dc.contributor.author | เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Plearnpit Thaniwatananont | en_US |
dc.contributor.author | วิภาวี คงอินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | พัชรียา ไชยลังกา | th_TH |
dc.contributor.author | นวลจันทร์ รมณารักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:15Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:44:28Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:15Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:44:28Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0873 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1391 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ความต้องการการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลของผู้สูงอายุ ความพร้อมและความต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชนและทางเลือกในการจัดบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและให้การดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุในเขตชนบท 2 หมู่บ้าน ของจังหวัดสงขลา จำนวน 95 คน หมู่บ้าน ก. 59 คน หมู่บ้าน ข. 36 คน และจากกลุ่มตัวแทนชุมชนได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, แม่บ้าน, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการติดตามเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63 เพศชาย ร้อยละ 37 มีอายุระหว่าง 60-84 ปี อายุเฉลี่ย 71 ปี เมื่อแยกเพศพบว่า ผู้สูงอายุชายมีอายุเฉลี่ย 69 ปี ผู้สูงอายุหญิงมีอายุเฉลี่ย 72 ปี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 61 ทั้งหมดมี เชื้อชาติไทยและนับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรสและบุตรหลานร้อยละ 83 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาร้อยละ 81 รับรู้ว่ามีรายได้เพียงพอร้อยละ 68 เมื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของตนกับผู้สูงอายุรายอื่นๆ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับรู้ภาวะสุขภาพของตนว่า ตนมีสุขภาพแข็งแรงพอๆ กัน ส่วนปัญหาสุขภาพที่พบมาก 3 ลำดับแรก คือ 1) ปวดข้อเข่า เอว หลัง 2) ความดันโลหิตสูง 3) โรคหัวใจ/หอบเหนื่อย พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผู้สูงอายุต้องการให้มีการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุเพื่อรับคำแนะนำด้านสุขภาพและมี กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ส่วนผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานได้มีความต้องการทำสวนยางพาราหรือสวนผสมของตนมากกว่าทำอาชีพเสริมอื่นๆ และต้องการให้มีเจ้าหน้าที่มาตรวจโรคและให้การรักษา ในยามปกติผู้สูงอายุไม่คาดหวังให้บุตรหลานหรือชุมชนช่วยเหลือ แต่ในยามเจ็บป่วยต้องการให้ บุตรหลานดูแล ช่วยพาไปพบแพทย์และจ่ายค่ารักษาพยาบาล ชุมชนที่ศึกษามีความพร้อม ศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการรวมกลุ่ม ชุมชนเป็นแหล่งรายได้ มีการรวมกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวัยรุ่นเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชน ทางเลือกในการจัดบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และให้การดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาสุขภาพ เช่น การใช้สมุนไพร การนวดประคบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ 2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มและการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ 3) การร่วมมือกันของผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ โดยชุมชนสนับสนุนงบประมาณและการจัดโครงการ บุตรหลานให้การดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ได้แก่ ทัศนคติ ความคาดหวัง ต่อการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุและความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 989975 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Elderly's Need | en_US |
dc.subject | Elderly Care | en_US |
dc.subject | Health Promotion | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ, การดูแล | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและการให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาในจังหวัดสงขลา | th_TH |
dc.title.alternative | Possible models of health promotion and care for elderly under the condition of community participation and elderly's need : a case study in Songkhla province | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to explore the health status of older people, their health behaviors and needs of health care services. Also it explored the potential and readiness of community participation and investigated strategies for providing health services under the condition of community participation and meeting elderly’s needs. Data were collected from older people who lived in two rural villages in Songkhla province. Participants were 95 from older people, 59 from village A and 36 from village B. Questionnaires, interviews, audiotape focus group meeting and home visits were used to collect relevant data. Data were then analyzed using content analysis. The results showed that among the 95 older people, thirty-seven percents were males and sixty-three were females. Ages ranged from 60-84 years with the average age were 71 years. The average age for male older people were 67 and for female were 72. All participants were Thai ethnic and Buddhist. Most of the participants, had primary school educated and living with their spouses and children. They perceived having adequate incomes and perceived their health as “equal or at the same level of health” as compared to other older people in their age group. Sixty-one percents of the older people perceived that they had some health problems. The three most common health problems were a. knee joints/back pain (30%), b. hypertension (27%) and c. heart disease (16%). Health promotion behaviors of the participants were practicing followed the medical advice, exercise, and eating useful food. In their perception of needs of health care services, they reported that they wished to be healthy so that they still can be able to keep working and keep performing self-care. As they were healthy, they did not expect help from their children or from the community. However, when they were ill, they would like their children to help taking care of them or accompanying them to see doctors and paying the bills. They indicated their needs to meet other older people as a social group and having organized group activities such as exercise, health education, group relation, dinning together and offering medications when getting a minor illness such as catching a cold. In surveying of the readiness, potentiality and community participation needs, the data revealed that the studied communities had economic readiness as the people felt their children could find jobs and gain adequate incomes. There were group gathering of housewives and teenage representatives to performed activities. After discussed with key persons involved in caring for older people including elderly themselves, to identify a health promotion model that involved community participation and meeting the needs of older people. Firstly, the community agreed to enhance the local wisdom projects to treat the main health problems of elderly, for example, the use of herbal medicines and massage to treat the arthritis/ joint pain of the older people. Second, the community agreed to arrange a group gathering of older people to run the health promotive activities. The activities would function under the guidance of the health professionals in the design and conduct of various programs. An exercise program would be initiated and instituted by the health professionals. Funding support would have to come from the local government so that the programs can be perceived as governmental support and co-operation for local initiatives. Thirdly, the children and housewives group were agree to support and take care the older people when they get into late older and got sick. Two factors influenced the success of implementing the health promotion program for elderly were the leadership and the attitude and expectation of older people to the group gathering. | en_US |
dc.identifier.callno | WT104 พ925ร 2544 | en_US |
dc.identifier.contactno | 43ค078 | en_US |
dc.subject.keyword | การวิจัยเชิงพรรณา | th_TH |
.custom.citation | เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, Plearnpit Thaniwatananont, วิภาวี คงอินทร์, พัชรียา ไชยลังกา, นวลจันทร์ รมณารักษ์ and สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง. "รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและการให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาในจังหวัดสงขลา." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1391">http://hdl.handle.net/11228/1391</a>. | |
.custom.total_download | 315 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 14 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |