แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาระบาดวิทยาและผลการรักษาของผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคมะเร็งโลหิตวิทยาในประเทศไทย

dc.contributor.authorสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยth_TH
dc.contributor.authorThai Society of Hematologyen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:22Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:10Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:22Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:10Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1150en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1411en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาระบาดวิทยาโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา วิธีการรักษา การใช้เทคโนโลยีการวินิจฉัยและรักษา ผลการรักษาโรคผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคมะเร็งโลหิตวิทยา เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดแนวทางการรักษาโรคที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในการ ทำวิจัยร่วมสถาบันโลหิตแพทย์ทั่วประเทศ โดยการพัฒนาระบบการลงทะเบียนโรค (disease registry) มีโลหิตแพทย์จากสถาบันต่างๆ ที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้าร่วมในโครงการรวมทั้งสิ้น 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น โดยเก็บข้อมูลและติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาแบบบันทึกข้อมูล พัฒนาระบบการลงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เตรียมความพร้อมของบุคลากรเป็นเวลา 6 เดือนระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน 2546 และดําเนินการเก็บข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2546 เป็นต้นมา ตัดข้อมูลเพื่อทําการวิเคราะห์เบื้องต้น วันที่ 30 มีนาคม 2547 ผลการดําเนินการในเบื้องต้นสามารถเก็บข้อมูลผู้ป่วยได้รวมทั้งสิ้น 1,124 ราย (เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยระหว่าง 1 ก.ค. 2546 - 30 มีนาคม 2547 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 9 เดือน) ข้อมูลที่เก็บได้ในขั้นแรกนี้เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและอาการของผู้ป่วย เนื่องจากผลการรักษาต้องใช้เวลาในการติดตามผู้ป่วยต่ออีกอย่างน้อย 3 ปี ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ชนิดของโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุด คือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) ร้อยละ 51.2 รองลงมาคือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (acute leukemia)ร้อยละ 20.3 มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CML ร้อยละ 10.7, multiple myeloma ร้อยละ 7.7, ส่วน MDS, myeloproliferative disorder และ CLL พบน้อยมาก เพียงร้อยละ 4.4 , 3.9 และ 2.0 ตามลําดับ ผู้ป่วยเกือบทุกโรคเป็นชายและหญิงใกล้เคียงกันยกเว้นผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CML เป็นชายมากกว่าหญิงในอัตราส่วนประมาณ 3:2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคนและสูงอายุ อายุเฉลี่ย 52.5 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 28.1 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 15.6 เป็นผู้สูงอายุ และผู้ป่วยร้อยละ 56.5 ใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาพยาบาลร้อยละ 26.3 ใช้สิทธิสวัสดิการของรัฐบาลร้อยละ 6.8 ใช้สิทธิประกันสังคม และร้อยละ 8.7 จ่ายค่ารักษาเอง ผู้ป่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดเป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทองมากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและโรงเรียนแพทย์มีที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง มีสัดส่วนผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทองน้อยกว่าร้อยละ 20 ทั้งสิ้น ยกเว้นศิริราชที่มีผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 43.7 โรงพยาบาลรามาธิบดี และจุฬาลงกรณ์มีผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการราชการถึงร้อยละ 55.6 และ 46.5 ตามลําดับ ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการราชการมีแนวโน้มจะได้รับชุดยาเคมีบําบัดที่มีราคาแพงมากกว่าผู้ป่วยที่ใช้สิทธิอื่นในการรักษา และพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบร่วมด้วย ร้อยละ 12.2 ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยร้อยละ 8.3 ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าติดตามต่อไป การดําเนินการลงทะเบียนผู้ป่วยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของโครงการฯ ที่ผ่านมา มีปัญหาเนื่องจากต้องทําการแก้ไขและพัฒนาระบบเป็นระยะ ทําการลงทะเบียนได้ช้า เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตช้า หรือระบบ LAN ภายในสถาบันมีปัญหาจากการติดไวรัสคอมพิวเตอร์ u63246 ผู้ช่วยวิจัยในบางสถาบันไม่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เมื่อเกิดปัญหาในการลงข้อมูล เมื่อสิ้นสุดการดําเนินงานระยะที่ 1 แล้วทางโครงการฯ จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนการลงข้อมูลเป็นการส่งแบบบันทึกข้อมูลมายังศูนย์กลางเพื่อลงข้อมูลที่เดียวแทนการลงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และจะได้ดําเนินการเก็บข้อมูลส่วนที่เป็นผลการรักษารวมทั้งปรับให้ระบบการลงทะเบียนผู้ป่วยประสานไปกับระบบการให้บริการตามปกติเพื่อให้สามารถใช้ในงานประจําได้ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipโครงการเครือข่ายประสานงานวิจัยคลินิกสหสถาบันen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสมาคมen_US
dc.subjectHealth Prevention and Controlen_US
dc.subjectHealth Technology Assessment Systemen_US
dc.subjectEpidemiologyen_US
dc.subjectNeoplasms--therapyen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectระบบเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectระบาดวิทยาen_US
dc.subjectเนื้องอก--การรักษาen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาระบาดวิทยาและผลการรักษาของผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคมะเร็งโลหิตวิทยาในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeEpidemiology and clinical outcomes of the patients with hematologic malignancy : Thai Society of Hematologyen_US
dc.description.abstractalternativeAccording to advance technology now the patients who suffered from hematologic malignancy can be cured or at least live longer with better quality of life. However the standard treatments that were used internationally are costly and it is impossible to give best treatment to every Thai patient who suffered from hematologic malignancy due to shortage of budget and man power involved in this problem. In routine practice there are variation on investigations and treatments depend on the patients socio-economical status and health insurance scheme leading to difference cure rate and survival time of the patients. The suitable clinical practice guideline (CPG) for treatment of this group of disease in Thailand can not establish at present because of lacking basic data about the situation of these disease in our country. To establish disease registry of hematologic malignancy would give the information about epidemiology, variation of practice and clinical outcome which is useful for developing suitable CPG for treatment of hematologic malignancy in Thailand.The study was performed by establish the network of hematologist form 9 leading institute in Thailand who deliver treatment to this group of patients working together to create case record form. System of data collection and quality control concurrent with development of web base data entry system was done in the first 6 months of the project, starting on January 15, 2003. Then the process of data collection and data entry on web was performed during July 1, 2003 to March 30, 2004. The quality controlled and monitoring was performed concurrently. It was planned to register the patients and follow up them for at least 3 years.During the first 9 months of data collection there were 1,124 patients registered to the system. The diagnosis were malignant lymphoma 51.2%, acute leukemia 20.3%, CML 10.7%, multiple myeloma 7.7% . About the expense of treatment, 56.5% of the patients using universal health coverage or “30 baths” scheme, 26.3% using government welfare, 6.8% under social security scheme and 8.7% pay out of pocket. The patients who are under government welfare have tendency to receive more effective and expensive treatment than patients under other scheme. There is an interesting data that 12.2% and 8.3% of lymphoma patients infected by viral hepatitis and HIV consecutively.There are some problems about using web based data entry system. Even though it is good to get data on real time but it is rather difficult to manage because the internet system and local network of the participate institutes were attacked by virus computer several times. And some research assistants are not familiar to computer program. After first phase of study, the data entry will be changed to sending case record form to the center fordata entering instead of using web base system.en_US
dc.identifier.callnoQZ275 ส293ก 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค024en_US
dc.subject.keywordpatients with hematologic malignancyen_US
dc.subject.keywordโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาen_US
dc.subject.keywordผลการรักษาโรคมะเร็งen_US
.custom.citationสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย and Thai Society of Hematology. "การศึกษาระบาดวิทยาและผลการรักษาของผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคมะเร็งโลหิตวิทยาในประเทศไทย." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1411">http://hdl.handle.net/11228/1411</a>.
.custom.total_download203
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1150.pdf
ขนาด: 1.981Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย