Show simple item record

The reform in disease prevention and control

dc.contributor.authorวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์en_US
dc.contributor.authorVirasak Chongsuvivatwongen_US
dc.contributor.authorสุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์en_US
dc.contributor.authorธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์en_US
dc.contributor.authorSuwat Chariyalertsaken_US
dc.contributor.authorTeerakiat Jareonsettasinen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:03Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:04Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:03Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:04Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0805en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1359en_US
dc.description.abstractรายงานข้อเสนอการปฏิรูประบบควบคุมและป้องกันโรค เสนอตัวอย่างความเสียหายทางสุขภาพและทางเศรษฐกิจจากตัวอย่างของการแตกตื่นจากการระบาดของกาฬโรคในประเทศอินเดีย, การระบาดของโรควัวบ้าในกลุ่มสหภาพยุโรป และการกีดกันทางการค้าโดยระงับการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากความผิดพลาดในการใช้ข้อมูลทางวิชาการเพื่อการควบคุมและป้องกันโรค นอกจากนี้ยังได้ชี้ให้เห็นว่าการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และจำเป็นต้องใช้วิชาการหลายอย่างเช่นกัน การปฏิรูประบบการควบคุมและป้องกันโรคที่เสนอในรายงานนี้ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ด้านวิชาการและด้านปฏิบัติการส่วนวิชาการ ควรมีสถาบันวิชาการที่ไม่อยู่ในสายบังคับบัญชาของกระทรวงสาธารณสุข แต่อยู่ภายใต้กำกับของคณะกรรมการซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน สถาบันนี้ที่มีหน้าที่หลักในการรวบรวมองค์ความรู้ทั้งในประเทศและระดับสากล พัฒนาระบบข้อมูลต่างๆ ในประเทศเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานต่างๆ ครอบคลุมทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ร่วมมือกับต่างประเทศ ทำวิจัยและสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค ตลอดจนร่วมพัฒนากำลังคนสำหรับวิชาการด้านนี้ ทั้งนี้ โดยมียุทธวิธีการทำงานและบริหารจัดการด้านทรัพยากรที่สามารถสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการภายในประเทศและระหว่างประเทศ ไม่พยายามรวมศูนย์ทรัพยากรไว้ในสถาบันเอง เช่น ไม่จำเป็นต้องมีนักระบาดวิทยาครบทุกโรค ไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานสาขาในภูมิภาค และไม่จำเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการของตนเองอย่างครบถ้วน แต่มีงบประมาณและความสามารถใช้ประโยชน์จากนักวิชาการในสถาบันอื่นๆ และสร้างเครือข่ายทางห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อดำเนินกิจกรรมในด้านวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนปฏิบัติการแบ่งเป็นสองลักษณะ คือ กระบวนการทางคลินิก เช่น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การตรวจคัดกรองวินิจฉัยและให้การรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และส่วนที่อยู่นอกเหนือการบริการสาธารณสุข เช่น มาตรการทางสังคมและกฎหมาย, การปรับปรุงความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม, การควบคุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเกษตร ฯลฯ กระบวนการควบคุมและป้องกันโรคในส่วนกลางที่เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ การกำหนดกฎระเบียบ, จัดหางบประมาณส่วนกลางสนับสนุนท้องถิ่นที่จำเป็น, จัดหาเวชภัณฑ์สนับสนุนท้องถิ่นสำหรับควบคุมและป้องกันโรค การจัดบริการเพื่อควบคุมโรคกรณีพิเศษ ตลอดจนกำกับติดตามกิจกรรมการควบคุมและป้องกันโรค การควบคุมป้องกันโรคทางคลินิกส่วนใหญ่จะอยู่ในความรับผิดชอบของสถานพยาบาล ซึ่งควบคุมโดยระบบประกันสุขภาพและระบบตรวจสอบคุณภาพสถานบริการ (Hospital Accreditation) โดยมีสถาบันเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพเป็นผู้กำหนดมาตรฐานกิจกรรมด้านนี้) ไม่ว่าสถานบริการนั้นจะมีสังกัดอยู่ในระบบใด (เช่น เป็นหน่วยราชการ, อยู่ภายใต้กำกับรัฐบาลกลาง, อยู่ภายใต้กำกับรัฐบาลท้องถิ่น หรือเอกชน) นอกจากนี้ท้องถิ่นและประชาชนจะต้องร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ของตนโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ เป็นองค์กรภาคประชาชน เช่น อสม. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ชมรมผู้สูงอายุ ควรมีการประเมินผลการควบคุมและป้องกันปัญหาสาธารณสุขชนิดต่างๆ เป็นระยะๆ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานภายนอก โดยความร่วมมือของสถาบันควบคุมและป้องกันปัญหาสุขภาพแห่งนี้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent628353 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDisease--Prevention and Controlen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectโรค--การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleข้อเสนอการปฏิรูประบบควบคุมและป้องกันโรคen_US
dc.title.alternativeThe reform in disease prevention and controlen_US
dc.description.abstractalternativeThe Reform in Disease Prevention and Control The authors present examples of damages and disasters caused by a panic of Plague in India, an epidemic of mad cow disease in Europe, an embargo on imports of seafood from epidemic-stricken countries. These damages are due to mistakes in using technical knowledge in the control and prevention of diseases. This report also points out that non-communicable diseases are important and require a lot of technical knowledge to tackle. It is proposed that reform in disease prevention and control should be divided into two parts: intelligence and operational services. Intelligence services an intelligence organization, namely Institutes for Heath Surveillance, should be set up to be independent of the Ministry of Public Health. It should be an autonomous body governed by a board chaired by the Minister of Public Health. The duties of the Institute are: to gather technical knowledge related to disease control and prevention, both domestic and international; to continuously develop the country database systems for monitoring communicable and non-communicable diseases; to cooperate with the international community; to conduct and support research projects on disease control, and to develop human resources. The institute must have proper strategies for management that can coordinate resources among all domestic and international technical bodies. The institute must also be very efficient in mobilizing resources from all relevant sources. It is not necessary to have epidemiologists for all diseases, or regional branches or its own comprehensive laboratory. However, it should have budgets and the ability to make use of academics in other institutions and to work with the network of laboratories in every part of the country efficiently. Operational Services The operation of disease prevention and control can be divided into two parts; firstly the clinical process such as immunization, screening, treatment and prevention of disease complications and secondly measures other than public health services, e.g. social and legal measures, improvement on safety and environment, regulation of industrial and agricultural products, etc. The Ministry of Public Health should be responsible for disease prevention and control in the following areas: regulating rules, securing central budgets to support local needs, procuring supportive materials for local communities, providing special clinics for certain diseases, monitoring disease prevention and control activities. Clinical control will largely be under the responsibility of the health services, whose quality is assured by hospital accreditation processes. The Institutes for Health Surveillance would have to set standards for the quality of services related to preventive care, regardless of whether the service providers is private or under central or local governments control.en_US
dc.identifier.callnoQZ140 ว837ข 2544en_US
dc.subject.keywordปัญหาสุขภาพen_US
.custom.citationวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, Virasak Chongsuvivatwong, สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์, ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์, Suwat Chariyalertsak and Teerakiat Jareonsettasin. "ข้อเสนอการปฏิรูประบบควบคุมและป้องกันโรค." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1359">http://hdl.handle.net/11228/1359</a>.
.custom.total_download91
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs0805.pdf
Size: 385.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record