การศึกษาระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านและระบบสุขภาพแบบประชาชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยกลางคนในชุมชนล้านนา
dc.contributor.author | อวยพร ตัณมุขยกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Auyporn Tanmukayakul | en_US |
dc.contributor.author | ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | สุจิตรา เทียนสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | วารุณี ฟองแก้ว | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:12Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:42:58Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:12Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:42:58Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.other | hs0863 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1383 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านและระบบสุขภาพแบบสามัญชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยกลางคนในชุมชนล้านนา ทำการศึกษาในชุมชนเขตเมือง กึ่งเขตเมืองกึ่งชนบท และในเขตชนบทอย่างละ 1 แห่ง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ บุคคลที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของการวิจัย คือ สตรีวัยกลางคนอายุตั้งแต่ 40-59 ปี จำนวน 55 คน และผู้ให้บริการในระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านจำนวน 9 คน วิธีหลักของการรวบรวมข้อมูล คือการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ครอบคลุมการกำหนดประเด็นหลัก การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลในหมวดหมู่ต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ระบบการดูแลสุขภาพของสตรีวัยกลางคน ประกอบด้วย 3 ระบบ ได้แก่ ระบบการดูแลสุขภาพแบบสามัญชน ระบบการแพทย์แบบดั้งเดิมและระบบการแพทย์สมัยใหม่ ในประเด็นความหมายของ ‘สุขภาพ’ กลุ่มสตรีที่ศึกษาให้ความหมายในลักษณะพหุมิติครอบคุลมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการทำหน้าที่ทางด้านสรีระ ส่วนสุขภาพดีหมายถึงการที่ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรค จิตใจสบายและสามารถทำหน้าที่กิจกรรมได้ตามปกติ ที่น่าสนใจก็คือสถานภาพการสมรสรวมทั้งการมีบุตรถูกระบุว่ามีผลต่อภาวะสุขภาพสตรี ซึ่งสตรีวัยกลางคนยอมรับว่าอยู่ใน “วัยทอง” ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ จึงอาจเรียกว่า เป็นวัย ‘สับสน’ เพราะเกิดความไม่แน่ใจถึงการปฏิบัติที่ควรกระทำ อีกทั้งรับรู้ว่าวัยนี้เป็นวัยที่เกิดโรคได้ง่ายง่าย มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ส่วนวิธีปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น กรณีอาการไม่รุนแรง จะไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นพิเศษ เช่น อาจใช้การทำกิจวัตรประจำวัน การอบสมุนไพร การนวดแผนโบราณหรือแผนไทย ส่วนกรณีอาการรุนแรง จะแก้ไขโดยใช้บริการการตรวจรักษาจากสถานบริการสุขภาพทั้งของรัฐและเอกชนซึ่งเป็นการแพทย์สมัยใหม่ หากการรักษาไม่ได้ผลจะรับการรักษาต่อแบบพื้นบ้าน ส่วนวิธีปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ จะใช้วิธีทำจิตใจให้สงบ ฝึกสมาธิ ทำงานอดิเรก หรือฟังธรรมะ เป็นต้น สำหรับแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพสำหรับสตรีวัยกลางคนจากการศึกษาครั้งนี้ไม่ชัดเจน แต่ก็มีการระบุวิธีปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพดี ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การทำงานอดิเรก การรับประทานยาบำรุงหรือยาพื้นบ้าน ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นในสตรีวัยกลางคน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการให้บริการสุขภาพจากเชิงรับเป็นเชิงรุก เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเสริมสร้างแนวคิดความรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพให้เกิดขึ้นในสตรีวัยกลางคน นั่นคือ ระบบบริการสุขภาพควรมุ่งที่การป้องกันระดับปฐมภูมิหรือทุติยภูมิมากกว่าตติยภูมิและบริการดังกล่าวควรสอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีการดำเนินชีวิตของสตรีวัยกลางคน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 4099004 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Middle-aged Women | en_US |
dc.subject | Alternative Medicine | en_US |
dc.subject | Middle-aged Women--North | en_US |
dc.subject | สุขภาพทางเลือก | th_TH |
dc.subject | สตรีวัยกลางคน | th_TH |
dc.subject | สตรีวัยกลางคน--ภาคเหนือ | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การศึกษาระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านและระบบสุขภาพแบบประชาชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยกลางคนในชุมชนล้านนา | th_TH |
dc.title.alternative | A study of folk and popular health care system for promoting health of among middle-aged women in Lanna Society | en_US |
dc.description.abstractalternative | The main focus of this qualitative research was to explain folk and popular health care systems concerning promoting health of the middle-aged women residing in Lanna society. Study settings included an urban community, a semi-urban were 55 women, aged between 40 and 59 years old, and nine practitioners working in folk medicine. Data were obtained through the use of focus group discussions, in depth interviews, and participation and non-participation observation. Data were analyzed using content analysis, indicating the main themes, categorization, and mapping the connections. The major results of this study indicated that there were three alternative health care systems for middle-aged women: popular, traditional, and modern health care systems. Regarding the definition of health, the middle-aged women defined ‘health’ as a multi-dimensional aspect including the dimension of physical, mental and physiological function. Therefore, good health, according to these women, was referred to the state of physical fitness, being free from disease, good and happy mind, and being able to function activities. It is also interesting to note that marital status and child bearing was indicated to influence women health. In the period of middle-aged, the women preferably called as “golden age”, a period of various changes had been occurred physically, mentally and emotionally. Some women might call this age as “confusing age” because of uncertainty concerning whether the way they acted was appropriate. Further, the middle-aged women perceived that their age was high risk of developing disease and was irritability. Regarding the management of the physical changes, it was found that the management was depending on the severity of the symptoms. For mild symptoms, there was no special activities performed. Some women used daily activities, traditional herbal sauna, and Thai traditional massage. In case of having severe symptom, the women preferred to seek help from modern health care services, either public or private sector. It the treatment was unsatisfied or ineffectiveness, they would further seek help from traditional practitioners. Concerning the management of mental and emotional changes, almost all middle-aged women stated that they preferred to do mediation, hobbies and listen to Buddha teaching. It worth to note that the concept of health promotion among the middle-aged women was not clearly defined. Nevertheless, they pointed out many activities leading to good health. These were taking good nutrition, exercise, doing leisure activities, and taking tonic medicine or folk medicine. Hence, the results indicate that to promote health of the middle-aged women, it is of great important to modify health care service policy from curation to health promotion and disease prevention. This is anticipated to develop the concept of health responsibility among the middle-aged women. The modern health care services, therefore, should focus on primary or secondary prevention rather tertiary prevention, and such services should be in accordance with culture, beliefs and lifestyle of middle-aged women. | en_US |
dc.identifier.callno | WB50 อ437ก 2543 | en_US |
dc.identifier.contactno | 42ค020 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Promotion | en_US |
dc.subject.keyword | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | อวยพร ตัณมุขยกุล, Auyporn Tanmukayakul, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์ and วารุณี ฟองแก้ว. "การศึกษาระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านและระบบสุขภาพแบบประชาชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยกลางคนในชุมชนล้านนา." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1383">http://hdl.handle.net/11228/1383</a>. | |
.custom.total_download | 142 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย