dc.contributor.author | ลำดวน ศรีศักดา | th_TH |
dc.contributor.author | Lumduan Srisakda | en_US |
dc.contributor.author | ศุวศา กานตนวนิชกูร | th_TH |
dc.contributor.author | อำไพ ชนะกอก | th_TH |
dc.contributor.author | ชมนาด พจนามาตร์ | th_TH |
dc.contributor.author | เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | พีระศักดิ์ มะลิแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์ | th_TH |
dc.contributor.author | Suwasa Khantanawanitchakun | en_US |
dc.contributor.author | Ampai Chanokkok | en_US |
dc.contributor.author | Chomnard Potjanamart | en_US |
dc.contributor.author | Tapin Phacharanurak | en_US |
dc.contributor.author | Pherasak Malikaeow | en_US |
dc.contributor.author | Trongwut Doungratanaphan | en_US |
dc.contributor.author | Areerat Nirunsittirat | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:20Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:45:54Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:20Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:45:54Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1405 | en_US |
dc.description | ชื่อหน้าปก : รายงานการศึกษาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษาการพัฒนาเมืองและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ ระยะที่ 2 | en_US |
dc.description.abstract | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษาการพัฒนาเมืองและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประยุกต์กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือเอชไอเอ นโยบายที่ทำการประเมินในโครงการนี้ คือ การจัดการขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ที่ให้ส่วนบุคคล หรือเอกชน ประกอบการเดินรถตามกลไกตลาด (หรือใช้ระบบรถสองแถว) – ไม่มีรถประจำทาง และพิจารณาแนวทางปฏิบัติ 2 แนวในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกัน คือ การที่รัฐไม่จำกัดการใช้รถส่วนบุคคลและการแก้ปัญหาโดยการสร้างถนนเป็นหลัก ควบคู่ไปด้วย และ (2) ในระหว่างการศึกษา เข้าไปมีส่วนในการส่งเสริมหรือมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจ (Influencing) ในนโยบายสาธารณะด้านการจราจรและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ วิธีการศึกษาเพื่อวิเคราะห์และรายงานผลการประเมินผลกระทบทางสุขใช้แนวทางในการประเมินรวมถึงตัวชี้วัดที่กำหนดแล้วในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping) ส่วนวิธีศึกษาและประเมิน ใช้วิธีการผสมผสานกัน วิธีการดังกล่าว ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรมและการ Update ข้อมูลเพิ่มเติม การวัด/การตรวจสอบ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาเชิงพรรณนาโดยการสำรวจ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้กรณีศึกษา ด้วยเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การจัดประชุมข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบ ข้อมูลและวิธีการประเมินผลมีหลากหลาย คือ ทบทวนเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำรวจโดยแบบสอบถามประชาชนทั่วไปเมืองเชียงใหม่ 500 ตัวอย่าง จัดการสนทนากลุ่ม กลุ่มนักวิชาการ/วิชาชีพ, ข้าราชการ, ผู้นำชุมชน, สื่อมวลชนและองค์กรเอกชน (Non-Governmental Organizations) สำรวจโดยแบบสอบถามเชิงลึกกับชุมชน ช้างม่อย-ท่าแพและป่าตัน แห่งละ 100 ตัวอย่าง ชุมชนช้างม่อย-ท่าแพเป็นชุมชนในตลาดที่มีการจราจรคับคั่ง ส่วนชุมชนป่าตันที่อยู่ชานเมืองแต่มีถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ตัดผ่าน สนทนากลุ่มกับชุมชนช้างม่อย-ท่าแพ และป่าตัน สัมภาษณ์เชิงลึกกับประชาชน 21 คนในชุมชนช้างม่อย-ท่าแพ สัมภาษณ์ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบาย 7 ท่าน จัดประชุมปรึกษาหารือกับส่วนราชการภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเพื่อเสนอแนะนโยบาย ผลการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (แยกรายผลกระทบ) 1. ความยากง่ายในการเข้าถึงกิจกรรมหรือบริการ มีความสะดวกต่อการเดินทาง 2. วิธีการสัญจรที่เสริมสุขภาพ สัดส่วนการใช้จักรยานและการเดินเท้าในปัจจุบันมีน้อยการเดินทางส่วนใหญ่ในผังเมืองรวมเชียงใหม่ใช้รถส่วนบุคคล (รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์) 3. อุบัติเหตุจราจร มีการใช้รถจักรยานยนต์กันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งเป็นรถที่มีอัตราเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง) ประกอบกับไม่มีระบบขนส่งสาธารณะในเมืองที่ได้มาตรฐานให้เป็นทางเลือก การลดอุบัติเหตุจราจรหรือยกระดับความปลอดภัยทางถนนในปัจจุบันยังไม่คืบหน้า 4. มลภาวะทางอากาศและเสียง สารมลพิษจากการจราจรได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ โอโซน ออกไซด์ของไนโตรเจน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ lสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbonc)และฝุ่น (Particulate Matter) ขนาดเล็กกว่า 2.5 และ 10 ไมครอน (PM 2.5 และ PM 10) ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก (เล็กกว่า 10 และ 2.5ไมครอน) เป็นปัญหาวิกฤติสำหรับเมืองเชียงใหม่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ถ้าปริมาณจราจรเพิ่มร้อยละ 6 ต่อปี และไม่มีมาตรการด้านการจราจรใดๆ 5. ผลกระทบทางสุขภาพจากมลภาวะ ระดับของฝุ่นในอากาศทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจการจราจรเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มความเข้มข้นของสารพีเอเอช (PAHs)ในอากาศในเขตเมือง สารพิษในกลุ่ม พีเอเอช เป็นสารก่อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ 6. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) สิ่งที่นักท่องเที่ยวเห็นว่าเป็นปัญหาคือมลภาวะและการจราจรอันได้แก่ การจราจรแออัด ระเบียบวินัยจราจรไม่ดี การเดินทางภายในจังหวัดไม่ค่อยได้รับความสะดวก ไม่มีรถเมล์เดินทางไปแหล่งท่องเที่ยว รถอื่นๆ เช่น รถสามล้อเครื่อง และแทกซี่สนามบินราคาแพงมาก มีการตั้งราคาเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ราคาไม่ชัดเจน 7. ผลกระทบทางสังคม มีทั้งทางบวกและทางลบ 8. ผลกระทบทางจิตวิญญาณ เชียงใหม่อย่างน้อยในอดีต เป็นเมืองแห่งศาสนา อยู่ร่วมกับและไม่เบียดเบียนทำลายธรรมชาติ เมื่อพูดถึงเชียงใหม่จะนึกถึงดอยสุเทพและน้ำตกห้วยแก้ว และความใสสะอาดของแม่น้ำปิง นอกเหนือจากธรรมชาติและศาสนาแล้ว เอกลักษณ์ของเชียงใหม่ คือ ความสามัคคี ความเห็นอกเห็นใจพึ่งพาอาศัยกัน ผู้คนอยู่ด้วยกันอย่างพึ่งพาอาศัย เชียงใหม่เป็นเมืองประวัติศาสตร์และมีประเพณีอันดีงาม แต่ปัจจุบัน คนไม่เอื้ออาทรกัน ความอดทนอดกลั้นและระเบียบวินัยสังคมน้อยลง ความเจริญที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลต่อความสามัคคีและความเห็นอกเห็นใจของผู้คนซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามก็กำลังเลือนหายไป แม้ว่าจะยังรู้สึกภูมิใจในความเป็นเมืองเชียงใหม่ แต่ความภูมิใจนั้นก็น้อยลงกว่าในอดีตและยังอยากที่มีวิถีชีวิตดังในอดีต | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Public Policy and Health Impact Assessment | en_US |
dc.subject | Environmental Health | en_US |
dc.subject | Chiangmai | en_US |
dc.subject | นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | อนามัยสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | เชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษาการพัฒนาเมืองและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ ระยะที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | Health impact assessment process by using the city and transpot development policy of Chiangmai as the case study second phase 2 | en_US |
dc.identifier.callno | WA754 ล333ก 2548 | en_US |
dc.identifier.contactno | 46ค092 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Impact Assessment | en_US |
dc.subject.keyword | Traffic Impact | en_US |
dc.subject.keyword | City Development | en_US |
dc.subject.keyword | ผลกระทบทางสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | การขนส่ง | en_US |
dc.subject.keyword | การพัฒนาเมือง | en_US |
.custom.citation | ลำดวน ศรีศักดา, Lumduan Srisakda, ศุวศา กานตนวนิชกูร, อำไพ ชนะกอก, ชมนาด พจนามาตร์, เทพินทร์ พัชรานุรักษ์, พีระศักดิ์ มะลิแก้ว, ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์, อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์, Suwasa Khantanawanitchakun, Ampai Chanokkok, Chomnard Potjanamart, Tapin Phacharanurak, Pherasak Malikaeow, Trongwut Doungratanaphan and Areerat Nirunsittirat. "การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษาการพัฒนาเมืองและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ ระยะที่ 2." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1405">http://hdl.handle.net/11228/1405</a>. | |
.custom.total_download | 175 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |