Show simple item record

Alternative Health

dc.contributor.authorยงศักดิ์ ตันติปิฎกen_US
dc.contributor.authorYongsak Tantipidoken_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:47Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:45:45Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:47Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:45:45Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0780en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1319en_US
dc.description.abstractการสังเคราะห์องค์ความรู้สู่การปฏิรูประบบสุขภาพ การพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือกในระบบสุขภาพไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์รวมทั้งทางเลือกจากการทำงานของระบบสุขภาพทางเลือกในประเทศไทย ศึกษาทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาบทบาทของระบบสุขภาพทางเลือกในระบบสุขภาพ สังเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ สังเคราะห์ข้อเสนอสาระบัญญัติที่ควรกำหนดในร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือก ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือก ควรพัฒนาและผสมผสานระบบสุขภาพและระบบการแพทย์ที่มีความหลากหลายให้นำไปสู่เป้าหมาย “สุขภาพวิถีไทย” ซึ่งเป็นสุขภาพองค์รวมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย พึ่งตนเองได้ มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ประหยัด มีความเท่าเทียม โดยอาศัยการสร้างความรู้ การขับเคลื่อนของประชาคมสุขภาพ ในการสร้างกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และการเชื่อมต่อกับทางการเมือง รวมทั้งพัฒนาระบบการแพทย์ทางเลือกบนพื้นฐานที่เป็นระบบบริการซึ่งเป็นอิสระจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ในการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือก ควรกำหนดให้มี 1. คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือก อยู่ภายใต้สภาการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทาง โครงสร้าง แผนงาน และทรัพยากร 2. สถาบันสุขภาพทางเลือก เป็นหน่วยงานซึ่งเป็นองค์กรอิสระทำงานด้านวิชาการและสนับสนุนเครือข่ายประชาคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำงานธุรการและเลขานุการให้กับคณะกรรมการ 3. คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองศาสตร์การแพทย์ทางเลือก อยู่ภายใต้ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือก การพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนด ในกรณีที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา ให้พิจารณาการเข้าสู่ระบบสุขภาพเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ให้เข้าสู่ระบบสุขภาพได้เลย (2) ให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยเปิดโอกาสให้มีการทดลองปฏิบัติการใช้ศาสตร์นั้นๆ ภายใต้เงื่อนไขของการติดตามและประเมินผลโดยกลไกของประชาคม หากผลการประเมินเป็นที่พอใจ จึงให้เข้าสู่ระบบสุขภาพได้ 4. คณะอนุกรรมการพัฒนาศาสตร์การแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ แก้ไขกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อให้การใช้บริการการแพทย์ทางเลือกสามารถเบิกจ่ายจากระบบประกันสุขภาพได้ ด้านการพัฒนาวิชาชีพ วิชาการ และการให้บริการ ควรสนับสนุนให้องค์กรวิชาชีพของการแพทย์ทางเลือกพัฒนาเป็นสภาวิชาชีพและผู้แทนจากแต่ละสภาวิชาชีพเข้าไปเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือก ให้การสนับสนุนงบประมาณ บุคลากรและสถานที่ สำหรับการดำเนินกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ โดยมีกลไกพิเศษที่ไม่ใช่ระบบราชการตามปกติ ให้การสนับสนุน “โรงพยาบาลของศาสตร์การแพทย์ทางเลือก” เช่น โรงพยาบาลแพทย์แผนไทย ซึ่งบริหารงานในลักษณะพหุภาคี และไม่อยู่ในระบบราชการ สนับสนุนสถาบันการศึกษาของศาสตร์การแพทย์ทางเลือก โดยเสริมขีดความสามารถด้านการเรียนการสอน ด้านวิชาการและการวิจัย เพื่อให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานวิชาชีพให้เข้มแข็งขึ้น ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสุขภาพของรัฐในลักษณะของการวิจัยระบบสุขภาพ (Health system research) เพื่อพัฒนาระบบงานบริการ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ควรกำหนดให้มีผู้แทนจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคเข้าไปเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมทั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพทางเลือก และ สภาวิชาชีพทุกวิชาชีพด้วย สนับสนุนด้านงบประมาณแก่องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้พัฒนาขีดความสามารถในการร่วมมือและประสานงานกับองค์กรอื่นๆได้กว้างขวางขึ้น จัดสรรสื่อทั้งที่เป็นคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ให้แก่การเผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพและเป็นเวทีในการเรียนรู้ประสบการณ์ในการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภคen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2444943 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectMedicine--Herbalen_US
dc.subjectMedicineen_US
dc.subjectสุขภาพทางเลือกen_US
dc.subjectสมุนไพรไทยen_US
dc.subjectการพัฒนาระบบสุขภาพen_US
dc.subjectการแพทย์ทางเลือกen_US
dc.subjectการแพทย์แผนดั้งเดิมen_US
dc.subjectการแพทย์พื้นบ้านen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.titleการพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือกในระบบสุขภาพไทย : รายงานการสังเคราะห์องค์ความรู้สู่การปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.title.alternativeAlternative Healthen_US
dc.description.abstractalternativeAlternative Health System Development in Thailand:Knowledge Synthesis on Health System Reform Alternative health system development in Thailand were studied by reviewing international literature. The contents were synthesised to find appropriate development for alternative health system in Thailand to propose contexts which should be in National Health Bill. The study recommended development of alternative health system be integrated into mainstream of health system in order to achieve comprehensive and holistic health which correspond to Thai culture. Health alliance was considered as a major mechanism for reforming. To develop alternative health system, the Committee for Alternative Health System should be set up under the National Health Council to determine policy, direction and its system structure,the Alternative Health Institute should be an entity developing knowledge, supporting its network and being the secretary for the Committee,the Sub-committee for the Committee for Alternative Health System should be responsible for consideration based on determined principles, the Sub-committee would propose contexts for amendment to either regulations or laws to insure alternative health care,alternative health should be supported to be other professional-liked organisations and be supported for research development,representatives for consumer group should be positioned in the Committeeen_US
dc.identifier.callnoWB50 ย128ก 2543en_US
dc.subject.keywordยาสมุนไพรen_US
.custom.citationยงศักดิ์ ตันติปิฎก and Yongsak Tantipidok. "การพัฒนาระบบสุขภาพทางเลือกในระบบสุขภาพไทย : รายงานการสังเคราะห์องค์ความรู้สู่การปฏิรูประบบสุขภาพ." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1319">http://hdl.handle.net/11228/1319</a>.
.custom.total_download222
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year11

Fulltext
Icon
Name: hs0780.pdf
Size: 1.162Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record