคลหรือองค์กรที่ประสบผลสำเร็จและเป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ให้รางวัล (health bonus) พนักงานที่สุขภาพดี มาตรการลดภาษีหน่วยงานที่ส่งเสริมสุขภาพ ลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับผู้ที่ไม่เคยเจ็บป่วย เป็นต้น 2.7 รัฐต้องมีนโยบาย กลยุทธ์ที่ชัดเจนที่ทำให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระแสสังคม ให้ประชาชนตระหนักเรื่องสุขภาพดีทั้งในครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน ชุมชน โดยสื่อข่าวสารผ่านสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับกลุ่มและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1982746 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Promotion | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | องค์กรส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.title | วิเคราะห์องค์กรส่งเสริมสุขภาพดีเด่น : บทเรียนเพื่อการพัฒนา | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of outstanding health promotion organizations: lessons of future development | en_US |
dc.description.abstractalternative | Analysis of Outstanding Health Promotion Organizations: Lessons of Future Development This study aims to describe to process and success of various outstanding health promotion organizations include describe their factors and conditions of success as well as recommend for policy and management, and infrastructure for other health promotion organizations to develop their health promotion programs. The study was conducted through quality research strategies in 4 outstanding health promotion organizations which represent for governmental organization (Health Promotion Centre, Zone1 Bangkhen, Bangkok), private sector (The Unilever Thai Holdings Co. Ltd.), non-government organization (Mission Hospital), and civic group (The Association of Thai Bicycle for health). Most data gathered from interview the organizations’ managers and their staff, and collected from reports and questionnaired the programs participants. The results of this study were found that;1. Major Characteristics of the 4 case studies: 1.1 Mission Hospital (Private hospital) handles many health promotion activities for their service by the participants have to pay for those services. The hospital has a clear policy to develop and service for health promotion programs. The hospital has readiness for infrastructures, personnel, models which emphasize on holistic approach and practical model under the “NEWSTART” (nutrition-exercise-water-temperance-air-rest-trust) course that has been proved for its success. 1.2 Health Promotion Centre, Zone1 (The Ministry of Public Health) is a governmental organization that respond for research and development of health promotion models. The centre itself has a clear policy and good management strategies and techniques to enhance their staff capacities and emphasize their staff’s health promotion at first. The outstanding research projects of this centre are; LAMAZ, Thai Traditional Exercise for physical therapy Clinic, and Dental Health Model for children. 1.3 The Unilever Thai Holdings Co. Ltd. (Private Sector) emphasize on workers’ health as main policy. Their health promotion program started at “Lever Smoking Free Program”. This program used civic group of non-smokers as major factors to enforce and develop other health promotion activities eg. Selection of new good-health workers who are non-smokers, non-fat personnel, including other six health promotion programs (foods-exercise-emotion-drinks-AIDS-accident). 1.4 Thai Bicycle Organization for Health (Civic group) is a civic health promotion organization which all participants are willing to participate to all activities that have been set up, which then develop to good health and other beneficial public activities.2. Lessons and Idea from the case studies 2.1 Variety of health promotion activities in different organizations indicates that health promotion belongs to every persons’ life-style and it can be developed and applied to other organization or non-target community. 2.2 These organizations are all freely managed by themselves under difference of their success conditions and readiness which hindrance their systematic development or the holistic development and their broad success. This needed to have a co-ordination organization to make network between each parties in term of policy, strategies, budget, research and development, and exchange of their knowledge and experiences. 2.3 Health promotion policy of an organization is an essential factor for its direction and condition of success. This needs a keen leadership for management and governmental public policy to support the success. 2.4 All these outstanding organizations can be leading organizations for health promotion, however, all these organization still need concrete support from govenmental sector to develop their activities and co-ordination to exchange their technology and other existing resources of thealth promotion development. 2.5 Variety of their health promotion strategies can be applied to other organizations such as development of personal life-skill, practical model, emphasis of the staff health promotion skill as a model, create supportive environment, and making partnership on the same issues etc. 2.6 These should be motivation for the success of any person and organization such as rewards, health bonus for a good health worker, tax-decreasion for such organization, decreasion of health insurance premium etc. 2.7 Governmental sector must have a clear policy and strategies to enforce health promotion issues as social movement to make population concern of good family health, school health, healthy work place, healthy society through mass media systematically. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540 ป171ว 2541 | en_US |
.custom.citation | ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, Prasit Leerapan, เพ็ญประภา ศิวิโรจน์, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ทวีวรรณ ลีระพันธ์ and ภรณี วัฒนสมบูรณ์. "วิเคราะห์องค์กรส่งเสริมสุขภาพดีเด่น : บทเรียนเพื่อการพัฒนา." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1316">http://hdl.handle.net/11228/1316</a>. | |
.custom.total_download | 93 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย