dc.contributor.author | นรินทร์ แก้วมีศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Narin Kaewmesri | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:02Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:44:24Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:02Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:44:24Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs1015 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1353 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่มุ่งเน้นใช้กระบวนการทางการศึกษาและการพัฒนาเพื่อส่งเสริมประชาสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านไร่ดงและบ้านเดื่องก ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาสภาพทางสังคมของชุมชนที่สนับสนุนการเกิดประชาสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อทดลองแนวทางการส่งเสริมประชาสังคมและกระบวนการทำงานที่ทีมวิจัยและชุมชนได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมประชาสังคม โดยดูการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการพัฒนาประชาสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เหมาะสม ผู้วิจัยร่วมมือกับชาวบ้านตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาชุมชน วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติด รวมทั้งร่วมกิจกรรมทุกขั้นตอนในการส่งเสริมภาคประชาสังคม โดยมีนักพัฒนาจากส่วนราชการอื่นและองค์กรพัฒนาภาคเอกชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมการวิจัยอีกฝ่ายหนึ่ง การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางสังคมของชุมชนในการแก้ปัญหาต่างๆ ในชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ คือ การเข้าไปใช้ชีวิตในชุมชน ทำการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักและการจัดกลุ่มสนทนา จากนั้นได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน ในขั้นตอนเหล่านี้ผู้วิจัยได้สังเกต บันทึกการดำเนินการและการสรุปผล ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์และเสนอแนวทางการส่งเสริมประชาสังคมให้ชุมชนสามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนเกิดการพัฒนาในหลายด้าน ได้แก่ (1) ผู้นำมีประสบการณ์การพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น (2) ภายในชุมชน ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากกว่าเดิม (3) มีการช่วยเหลือกันเวลาเกิดมีปัญหา (4) ชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง (5) เมื่อได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวภาคประชาชน ทำให้สามารถร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชนได้ดีขึ้นกว่าเดิม สำหรับปัญหาด้านยาเสพติด พบว่าชุมชนมีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่เป็นผู้เสพ ครอบครัวและผู้ได้รับผลกระทบ ตามบทบาทความสัมพันธ์และกลไกทางสังคมที่มีในชุมชน ผลจากการส่งเสริมให้เกิดการใช้กระบวนการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน พบว่า ก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชนอย่างมาก เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ทั้งเกิดความเข้าใจต่อสภาพปัญหาและร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและครอบครัว นอกจากนั้นการส่งเสริมประชาสังคมดังกล่าวยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมในด้านอื่นๆ ของชุมชนที่สอดคล้องกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน นำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนในระยะยาว | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันเครือข่ายพัฒนาส่งเสริมการวิจัยระดับพื้นที่ | en_US |
dc.format.extent | 2149035 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Drug and Narcotic Control | en_US |
dc.subject | Substance Abuse | en_US |
dc.subject | Chaing Mai | en_US |
dc.subject | ยาเสพติด--การป้องกันและควบคุม | en_US |
dc.subject | เชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | แนวทางการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน | th_TH |
dc.title.alternative | Fosters civil society approaches for drug abuse control and problem solving in community | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was the participatory action research intending to use the process of education and development for fostering the civil society towards drug abused protection and problem solving in the communities namely Ban Rai-Dong and Ban Daui -Naog , Tumbol Khuw Mung, Saraphi District, Chaing Mai Province. There were three objectives for this research study ; to explore the social situation of community which foster to bring about civil society concerning with drug abuse control program and problem solving , to experiment the way to foster civil society and work process between the researcher team and community for drug abuse control and problem solving program, and to examine the effect of foster civil society by observing the changes in community development process for drug abuse control and problem solving. Researchers had worked with people in community through the process of community study, situation analysis of drug problem, and coordination to fosters civil society by people from other government and non–government organization (NGO) in this area. The data on social situation and the role of community to solve the variety of problems in the communities were composed with a number of study methods including living in the communities, observation, interviewing the key informants, conducting the focus group discussion, then followed with the six steps using in the participatory action research. During the intervention period, researchers had observed, recorded all activity processes and summarized. The data were analyzed and proposed the way to foster civil society for drug abuse control and problem solving in these communities . The result of study revealed that there were a number of skill developments occurred in the communities; (1) leader have more experience in community development, (2) people have much closer relationship, (3) helping each other when facing the problems, (4) obtaining information continuous, and (5) promoting the civil society movement of people leaded to the better experiences in solving the various problems in these communities. For drug abuse problems, community tended to improve their experience in helping drug users, families, and people who had an effect from drug abuse through the community relationship and social mechanism. Resulting from the promotion of civil society movement for drug abuse control and problem solving in community demonstrated that this process leaded to the great benefit for people in communities because it increased the opportunity of people to participate in the development processes and increased their understandable of the social problem and helped each other to determine the appropriate means to solve the problems occurred in the communities. It was also the learning process for the communities and changed their attitude to drug users and their families. Besides, foster civil society had leaded people to increase their learning abilities for solving various social problems that increased with the dynamicity of the society with a sustainable development. | en_US |
dc.identifier.callno | WM270 น243น 2546 | en_US |
dc.identifier.contactno | 43ค104 | en_US |
dc.subject.keyword | Drug Abused Control | en_US |
dc.subject.keyword | Drug Abused Problem Solving | en_US |
dc.subject.keyword | Fosters Civil Society | en_US |
dc.subject.keyword | ปัญหายาเสพติด | en_US |
dc.subject.keyword | การส่งเสริมประชาสังคม | en_US |
.custom.citation | นรินทร์ แก้วมีศรี and Narin Kaewmesri. "แนวทางการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1353">http://hdl.handle.net/11228/1353</a>. | |
.custom.total_download | 228 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |