แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

อิทธิพลของธุรกิจต่อสถานเลี้ยงดูเด็กและพ่อแม่ : ศักยภาพที่จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย

dc.contributor.authorลัดดา เหมาะสุวรรณen_US
dc.contributor.authorLadda Mo-suwanen_US
dc.contributor.authorธิดารัตน์ กำลังดีen_US
dc.contributor.authorยุพาวดี สมบูรณกูลen_US
dc.contributor.authorศิริกูล อิศรานุรักษ์en_US
dc.contributor.authorพิมภา สุตราen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:07Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:18Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:07Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:18Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0709en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1367en_US
dc.description.abstractอิทธิพลของธุรกิจต่อสถานเลี้ยงดูเด็กและพ่อแม่ : ศักยภาพที่จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาศักยภาพของความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ-สถานเลี้ยงดูเด็ก-พ่อแม่ ที่จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย วิธีวิจัย ใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มพ่อแม่ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้อำนวยการสถานเลี้ยงดูเด็กในเขตเมืองและปริมณฑลของจังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และ กรุงเทพมหานคร เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม พ.ศ. 2542 ทำการศึกษาพ่อแม่ทั้งสิ้น 413 คน ผู้อำนวยการสถานเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี 90 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน 145 คน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเด็ก พ่อแม่ ผู้อำนวยการของสถานเลี้ยงดูเด็ก และสถานเลี้ยงดูเด็ก ประเภทของกิจกรรมที่ธุรกิจดำเนินการกับสถานเลี้ยงดูเด็ก ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์และประเภทของกิจกรรมที่ทำ ความเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับสถานเลี้ยงดูเด็ก อิทธิพลของกิจกรรมที่ธุรกิจดำเนินการผ่านสถานเลี้ยงดูเด็กต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของพ่อแม่ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดปลายเปิดและปลายปิดในชุดเดียวกันที่คณะผู้วิจัยสร้าง ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและปรับแก้หลังจากทดลองใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา วิเคราะห์ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย โดยส่งรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการศึกษาขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ร้อยละ 82 เป็นแม่ ร้อยละ 22.2 จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา เกินกว่าครึ่งมีรายได้มากกว่าเดือนละ 10,000 บาท ร้อยละ 9 ฝากลูกเลี้ยงตามสถานบริการเลี้ยงเด็กกลางวันในครอบครัว ส่วนผู้อำนวยการสถานเลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสถานเลี้ยงดูเด็ก ในรอบปีที่ผ่านมา ธุรกิจใช้ช่องทางสถานเลี้ยงดูเด็กจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าเกี่ยวกับเด็กสูง โดยจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสูงกว่าที่สถานเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ถึง 2-3 เท่า จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสถานเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ธุรกิจที่ใช้วิธีส่งเสริมการขายแก่เด็กและพ่อแม่โดยตรงมากที่สุด คือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์นม รองลงมาคือ ธุรกิจอาหารเสริม/อาหารเช้า และธุรกิจผลิตภัณฑ์วัคซีน จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ธุรกิจที่ใช้วิธีส่งเสริมการขายแก่เด็กและผู้ปกครองโดยตรงมากที่สุด คือ ธุรกิจอาหารเสริม/อาหารเช้า รองลงมาคือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์นม และธุรกิจผลิตภัณฑ์สบู่ สถานเลี้ยงดูเด็กมีอิทธิพลสูงต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าเกี่ยวกับเด็กของพ่อแม่ ร้อยละ 69.5 ของพ่อแม่ เคยได้รับคำแนะนำจากสถานเลี้ยงดูเด็ก สำหรับผลิตภัณฑ์สิบอันดับแรกที่ได้รัีบการแนะนำนั้น พ่อแม่ใช้ตามถึง ร้อยละ 46.2-88.9 ผลิตภัณฑ์ที่พ่อแม่ใช้ตามการแนะนำของสถานเลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ มี 2 รายการที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคสุกใส และซุปไก่สกัด มี 2 รายการที่ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยหากใช้เป็นประจำ ได้แก่ ขนมกรุบกรอบบรรจุซอง และสบู่ซึ่งมีสารระงับเชื้อ การแจกผลิตภัณฑ์ฟรีแก่เด็กและพ่อแม่ผ่านทางสถานเลี้ยงดูเด็ก โดยที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้นมาก่อน ทำให้พ่อแม่เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ร้อยละ 10-40 ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลสูงที่สุด คือ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในความเห็นของพ่อแม่เอง การได้รับแจกผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลสูงต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลสูงที่สุดคือ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เช่นกัน ซึ่งอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใช้ไม่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ที่เหลือส่วนใหญ่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย มี 1 รายการที่ไม่เหมาะสมหากใช้เป็นประจำ คือ สบู่ที่มีสารระงับเชื้อ และมี 1 รายการที่ไม่จำเป็นคือ ซุปไก่สกัด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสถานเลี้ยงดูเด็กที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของพ่อแม่ อิทธิพลของการแจกสินค้าของธุรกิจต่อการเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ของพ่อแม่ และการยอมรับการเข้ามาทำกิจกรรมของธุรกิจในสถานเลี้ยงดูเด็ก จึงควรกำหนดมาตรการดูแลการทำกิจกรรมของธุรกิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะบังเกิดกับเด็กเป็นหลักen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAge Groupsen_US
dc.subjectChild Day Care Servicesen_US
dc.subjectChild Careen_US
dc.subjectChild Day Care Centersen_US
dc.subjectChiang Maien_US
dc.subjectSongkhlaen_US
dc.subjectBangkoken_US
dc.subjectKhon Keanen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectขอนแก่นen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectสงขลาen_US
dc.subjectกรุงเทพมหานครen_US
dc.titleอิทธิพลของธุรกิจต่อสถานเลี้ยงดูเด็กและพ่อแม่ : ศักยภาพที่จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัยen_US
dc.title.alternativeInfluence of business on child care center and parents : potential impact on early child healthen_US
dc.description.abstractalternativeInfluence of business on child care center and parents: Potential impact on early child healthThe objective of this study is to investigate the potential impact of the relationships among business-child care center-parents on health of young children. Parents of the under 5y-old children and directors of child care centers were interviewed. Data collection was conducted in the Muang district and the vicinity of Khon Kaen, Chiang Mai, Songkhla and Bangkok during November-December 1999. The studied variables included: general information on children, parents, director and child care centers; marketing activities, product brand name and type of activities; opinions on relationship between business and child care centers; and impact of these activities on parents' choices. The designed questionaires were reviewed by the experts and pre-tested. Descriptive statistics were used to analyse the data. Possible impacts on child health of the product named by the interviewee were derived from the experts' opinions. Four hundred and thirteen parents, 90 nursery directors and 145 kindergarten directors were studies. Most of the interviewee were mothers. Twenty-two percent of the studied parents had a university degree, more than half had a monthly income over 10,000 baht. Most of the child care center's directors were also female, got a aniversity degree and have worked more than 10 years. Nine percent of the studies parents sent their children to the family day care.Over the past year, the child product business has organized various marketing activities at the king dergarten 2-3 times more frequently that at the nursery. At the nursery, the businesses which most frequently used direct sale promotion with children and parents were those selling dairy products(23 times), supplement food/breakfast(16 times), and vaccines (12 times). For direct sale promotion to children and parents at the kindergarten, the businesses frequently and this chammels were supplement food/breakfast (94 times), dairy product(48 times) and soap (41 times). Child care centers had a great influence on parental choice of child products. Sixty nine percent of parents have ever been adviced. For the top ten products recommended by the child care centers, 46.2-88.9% of the advicee consequenthy used them. They were baby powder, tooth paste and soap, respectively. Most of these products are appropriate for child use and not harmful to health. Two items narmely chicken pox vaccine and chicken essence soup, are not necessary for young children, and the other two items including crispy snacks and anti-bacterial soap are not appropriate for long-term useResults of this study demonstrated the high influence of child care centers on parental decision of child product choice, the influence of giving free samples in change of parental consumption behavior and the acceptance of business marketing activities of child care centers. Measures and regulations should be set up to control business activities in child care centers for the benefits of young children.en_US
dc.identifier.callnoWS105.5 ล214อ 2543en_US
dc.subject.keywordChild Care Centersen_US
dc.subject.keywordNurseryen_US
dc.subject.keywordเด็กปฐมวัยen_US
dc.subject.keywordสถานเลี้ยงดูเด็กen_US
.custom.citationลัดดา เหมาะสุวรรณ, Ladda Mo-suwan, ธิดารัตน์ กำลังดี, ยุพาวดี สมบูรณกูล, ศิริกูล อิศรานุรักษ์ and พิมภา สุตรา. "อิทธิพลของธุรกิจต่อสถานเลี้ยงดูเด็กและพ่อแม่ : ศักยภาพที่จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1367">http://hdl.handle.net/11228/1367</a>.
.custom.total_download121
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0709.PDF
ขนาด: 3.568Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย