dc.contributor.author | ชัยยศ คุณานุสนธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | Chaiyot Kunanusonthi | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:24Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:47:26Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:24Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:47:26Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.other | hs0702 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1415 | en_US |
dc.description.abstract | โรคเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย โรคเอดส์ เริ่มเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เมื่อมีการรายงานผู้ป่วยปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสติสอย่างผิดสังเกตในสหรัฐอเมริกา จากนั้น ก็มีการวางระบบเฝ้าระวังโรคในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อันทำให้สามารถรายงานผู้ป่วยเอดส์รายแรกได้ ในปี พ.ศ. 2527 และเนื่องจากในระยะแรก การระบาดวนเวียนอยู่ในกลุ่มชายรักร่วมเพศ หรือรักสองเพศ ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มผู้ที่มีความสนิทสนมกับชาวต่างประเทศ ทำให้เข้าใจผิดกันว่า เอดส์ เป็นโรคของชาวต่างชาติ การควบคุมป้องกันในหมู่คนไทย ไม่น่าจะมีความจำเป็นนัก จนกระทั่งกองกามโรค ได้เป็นแกนกลาง ในการรณรงค์ ดึงความร่วมมือจากภาคีต่าง ๆ ด้วยการใช้ข้อมูลระบาดวิทยา เป็นเครื่องมือสำคัญในการชักจูง กิจกรรมการศึกษา ควบคุม ป้องกันโรคเอดส์ และการติดเชื้อเอชไอวี จึงก้าวหน้าขึ้น และมีการจัดตั้งกองโรคเอดส์ ในปี พ.ศ. 2533 การระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ ในประเทศไทย ขยายสู่กลุ่มรักต่างเพศ และสู่ประชากรทั่วไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะได้วางมาตรการป้องกันควบคุมตั้งแต่แรกแล้ว ในปี พ.ศ. 2543 ค่ามัธยฐานความชุกการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ อยู่ที่ประมาณ 1.5% ความชุกในกลุ่มชายไทยอายุ 21 ปี ที่รับราชการทหาร 1.8% นับว่าสูงอย่างน่าวิตก ทำให้รัฐบาลและภาคีต่าง ๆ ในประเทศไทย ร่วมมือกันรณรงค์ ควบคุมป้องกันปัญหานี้อย่างพร้อมเพรียง จากการคาดประมาณที่ใช้ข้อมูลถึงปี พ.ศ. 2543 เชื่อว่า ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา สามารถป้องกันประชาชนจากการติดเชื้อนี้ได้นับล้านคน ภาระหน้าที่ในช่วงต่อไป นอกจากการป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ คือการสร้างระบบดูแลรักษา และบริการทางการแพทย์ สำหรับผู้ติดเชื้อแล้ว ที่มีกว่าเก้าแสนคน มาตรการป้องกันที่ละเลยไม่ได้ คือ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของประชาชน ทั้งการสนับสนุนถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการสนับสนุนเข็ม กระบอกฉีดยา และน้ำยาฆ่าเชื้อ สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากยาเสพติด สำหรับมาตรการระยะยาว ได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้คน ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีศักยภาพในการป้องกันตนเอง และลด หรือ หยุดการระบาดของเอดส์ในสังคมให้ได้ การวิจัย ทั้งด้านชีววิทยาการแพทย์ ระบาดวิทยา และสังคมศาสตร์ มีความก้าวหน้าจนทำให้เข้าใจกระบวนการระบาดว่า มีสองกลุ่มพร้อมกัน คือ กลุ่มเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด เข้าใจว่า คนไทยมีระดับเม็ดเลือดขาว CD4 ต่างจากชาวตะวันตก และทราบถึงปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการระบาดของเอดส์ แต่ก็ยังมีหัวข้อการวิจัยอีกมาก ที่ต้องร่วมกันศึกษาเพิ่มเติมอีก เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการหยุดหรือชะลอการระบาดให้ได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1418771 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Epidemiology | en_US |
dc.subject | AIDS | en_US |
dc.subject | HIV | en_US |
dc.subject | โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม -- ไทย | en_US |
dc.subject | การป้องกันและควบคุมโรค | en_US |
dc.title | โรคเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | HIV infection and AIDS in Thailand | en_US |
dc.description.abstractalternative | HIV Infection and AIDS in ThailandThe Acquired Immune-deficiency Syndrome(AIDS) was recognized in 1991 when a cluster of pneumocystis carinii pneumonia was reported in the United States. Disease surveillance systems were sets up in several countries including Thailand so that the first case in Thailand was reported in 1994. Because the epidemic was confined to special groups ie. Homosexual men, injecting drug users, and commercial sex workers during the first year, health authorities misunderstood that AIDS was disease of the foreigners and interventions for the Thais were not necessary. Control measures started in late 1980's, from Veneral Disease (STD) division using epidemiological data to propose justified control measures. The AIDS Division was extablished in 1990 to coordinate national activities. During the 1990's, the epidemic expanded to general population through heterosexual people especially those who visited commercial sex establishments and through casual sex later. The median infection rates among women attending ante-natal care (ANC) clinics and 21 year old Thai men were 1.5 The essential control measure now is to reduce risk per act among sex and drug related population through condom promotion and needle exchange with bleach supply. Long term goal is to promote and maintain safe behaviors which will enable individuals, families, and society to protect themselves and their society. Biomedical, epidemiological, and social research studies allow as to understand patterns and determinants of the epidemic that there had been two distinct epidemics among sex and drug acquired populations. Studies also allow us to learn the difference of normal ranges of CD4 between Thai and Caucasian people. More studies are in great need for rapid and effective control measures. | en_US |
dc.identifier.callno | WC503.6 ช216ร 2543 | en_US |
dc.subject.keyword | เอชไอวี | en_US |
dc.subject.keyword | ระบาดวิทยา | en_US |
.custom.citation | ชัยยศ คุณานุสนธิ์ and Chaiyot Kunanusonthi. "โรคเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1415">http://hdl.handle.net/11228/1415</a>. | |
.custom.total_download | 328 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |