แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สำมะโนการโฆษณาอาหาร ยา และเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ พ.ศ. 2536

dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.contributor.authorViroj Tangchroensathienen_US
dc.contributor.authorสุกัลยา คงสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorอารี แวดวงธรรมen_US
dc.contributor.authorชาญชัย เอื้อชัยกุลen_US
dc.contributor.authorเยาวเรศ อุปมายันต์en_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:09Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:44:25Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:09Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:44:25Z
dc.date.issued2539en_US
dc.identifier.otherhs0263en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1376en_US
dc.description.abstractสำมะโนการโฆษณาอาหาร ยาและเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ พ.ศ. 2536ผู้วิจัยได้ทำการสำมะโนการโฆษณาอาหาร ยาและเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงในรายการวิทยุทุกรายการ ตั้งแต่เปิดสถานีจนกระทั่งปิดสถานี เป็นจำนวนหนึ่งวันสถานี (one station day) คาบการ สำมะโนคือวันที่ 1-30 กันยายน 2536 โดยนักวิชาการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ บันทึกรายการวิทยุในสถานีวิทยุทุกแห่งในจังหวัดของตนตั้งแต่เปิดจนปิดสถานีถ่ายข้อมูลในแถบบันทึกเสียงลงในแบบฟอร์มที่นักวิจัยสร้างขึ้น ส่งคืนมายังสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผลการสำมะโน ได้ข้อมูลการโฆษณาทั้งสิ้น 351 วันสถานี มีการโฆษณาสินค้าทั้งสิ้น 10,314 รายการ เป็นอาหาร 1,608 รายการ ยา 5,063 และเครื่องสำอาง 3,643 รายการ การโฆษณาอาหาร ปรากฎโฆษณาในระบเอฟเอ็ม (ร้อยละ 73) มากกว่า เอเอ็ม ส่วนใหญ่เป็นสปอตโฆษณา ร้อยละ 87 เป็นการพูดสด ร้อยละ 7 และรูปแบบผสม ร้อยละ 6 อาหารกลุ่มเครื่องดื่มให้กำลังงาน ขนมของว่าง และอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีความถี่การโฆษณาสูงสุด ในด้านระยะเวลาโฆษณาพบว่าเครื่องดื่มให้กำลังงาน สุราเบียร์ และอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีระยะเวลาโฆษณาสูงสุด M-100, M-150 และเครื่องดื่มฉลาม เป็นสินค้า 3 ตัวที่มีความถี่การโฆษณาสูงสุด นอกจากนี้เป็นการโฆษณาที่ได้รับอนุญาต ร้อยละ 36 และโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ร้อยละ 64 วิเคราะห์ข้อความโฆษณาอาหารจำนวน 236 ข้อความพบว่ามีเพียงร้อยละ 11 โฆษณาถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต, มีร้อยละ 1 โฆษณาโดยได้รับอนุญาตแต่ข้อความไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาตซึ่งทำให้สำคัญผิดไปจากสาระสำคัญ, มีร้อยละ 24 ที่โฆษณาโดยได้รับอนุญาตแต่ข้อความไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาตแต่ไม่ทำให้สำคัญผิดในสาระสำคัญ, ร้อยละ 44 โฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังโฆษณาสรรพคุณอาหารเป็นเท็จหรือหลอกลวงให้หลงเชื่อ, ร้อยละ 19 โฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่โฆษณาสรรพคุณอาหารที่ไม่น่าจะเป็นเท็จหรือหลอกลวง การโฆษณายาปรากฎโฆษณายาในระบบเอเอ็ม (ร้อยละ 59) มากกว่าเอฟเอ็ม เป็นการโฆษณาโดยวิธีสปอต ร้อยละ 90, พูดสดร้อยละ 4 และผสมร้อยละ 7 ยาแผนปัจจุบัน 3 กลุ่มที่มีการโฆษณาด้วยความถี่สูงสุดได้แก่ ยาลดไข้แก้ปวด, ยาลดกรด/โรคกระเพาะอาหาร และยาทา ยาดม ยาล้างตา ยาอม ยาแผนปัจจุบัน 3 กลุ่มที่มีการโฆษณาด้วยระยะเวลาสูงสุดได้แก่ ยาแก้ไข้แก้ปวด, ยาทา ยาดม ยาล้างตา ยาอม, และยาลดกรด/โรคกระเพาะอาหาร ยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ 3 ชื่อที่มีการโฆษณาด้วยความถี่สูงสุดได้แก่ แอนตาซิล, ทิฟฟี่, และ เบ็นด้า 500 ยาแผนปัจจุบันและแผนโบราณ 3 ชื่อที่มีการโฆษณาด้วยระยะเวลาสูงสุดได้แก่ แอนตาซิล, ทิฟฟี่ และยาขมเม็ดตราใบห่อ การฝ่าฝืนพรบ.ยา 2510 นั้น จากจำนวน 803 ข้อความโฆษณายาทั้งหมดที่วิเคราะห์มีถึงร้อยละ 90 ที่ข้อความโฆษณาไม่ถูกต้องนั้นเป็นความผิดที่ไม่รุนแรงนัก กล่าวคือ ฝ่าฝืนมาตรา 88 ทวิทั้งข้อ1 และ 2 ได้แก่ การโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดสูงสุด ถึงร้อยละ 79.1 ส่วนความผิดที่ค่อนข้างรุนแรงคือการฝ่าฝืนมาตรา88 เช่น การแสดงสรรพคุณ อันเป็นเท็จหรือเกินความจริงมีถึงร้อยละ 9.8 การโฆษณาสรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ร้อยละ 3.3) รวมความผิดตามมาตรา 88 ทุกข้อสูงถึงร้อยละ 16 การโฆษณาเครื่องสำอาง เป็นการโฆษณาในระบบเอฟเอ็ม (ร้อยละ 57) มากกว่าเอเอ็ม (ร้อยละ 43) การโฆษณาเครื่องสำอางโดยวิธีสปอต ร้อยละ 80, พูดสด ร้อยละ 8 และผสม ร้อยละ 12 เครื่องสำอางแผนปัจจุบัน 3 กลุ่มที่มีการโฆษณาด้วยความถี่สูงสุดได้แก่ ครีมแก้สิวฝ้า ยาสีฟัน และแป้งผู้ใหญ่ แป้งน้ำ แป้งตลับ, เครื่องสำอางแผนปัจจุบัน 3 กลุ่มที่มีการโฆษณาด้วยระยะเวลาสูงสุดได้แก่ ครีมแก้สิวฝ้า แป้งผู้ใหญ่ แป้งน้ำ แป้งตลับ และสบู่, เครื่องสำอางทั้งแผนปัจจุบันและสมุนไพร 3 ชื่อที่มีการโฆษณาด้วยระยะเวลาสูงสุดได้แก่ ยาสีฟันคอลเกต ครีมสมุนไพรดอกบัวคู่ และสบู่หอม สมุนไพรดอกบัวคู่ เครื่องสำอางทั้งแผนปัจจุบันและสมุนไพร 3 ชื่อ ที่มีการโฆษณาด้วยระยะเวลาสูงสุด ได้แก่ แชมพูสมุนไพรดอกบัวคู่ ครีมสิวฝ้าชิงชิง และยาสีฟันคอลเกตen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2248399 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย ; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAdvertising--Statisticsen_US
dc.subjectFood -- Advertisingen_US
dc.subjectDrugs -- Advertisingen_US
dc.subjectCosmetics -- Advertisingen_US
dc.subjectระบบเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพen_US
dc.titleสำมะโนการโฆษณาอาหาร ยา และเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ พ.ศ. 2536en_US
dc.title.alternative[Survey on Radio Advertisement of Food, Drug and Cosmetics, 1993]en_US
dc.identifier.callnoHC 79 ว257ส 2539en_US
dc.subject.keywordการโฆษณาen_US
dc.subject.keywordอาหารen_US
dc.subject.keywordยาen_US
dc.subject.keywordเครื่องสำอางen_US
dc.subject.keywordวิทยุกระจายเสียงen_US
.custom.citationวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, Viroj Tangchroensathien, สุกัลยา คงสวัสดิ์, อารี แวดวงธรรม, ชาญชัย เอื้อชัยกุล and เยาวเรศ อุปมายันต์. "สำมะโนการโฆษณาอาหาร ยา และเครื่องสำอางในวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ พ.ศ. 2536." 2539. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1376">http://hdl.handle.net/11228/1376</a>.
.custom.total_download92
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0263.pdf
ขนาด: 2.315Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย