Show simple item record

The project of developing the mechanisms and macroindicators of monitoring and evaluation primary care systems in Thailand

dc.contributor.authorสำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.contributor.authorHealth Care Reform Projecten_US
dc.contributor.authorเครือข่ายวิจัยและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิth_TH
dc.contributor.authorสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:28Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:28Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1308en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1420en_US
dc.descriptionรายงานผลการศึกษาโครงการพัฒนาและติดตามประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทยth_TH
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนากลไกการกำกับประเมินผล และชุดตัวชี้วัดในด้านผลลัพธ์งานของระบบบริการปฐมภูมิที่วัดผลและเปรียบเทียบกันได้ระหว่างหน่วยบริการในพื้นที่ต่างๆ มากกว่าตัวชี้วัดที่กระบวนการบริการ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในกระบวนการดำเนินงานที่แตกต่างกันได้ตามสภาพพื้นที่ แต่หากไม่สามารถวัดที่ผลลัพธ์งานได้ ก็ใช้ตัวชี้วัดของคุณภาพกระบวนการดำเนินงานแทน ชุดตัวชี้วัดที่พัฒนามุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ของระบบบริการปฐมภูมิที่สัมพันธ์กับความสามารถของระบบในด้านความเสมอภาค คุณภาพ ความมีประสิทธิภาพ และการตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการพึ่งตนเองของประชาชน การพัฒนาตัวชี้วัด และระบบติดตาม ประเมินผล ในการศึกษานี้ จะเป็นการศึกษาที่ใช้หลักการทฤษฎี ประกอบกับตัวอย่างการดำเนินงานจริงในพื้นที่ รวมทั้งใช้เป็นเงื่อนไขในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาและกลไกการกำกับ ประเมินผลหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิไปพร้อมกัน การศึกษานี้ใช้กระบวนการทบทวนเอกสาร เกี่ยวกับระบบบริการปฐมภูมิ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องร่วมกับการประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาชุดตัวชี้วัดที่เหมาะสม และมีการศึกษาระบบข้อมูลและกระบวนการเก็บข้อมูลของหน่วยบริการในพื้นที่ศึกษา เพื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ข้อมูลจริง และความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดนั้นๆ แล้วนำมาคัดกรองหาตัวชี้วัด และตัววัดที่เหมาะสม และ นำไปทดลองเก็บข้อมูลในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ที่มีบริบทแตกต่างกันทั้งที่เป็นลักษณะเมืองชนบท ในส่วนภูมิภาค 18 อำเภอ (44 หน่วย) และเขตกรุงเทพฯ 6 เขต วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาคัดเลือกชุดตัวชี้วัด และกระบวนการติดตามที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอต่อไป จากผลการศึกษา พบว่า ในประเทศต่างๆ ทางตะวันตกส่วนใหญ่เน้นการประเมินระบบบริการสุขภาพ ในภาพรวมทั้งระบบที่รวมบริการทุกระดับ ส่วนตัวชี้วัดที่ประเมินหน่วยบริการปฐมภูมิจะเน้นที่การประเมินผลบริการทางคลินิก เน้นด้านการรักษาพยาบาลเป็นหลัก ไม่มีผลลัพธ์บริการทางด้านการ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เนื่องจากบริบทของหน่วยบริการปฐมภูมิในต่างประเทศให้บริการทางด้านการรักษาพยาบาลเป็นหลัก และมีบางประเทศเช่น สหราชอาณาจักรที่มีการประเมินในด้านคุณภาพของกระบวนการของหน่วยบริการปฐมภูมิ แต่ไม่ได้ประเมินที่ผลลัพธ์บริการด้านการส่งเสริม ป้องกัน ฉะนั้นในการศึกษานี้จึงต้องพัฒนาชุดตัวชี้วัด จากการแปลแนวคิด หลักการของระบบบริการปฐมภูมิที่ดี และคัดเลือกงานที่ประเมินจากบริบทที่เหมาะสมกับประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Reformen_US
dc.subjectHealth Serviceen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะ--สุขภาพและอนามัยen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectสุขภาพ--การประเมินen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectPrimary Health Careen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.titleการพัฒนาและติดตามประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe project of developing the mechanisms and macroindicators of monitoring and evaluation primary care systems in Thailanden_US
dc.identifier.callnoWA754 ก218ก [2549]en_US
dc.identifier.contactno47ค066en_US
.custom.citationสำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข, Health Care Reform Project, เครือข่ายวิจัยและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ and สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. "การพัฒนาและติดตามประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทย." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1420">http://hdl.handle.net/11228/1420</a>.
.custom.total_download927
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year26

Fulltext
Icon
Name: hs1308.pdf
Size: 7.290Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record