Show simple item record

Health system refrom in Canada

dc.contributor.authorธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์th_TH
dc.contributor.authorTeerakiat Jareonsettasinen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:51:16Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:51:16Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0875en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1428en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการทบทวนการปฏิรูประบบสุขภาพในประเทศแคนาดา เพื่อต้องการนำเสนอรูปแบบระบบสุขภาพของประเทศแคนาดา แสดงถึงการกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพตลอดจนประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง สุดท้ายต้องการสังเคราะห์บทเรียนจากการทบทวนเพื่อเสนอแนะต่อการปฏิรูประบบสุขภาพในประเทศไทย ข้อมูลการทบทวนมาจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ และหนังสือที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะโฮมเพจขององค์กรสุขภาพในประเทศแคนาดา นอกจากนั้นข้อมูลยังได้จากการสัมภาษณ์นักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ศึกษาในประเทศแคนาดา ประเด็นในการทบทวนประกอบด้วย ระบบประกันสุขภาพ ระบบการให้บริการ ระบบการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพ การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพและระบบการคุ้มครองผู้บริโภคจากงานบริการสุขภาพ จากการศึกษานี้พบว่าระบบสุขภาพของประเทศแคนาดา พัฒนาภายใต้กรอบหลักการ 5 ประการ 1) การบริหารจัดการโดยภาครัฐ 2) การให้บริการที่ครอบคลุมครบถ้วน 3) การให้บริการที่ครอบคลุมถ้วนหน้า 4) การเข้าบริการถึงได้ง่าย และ 5) สามารถรับบริการในที่ต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศได้โดยที่ระบบประกันสุขภาพยังให้การคุ้มครอง งานบริการสุขภาพในประเทศแคนาดา ให้โดยภาคเอกชนดำเนินการเป็นหลัก ส่วนด้านเงินสนับสนุนโดยภาครัฐโดยใช้ระบบฐานภาษีเก็บเงินเข้ากองทุน การจ่ายเงินให้แก่ผู้ให้บริการเป็นแบบ fee-for-service สำหรับงานบริการที่ไม่ได้อยู่ในชุดบริการพื้นฐาน ผู้รับบริการต้องซื้อประกันเอกชนคุ้มครองด้วยตนเอง ระบบการให้บริการมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (general practitioner, GP) เป็นผู้ให้บริการหน้าด่านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนใหญ่ลงทุนไปกับบุคลากรสุขภาพ เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายดังกล่าว ระบบพยายามสนับสนุนการใช้บุคลากรสุขภาพข้างเคียงต่างๆ ที่มีการลงทุนการพัฒนาต่ำกว่าการลงทุนพัฒนาแพทย์รวมทั้งแพทย์เฉพาะทางและพยายามลดอัตราการการเพิ่มขึ้นของแพทย์ สำหรับระบบการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพจะใช้คณะกรรมการของรัฐช่วยในการตัดสินใจต่อการลงทุนเทคโนโลยีและการกระจายเพื่อให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคมีองค์กรต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในหลายระดับเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดกับทุกฝ่าย ข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิรูประบบสุขภาพในประเทศไทย ประกอบด้วย การผลักดันให้เกิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมทิศทางการพัฒนา ควรที่จะใช้ระบบประกันสุขภาพภายใต้กองทุนเดียวดีกว่าหลายกองทุน ความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพบริการและระบบสารสนเทศด้านสุขภาพที่มีประสิทธิผลและการปฏิรูปต้องอาศัยการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องและที่สำคัญ หลักการความทัดเทียมกันต้องเป็นหลักการที่ทำให้เกิดขึ้นจริงในทุกๆ ส่วนของการปฏิรูปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1245967 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Reform--Canadaen_US
dc.subjectHealth Systems Reform--Canadaen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพ--แคนาดาth_TH
dc.subjectบริการสุขภาพ--แคนาดาth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ--แคนาดาth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีทางการแพทย์- แคนาดาth_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ--แคนาดาth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศแคนาดาth_TH
dc.title.alternativeHealth system refrom in Canadaen_US
dc.identifier.callnoWA540.DC2 ธ663ก 2544en_US
dc.identifier.contactno43ค026en_US
.custom.citationธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ and Teerakiat Jareonsettasin. "การปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศแคนาดา." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1428">http://hdl.handle.net/11228/1428</a>.
.custom.total_download367
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year27
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs0875.pdf
Size: 1.281Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record