การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 3 การบริหารโรงพยาบาลรัฐ
dc.contributor.author | สุขุม เฉลยทรัพย์ | en_US |
dc.contributor.author | Sukhum Chaleysub | en_US |
dc.contributor.author | สวนดุสิตโพล | en_US |
dc.contributor.author | Suan Dusit Poll | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:58Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:44:15Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:58Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:44:15Z | |
dc.date.issued | 2541 | en_US |
dc.identifier.other | hs0325 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1346 | en_US |
dc.description.abstract | การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 3 การบริหารโรงพยาบาลรัฐ การสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการบริหารโรงพยาบาลรัฐ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ 4 กลุ่มคือ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เทคนิค และเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1,546 คน สุ่มแบบกลุ่มหรือพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสำรวจการบริหารโรงพยาบาลรัฐ 7 ตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลประกอบแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป QPS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลปลายเปิด ผลการสำรวจสรุปได้ ดังนี้1. ความพึงพอใจในบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน ในบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนนั้น กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรสาธารณสุขพึงพอใจในระดับปานกลางทุกลักษณะการให้บริการ สิ่งที่พึงพอใจเป็นอันดับแรก คือ สภาพของห้องพักเดี่ยวสำหรับคนไข้ใน รองลงมาคือ การทำบัตรคนไข้ใหม่ / เก่า สถานที่นั่งรอสำหรับคนไข้นอก การรับ - จ่ายยา และการต้อนรับผู้มารับบริการตามลำดับ สิ่งที่พึงพอใจน้อยที่สุด คือ สิ่งอำนวยความสะดวก อื่น ๆ เช่น ห้องน้ำ / น้ำดื่ม กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีความพึงพอใจสูงกว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่อยู่นอกเมืองมีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเมือง กลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออกมีความพึงพอใจสูงกว่าทุกกลุ่ม 2. ปัญหาหรืออุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการให้บริการสาธารณสุข สิ่งที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคมากที่สุดคือ งบประมาณของรัฐไม่เพียงพอ และงบประมาณสนับสนุนจากแหล่งอื่นมีน้อย นอกจากนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาในระดับมากคือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย คนไข้มากเกินไปให้บริการได้ไม่ทั่วถึง และบุคลากรมีไม่เพียงพอ ทำให้ทุกคนต้องทำงานมากเกินไป นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลรัฐว่า บุคลากรมีไม่เพียงพอ รองลงมาคือ สวัสดิการ/เงินเดือน / สิ่งอำนวยความสะดวกมีน้อย / เจ้าหน้าที่ขาดขวัญและกำลังใจ หัวหน้าหรือผู้บริหารไม่ให้การสนับสนุน / ไม่ยุติธรรม / ไม่ฟังความคิดเห็น / ไม่ให้ขวัญและกำลังใจ และบุคลากรไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ / ขาดความเอาใจใส่ / แพทย์มาช้า ในด้านวิธีการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการให้บริการสาธารณสุขนั้น กลุ่มตัวอย่างระบุว่าควรจัดสรรงบประมาณให้มาขึ้น รองลงมาคือ จัดหาวัสดุครุภัณฑ์ จัดการประสานงานกับหน่วยงานภายในให้ดี และเพิ่มเงินเดือน สวัสดิการ และผลตอบแทนแก่บุคลากร นอกจากนั้นยังให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรเพิ่มสวัสดิการ/ เงินเดือน เป็นอันดับแรก รองลงมาคือเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอ ผู้บริหารให้ความเป็นธรรม มีการอบรมพัฒนาบุคลากร และแพทย์ควรมาตรวจตามเวลาราชการ กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีความคิดเห็นด้านการให้บริการสาธารณสุขมีปัญหาหรืออุปสรรคสูงกว่าเพศชาย กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเมืองมีความคิดเห็นด้านการให้บริการสาธารณสุขมีปัญหาหรืออุปสรรคสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่นอกเมืองและกลุ่มตัวอย่างในภาคเหนือและภาคตะวันออกมีความคิดเห็นในด้านนี้สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในภาคอื่น กลุ่มตัวอย่างทั้งเพศชายและเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างในเมืองและนอกเมือง รวมทั้งแทบทุกกลุ่มตัวอย่างในภาคต่าง ๆ เห็นสอดคล้องกันว่า รัฐควรแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการให้บริการสาธารณสุข อันดับแรกคือ จัดสรรงบประมาณให้มากขึ้น ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ ที่เห็นว่าต้องขยายอาคารสถานที่ให้กว้างขวาง และกลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันตกที่เห็นว่า ต้องจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ 3. ความคิดเห็นในการบริหารงานแบบ Executive Agency กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารงานแบบ Executive Agency ดี แต่เห็นว่ามีความเห็นไปได้น้อยในการนำแนวคิดนี้มาใช้ในหน่วยงาน เนื่องจากอาจมีอุปสรรค คือ งบประมาณซึ่งไม่เพียงพอ ระบบบริหารไม่อำนวย บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือ และแนวคิดไม่ชัดเจน ในด้านแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคนั้น กลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ทำได้โดยการเพิ่มงบประมาณ/ การปรับเปลี่ยนระบบบริหารงาน / ปรับโครงสร้างการบริหาร มีหลักการบริการที่ชัดเจน / กำหนดแนวคิดการบริหารได้ชัดเจน และชี้แจงอธิบายให้บุคลากรเข้าใจ และขอความร่วมมือ ในด้านของผู้บริหารนั้น ควรเป็นผู้บริหารที่แท้จริง มีวิสัยทัศน์ มีประสิทธิภาพและความรับผิดชอบ กลุ่มตัวอย่งเพศชายมีความคิดเห็นกับการบริหารงานแบบ Executive Agency สูงกว่าเพศหญิง แต่กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงเห็นว่าเป็นไปได้น้อยกว่าเพศชาย เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเมืองและนอกเมือง และแทบทุกกลุ่มตัวอย่างในภาคต่าง ๆ ยกเว้นในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ที่เห็นว่า ควรเปลี่ยนระบบบริหารงาน / ปรับโครงสร้างการบริหาร เป็นอันดับแรก4. ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงโรงพยาบาลรัฐ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเห็นด้วยเป็นอันดับแรกว่า ต้องมีการประเมินคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล รองลงมาคือ กำหนดมาตรฐานการบริการให้สูงขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเมืองและนอกเมือง และกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในภาคต่าง ๆ แทบทุกกลุ่ม ยกเว้นในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกที่เห็นว่า ควรกำหนดมาตรฐานการบริการให้สูงขึ้น เป็นอันดับแรก | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2589057 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Hospitals -- Administrative | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 3 การบริหารโรงพยาบาลรัฐ | en_US |
dc.title.alternative | Survey of risk behavior, risk situation, health information, health information perception: third issue public hospital administration | en_US |
dc.description.abstractalternative | Survey of risk behavior, risk environment, health information, health information perception: third issue, Public Hospital AdministrationThe purpose of this survey is to study opinions of four groups of personnel in public hospitals. They are doctors, nurses, technicians and officials. Data collection was conducted through cluster and area sampling with questionnaire and interviews. The total respondents are 1,546 cases. Frequency, percentage, mean, standard deviation in QPS program were used for data analysis including open ended information. Results are the following. 1.Satisfaction towards services provided for people. The sampled population of public health have found various services provided for people satisfactory at the medium level. The first priority of satisfaction was the condition of single rooms for in patients. Then, card services for new and old patients, seats for waiting out-patients, pharmacy services, and patient reception were also found satisfactory. The least satisfaction was found towards facilities such as rest rooms and drinking water. Male samples' satisfaction is higher than those of female. Moreover, the samples in rural areas have higher satisfaction compared to those in urban areas. Besides, the samples in the east have satisfaction at a higher level compared to the rest. 2.Problems and Problems Solving in Public Health Services. The most serious problems found are insufficient budget and too few sources of supportive budget. Apart form these, other serious problems are insufficient supply and outdated office equipment, patients by the services and personnel. As a result the staff work is Overloaded.Besides, the samples also raised more problems about insufficient staffmembers. Secondly, the problems are about fringe benift, salary, insufficient facilities, and lack of officials' morale. Moreover, bosses or administrators are non - supportive, injustice, ignorant to staff's opinions, lack of support in problems solving and not keeping up the staff morale. Also, officials are irresponsible and inattentive. Lastly, doctors are tardy. As for problems solving in public health services, the samples' suggestions are the following. More budget should be allocated. More supply and equipment should be provided. Coordination and cooperation in the organization as well as salary and fringe benefit should be improved. In addition, the suggestions also concentrate on increasing fringe benefit and salary as the first priority. Secondly, the solution should focus on increasing personnel, impartial administrators, more training courses for staff development and punctual working doctors. Female samples' opinions towards the problems of public health services are at a higher level compared to those of male. The samples in urban areas think the problems are more serious than those in rural areas. Also, the samples in the north and the east think the problems are more serious compared with those in other regions. Male and female samples in both urban and rural areas and almost all samples agree that more budget allocation should be provided as the first priority. Only the samples in Bangkok think buildings should be extended and more spacious.Howwever, the samples in the wes think more supply and equipment should be provided. 3.Opinions towards Executive Agency. The majority of sampled population agree that the concept of executive agency is good, but almost impossible in practice. The reasons are insufficient budget, non-conductive administration system, no cooperation among staff members, and vague concept in problems solving. The suggestions are the following. More budget and reengineering of the administration system are needed with a clear policy and concept. More explanation and cooperation among staff members are necessary. Administrators should have vision, efficiency and responsibility. Male samples' opinions towards executive agency are at a higher level compared to those of female. However, the latter group think there is less possibility compared with the former because of insufficient budget. Like the samples in urban and rural areas, almost every sample in every region, except Bangkok and the east, agree that reengineering of the administration system should be conducted as the first priority. 4.Recommendations for Public Hospitals. All samples agree that quality assessment for hospital services should be conducted as the first priority. Secondly, male and female samples, urban and rural samples, a most every sample, except Bangkok, agree that a higher standard of services should be set up as the first priority. | en_US |
dc.identifier.callno | W84 ส241ก 2541 | en_US |
dc.subject.keyword | การบริหารโรงพยาบาล | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลของรัฐ | en_US |
.custom.citation | สุขุม เฉลยทรัพย์, Sukhum Chaleysub, สวนดุสิตโพล and Suan Dusit Poll. "การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ภาวะเสี่ยง ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ : ฉบับที่ 3 การบริหารโรงพยาบาลรัฐ." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1346">http://hdl.handle.net/11228/1346</a>. | |
.custom.total_download | 66 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย