• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาประสบการณ์การปฏิรูปของประเทศออสเตรเลียในประเด็น : การประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระบบการฟ้องร้องเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับบริการสุขภาพ การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้บริโภค การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และข้อเสนอสำหรับประเทศไทย

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์; Samrit Srithamrongsawats;
วันที่: 2543
บทคัดย่อ
ประสบการณ์การปฏิรูปของประเทศออสเตรเลียในประเด็น:การประเมินเทคโนโลยีการแพทย์ ระบบการฟ้องร้องเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับบริการสุขภาพการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้บริโภค การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย รายงานการทบทวนฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเปลี่ยนแปลง และ รูปแบบที่เกิดขึ้นในระบบสุขภาพของออสเตรเลีย โดยมุ่งประเด็นความสนใจในเรื่องของการประเมินเทคโนโลยีการแพทย์ที่มีค่าต้นทุนสูง ระบบการฟ้องร้องในกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับบริการสุขภาพ การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคต่อการพัฒนานโยบายสุขภาพ และ การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ การประเมินเทคโนโลยีสุขภาพเป็นกระบวนการหนึ่งในการทำวิจัยเชิงนโยบายเพื่อ กำหนดประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสุขภาพ ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการเลือกใช้เทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง นำเสนองานวิจัยที่พบรวมทั้งข้อเสนอนโยบายเพื่อเป็นข้อมูลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย การพัฒนาระบบการฟ้องร้องความเสียหายจากงานบริการสุขภาพของออสเตรเลียอาศัยปรัชญาสองประการ คือ ความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการสุขภาพ ซึ่งเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงได้ (Fault-based system and avoidable injuries) ประการที่สอง คือ ความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดที่ไม่ได้เกิดจากความผิดของฝ่ายใด และเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (No-fault based system and unavoidable injuries) แนวคิดการใช้ประชาสังคมและการให้องค์กรตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมกำลังเป็นที่นิยมสำหรับพัฒนาและดำเนินนโยบายสุขภาพในหลายประเทศ ออสเตรเลียก็เช่นเดียวกันที่รัฐบาลจัดตั้งองค์กรตัวแทนผู้บริโภคอย่างเป็นทางการให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสุขภาพ ซึ่งได้แก่ Consumers’ Health Forum (CHF) ทำให้กระบวนการพัฒนานโยบายสุขภาพมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้บริโภคและตอบสนองต่อผู้บริโภคมากขึ้น ประเด็นสุดท้ายในเรื่องการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ รายงานฉบับนี้ให้ความสนใจไปที่การพัฒนางานบริการสุขภาพทั่วไป (General Practice) เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพมีความเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาปัญหางาน GP โดยรัฐบาลกลาง เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุม Health Ministers’ Conference ที่สรุปประเด็นปัญหาความไม่เชื่อมโยงกันของระบบบริการสุขภาพในออสเตรเลีย โดยกลุ่มทำงานสรุปปัญหาดังกล่าวมีทั้งนักวิชาการจากฝั่งผู้ให้บริการ ตัวแทนผู้บริโภค และ ตัวแทนจากรัฐบาล ซึ่งสนับสนุนให้ความคิดของทั้งสามกลุ่มประสานและมองไปในแนวทางเดียวกัน สำหรับการปฏิรูปงาน GP ของออสเตรเลียเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากการทำโครงการทดลองในพื้นที่เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม ร่วมกับการพัฒนาแพทย์ GP ให้มีทักษะและความสามารถเพื่อพร้อมจะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการผลักดันการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ
The Australian Health System:case study of health care technology assessment system, the system of health care complaints, community involvement in health policy development and the development of health manpower The main purposes of doing the review of particular components of the Australian health system were to look into its development experiences and various features as time went by. This review was aimed at reviewing Australian health care technology assessment system, the system of health care complaints, community involvement in health policy development and the development of health manpower. Health care technology assessment is considered as part of doing the policy research through these following stages : determining what health care technology should be assessed, evaluating various impacts resulted from using a particular technology, reporting the results and giving policy recommendation to policy makers and disseminating them to public. The development of the health care complaint system in Australia is basically on the principles which are the fault-based system with avoidable injuries and the no-fault based system with unavoidable injuries. There are a number of degrees of complaints process in Australia. If the injuries caused by no one’s fault, the case would be ended after both parties, the patient and the provider, reached an agreement. If the patient wonders his or her injuries or lost benefits were caused by the wrongdoing of the provider, he or she may report to the registration board to which the provider is registered. The board will set up the Medical Tribunal composed of the judge, the representative from the same specialty of the provider and the consumer representative. The tribunal will consider the case and if the provider did the wrong action to cause harm for the patient, the penalty will impose on the provider. Nevertheless, compensation for the patient can not be sought out through this process. Community involvement has been increasingly used for developing health policy and implementing health policy in order to increase responsiveness to communities’ needs and to support decentralised management of health system. The WHO also supported this approach by considering it as one of the important strategies of health promotion and prevention. The Australian Commonwealth Government has put that strategy into practice by setting up the Consumers’ Health Forum (CHF) as a channel for NGOs and communities to be part of health policy development. The last context reviewed in this report is health manpower development in which the report specifically picks up the development of general practitioners in Australia. To promote more integrated and efficient health care system, the Commonwealth Government set up the review committee to determine Australian GP’s problems. Originally, the necessity of determining GP problems was actually called out by the Australian Health Ministers’ Conference. The review committee was composed of technicians from the supply side and representatives from consumer groups and the central government and state governments. The Australian GP development was started from the trial projects in several areas around the country so as to seek suitable models and develop general practitioners’ skills and capacity to cope with changes.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0737.pdf
ขนาด: 1.211Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 96
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย 

    วรรณภา ศรีธัญรัตน์; Wannapa Srithanyarat; ผ่องพรรณ อรุณแสง; อัมพร เจริญชัย; สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ; กัลยา พัฒนศรี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    เอกสารนี้นำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย ในกระบวนการสังเคราะห์ได้มีการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพและหลักประกันส ...
  • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร; Ketsarawan Nlilwarangkul; จรัญญา วงษ์พรหม; ชลิดา ธนัฐธีรกุล; สุมน ปิ่นเจริญ; Charunnya Wongphom; Chalida Tanutteerakul; Sumon Pincharoen (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2547)
    นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตของนโยบายและการกระตุ้นการพัฒนาของนโยบายต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ...
  • เคล็ดไม่ลับ R2R : บริบทโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน 

    วิจารณ์ พานิช; พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สรชัย จำเนียรดำรงการ; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2552-07)
    ภายในเวลา 5 ปี ที่ R2R งอกงามขึ้นที่ศิริราช บัดนี้ R2R ได้แพร่ขยายออกไปทั่วประเทศไทย ในหน่วยงานด้านสุขภาพ ภายใต้การจัดการของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย กระบวนการขับเคลื่อนไปสู่วงการสา ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV