แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารโรงพยาบาลรัฐ

dc.contributor.authorอรทัย รวยอาจิณen_US
dc.contributor.authorOratai Rauyajinen_US
dc.contributor.authorสุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ดen_US
dc.contributor.authorธวัชชัย บุญโชติen_US
dc.contributor.authorSuvajee Chantanom-Gooden_US
dc.contributor.authorThawatchai Boonchoteen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:14Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:43:07Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:14Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:43:07Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0792en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1387en_US
dc.description.abstractการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารโรงพยาบาลของรัฐ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา/บริหารโรงพยาบาล โดยศึกษารายละเอียดของลักษณะและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน/ชุมชน ทั้งนี้โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณดำเนินโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังโรงพยาบาลรัฐขนาดตั้งแต่ 60 เตียงขึ้นไป ทั้งหมดรวม 209 แห่ง และได้คัดเลือกโรงพยาบาล 5 แห่ง เพื่อทำการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) โรงพยาบาลที่เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว โรงพยาบาลท่าวังผา โรงพยาบาลห้วยพลู โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ และโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ผลของการสำรวจระดับกว้าง พบว่า โรงพยาบาลของรัฐแทบทั้งหมดเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งในด้านการบริหารจัดการโรงพยาบาล รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ในโรงพยาบาลและที่จัดขึ้นในชุมชน รูปแบบของการมีส่วนร่วมที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นกรรมการที่ปรึกษา (ร้อยละ 44.2) การระดมทรัพยากรให้โรงพยาบาลโดยการบริจาคเงิน ที่ดิน การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ ตามความขาดแคลนของโรงพยาบาล แต่แทบจะไม่มีโรงพยาบาลแห่งใดที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ยกเว้นโรงพยาบาลบ้านแพ้ว แรงจูงที่สำคัญที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ความต้องการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโรงพยาบาลมากขึ้น (ร้อยละ 89.0) และความขาดแคลนงบประมาณที่จะขยายกิจการของโรงพยาบาล (ร้อยละ 47.4) รวมทั้งการตื่นตัวจากฝ่ายประชาชนหรือชุมชนเอง (ร้อยละ 43.0) โรงพยาบาลแทบทั้งหมด (ร้อยละ 95.9) เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ประมาณสองในสาม (ร้อยละ 67.4) เห็นว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคต่อการทำงาน ส่วนแนวโน้มที่โรงพยาบาลจะมีแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลอิสระภายใต้การกำกับของรัฐ พบว่า ประมาณหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 26.2) มีแผนดังกล่าวเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ขณะที่ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 51.3) ยังไม่แน่ใจ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพได้ผลสอดคล้องกันว่า ชุมชนมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนา/บริหารโรงพยาบาลให้เป็นไปในทิศทางที่ชุมชนต้องการ การมีส่วนร่วมของชุมชนมี 4 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้านนโยบายและแผนพัฒนาระบบบริการ 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของโรงพยาบาล และ 4) การทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างชุมชนและโรงพยาบาล ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน/ชุมชนในการบริหารจัดการโรงพยาบาล มี 3 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงพยาบาล ปัจจัยด้านชุมชน และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงพยาบาล ปัจจัยด้านโรงพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายการเข้าถึงชุมชน การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ศักยภาพของผู้นำหรือผู้อำนวยการ ความขาดแคลนงบประมาณจากภาคราชการ รวมทั้งการใช้กลวิธีในการระดมพลังชุมชนจากความศรัทธาต่อศาสนา ส่วนปัจจัยด้านชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ ความต้องการด้านบริการสุขภาพ ศักยภาพของชุมชน ความศรัทธาในผู้นำ ความพึงพอใจในบริการ และความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของโรงพยาบาล รวมทั้งความสัมพันธ์ในแนวราบระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน เพื่อให้โรงพยาบาลมีโครงสร้างการบริหารที่ส่งเสริมให้ประชาชน/ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารของโรงพยาบาล จำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารโดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารที่มาจากฝ่ายประชาชนทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการบริหารทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนมีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายและแผน รวมทั้งการบริหารจัดการการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาล ตลอดจนการควบคุมกำกับและตรวจสอบการบริหารงานของโรงพยาบาลโดยแท้จริง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ยั่งยืน รัฐและโรงพยาบาลจำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจชุมชนให้เอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วม เงื่อนไขที่จำเป็น ได้แก่ การสร้างกระแสความตื่นตัวของชุมชนในระบอบประชาธิปไตย การสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มในลักษณะประชาสังคม การปลุกกระแสให้เกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของโรงพยาบาลและรู้จักรักษาสิทธิผู้ป่วย นอกจากนั้น โรงพยาบาลจะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายเข้าถึงชุมชนโดยจัดบริการเชิงรุกเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ตลอดจนจัดให้มีโครงการพัฒนาสุขภาพผสมผสานไปกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและมีศักยภาพทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา/บริหารโรงพยาบาล ทั้งนี้โดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรชุมชนในท้องถิ่น ทั้งองค์กรของรัฐและเอกชนรวมทั้งวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการกำหนดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน อาทิเช่น องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล คุณสมบัติของผู้แทนชุมชนที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล รวมทั้งขั้นตอนของการได้มาซึ่งผู้แทนชุมชน ฯลฯ ควรจะให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสอดคล้องกับสภาพสังคมวัฒนธรรมของชุมชน ตลอดจนมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2504934 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectCommunity Participationen_US
dc.subjectAutonomous Hospitalsen_US
dc.subjectHealth Care Reformen_US
dc.subjectHopsital Administrationen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectประชาสังคมด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารโรงพยาบาลรัฐen_US
dc.title.alternativeCommunity participation in government hospital administrationen_US
dc.description.abstractalternativeCommunity Participation in Government Hospital Administration The primary purpose of this study is to explore the current situation of community participation in government hospitals in Thailand. This concerns community participation in the context of hospital development and management, as well as its underlying factors. The methods of data collection include both quantitative and qualitative.A nation-wide mailed questionnaire survey was carried out to determine the extent of participation in government hospitals with at least 60 patient-beds. The questionnaires were mailed to the total number of 212 eligible hospitals and 209 completed questionnaire were returned, or the response rate was 98.8 percent. The qualitative data collection aims at in-depth investigation of the process and underlying factors of community participation in hospital development and management. The survey result indicated that community participation in any specific health program organized by the hospitals has been developed at a certain level, but not in the hospital administration except Ban Peaw community hospital in the central part of the country. The most popular form of participation reported by hospitals is community leaders participating as hospital consultative committee members. The main activity of the committee is to help fund raising and mobilize local resources for hospital development. On the part of hospitals, the reported significant reasons underlying community participation development was to strengthen hospital accessibility by the community they served (89.8 percent). The other important reasons reported included inadequacy of the government budget (47.4 percent) and communities’ interest (43.0 percent). The majority of hospitals (95.9 percent) appeared to recognize the importance and benefits of community participation. About one-third reported no problems in hospital development as a result of community participation, and about one-fourth had plans to reform the administration to become autonomous hospitals. Four hospitals experienced with community participation in development and management including 3 government community hospitals and one private-non profit foundation hospital were purposively selected as case studies for qualitative data analysis. The hospital administrators and key staff members as well as community leaders were given in-depth interviews. The major findings are that the communities have competence in hospital development and management in the direction they need. The four major existing forms of community participation include 1) community participation in the decision making process of hospital development plans and policy formulation for the health service system, 2) community participation in hospital management of infrastructure and non-medical activities, 3) community involvement in health care service implementation, and 4) community involvement as coordinators to bridge gaps between hospitals and communities. The factors facilitating community participation are threefold: 1) hospital related factors, 2) community related factors and 3) quality of relationship between hospitals and communities they served. The crucial hospital related factors are the policy of community involvement expressed by the hospital administrators, the competence and leadership of hospital administrators, the inadequacy of the government budget for hospital development, the hospital administrators’ expression of his or her sincere welcoming of community members to participate in hospital development/ administrative/consultative committees, as well as strategies for mobilizing local resources through the integration of religious beliefs held by the community. On the part of community, the critical factors are community health needs, community competence, community faith and trust in hospital administrator, sense of belonging to hospital, and community satisfaction with the services provided. Lastly, but very important, is the good relationship between hospital administrators/staff and community members. To sustain effective community participation, the government sector, including government hospitals should construct communities’ social and economic conditions to facilitate community participation in government hospital administration. The concepts of civil society, good governance based upon democratic ideology, equity and patient’s rights, and sense of belonging to government hospitals are recommended as strategies to be promoted in the communities. In addition, the health promotion hospital policy of providing out-reach health promotion services should be strengthened. To empower community members with sufficient potentiality to actively participate in hospital administration, the government sector and government hospitals should promote comprehensive development projects, both health-based and community-based economy, based in the communities they serve. This should be coordinated with the existing community organizations, both government and non-government, including community temples.To facilitate community power in decision making in hospital administration, the present hospital administrative structure needs to be reformed. All, or at least more than half of the total number of the administrative committee members should be selected from among the representatives of community members. Practical rules and regulations for community participation, for instance, the composition of the hospital administrative committee members, the characteristics of eligible representatives of the community members and selective procedures, should be developed and considered through the process by which the community has equity participation in decision making.en_US
dc.identifier.callnoWX150 อ324ก 2543en_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลในกำกับรัฐen_US
.custom.citationอรทัย รวยอาจิณ, Oratai Rauyajin, สุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ด, ธวัชชัย บุญโชติ, Suvajee Chantanom-Good and Thawatchai Boonchote. "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารโรงพยาบาลรัฐ." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1387">http://hdl.handle.net/11228/1387</a>.
.custom.total_download291
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year21
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0792.pdf
ขนาด: 1.330Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย