dc.contributor.author | วิจิตร ระวิวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | Wichit Rawiwong | en_US |
dc.contributor.author | ชาย ธีระสุต | en_US |
dc.contributor.author | ประวิ อ่ำพันธ์ุ | en_US |
dc.contributor.author | ทิพากรณ์ โพธิ์ถวิล | en_US |
dc.contributor.author | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:36Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:24:17Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:36Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:24:17Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.other | hs0734 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1438 | en_US |
dc.description.abstract | ลักษณะปัญหาการรับบริการสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพ 5 ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันและผู้รับบริการที่อยู่นอกระบบประกันสุขภาพ 2) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้านการดำเนินการที่เป็นปัญหาต่อผู้รับบริการ 3) วิเคราะห์แบบแผนการใช้บริการสุขภาพของประชาชนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 4) วิเคราะห์ปัญหาการรับบริการซึ่งเกิดจากจุดอ่อนของระบบและคุณภาพการให้บริการ และ 5) เสนอแนะแนวทาง/กลไกที่จะนำไปสู่การปรับระบบการบริหารจัดการบริการสุขภาพระดับชาติ วิธีการวิจัยเป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพ 5 ระบบๆ ละ 400 ราย และผู้รับบริการที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 400 ราย รวม 2,400 ราย ในจังหวัดสมุทรปราการ เชียงใหม่ ปัตตานี และศรีสะเกษ การวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจากการจัดกลุ่มเสวนา 9 กลุ่ม กรณีศึกษา 12 กรณี และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริการสุขภาพและผู้บริหารระดับสูง 9 ท่านผลการศึกษาซึ่งตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สรุปได้ดังนี้ผู้รับบริการในทุกระบบประกันประสบปัญหาเมื่อไปรับบริการเป็นต้นว่า เจ้าหน้าที่ไม่ใคร่กระตือรือร้นในการให้บริการ ต้องรอแพทย์นาน แพทย์ใช้เวลาในการตรวจน้อย และไม่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วย สถานพยาบาลที่กำหนดให้ไม่สะดวกในการเดินทาง ระเบียบการส่งต่อผู้ป่วยยุ่งยาก มีความวิตกกังวลในคุณภาพของยาที่ได้รับ ไม่มั่นใจในการวินิจฉัยโรค ผู้รับบริการทุกระบบมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล ถ้าไปรับการรักษาโดยไม่แสดงบัตรก็มีฐานะเช่นเดียวกับผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพที่เจ็บป่วยเรื้อรังไม่สามารถเข้าถึงระบบสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเดือดร้อนเพราะค่าใช้จ่ายสูงเกินความสามารถในการจ่ายปัญหาด้านการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการ เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ออกบัตรไม่ได้อธิบายให้เข้าใจสิทธิประโยชน์ของแต่ละระบบประกัน เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจสิทธิของผู้มีหลักประกันสุขภาพ งบประมาณต่อหัวที่ได้รับจากรัฐสำหรับผู้ป่วยบัตร สปร.น้อย ทำให้สถานบริการมีความลำเอัยงในการให้บริการโดยให้น้อยเกินไปสำหรับผู้ใช้สิทธิบางระบบที่เบิกได้น้อย และมากเกินไปสำหรับผู้ใช้สิทธิบางระบบที่เบิกได้มาก หรือปฏิเสธผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมารับการรักษาเนื่องจากปัญหาในการเบิกเงินระหว่างสถานพยาบาลซึ่งมีการค้างจ่ายมาก ผู้รับบริการได้รับผลกระทบจากการที่แพทย์และเจ้าหน้าที่ได้ค่าตอบแทนน้อยไม่เป็นแรงจูงใจในการให้บริการซึ่งเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพของบริการประชาชนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพส่วนหนึ่งมีศักยภาพในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เอง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถจ่ายได้เลยหรือจ่ายได้เพียงบางส่วน แบบแผนการใช้บริการของประชาชนกลุ่มนี้ ถ้าเจ็บป่วยไม่รุนแรงหรือเริ่มเจ็บป่วยจะไปซื้อยากินเอง หรือไปคลินิกแพทย์ การใช้บริการโรงพยาบาลจะน้อยกว่าประชาชนที่มีหลักประกันคุณภาพ ถ้าเป็นผู้ป่วยนอกค่าใช้จ่ายไม่สูงจะพอพึ่งพาตนเองได้ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยในเตียงสามัญ พยาบาลมักแนะนำให้ซื้อบัตรสุขภาพหรือให้ไปพบนักสังคมสงเคราะห์ หากมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์หลักประกันสุขภาพได้ นักสังคมสงเคราะห์จะแนะนำให้ไปติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบบประกันสุขภาพแต่ละระบบมีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข ในภาพรวมการซ้ำซ้อนของสิทธิและการขาดความต่อเนื่องของการมีสิทธิในหลักประกันทำให้การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องยากและเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ งบประมาณที่ไม่เพียงพอมีผลกระทบต่อมาตรฐานของสถานพยาบาล กลไกในการจ่ายเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมของฝ่ายผู้ให้บริการ ขณะที่การใช้บริการโดยไม่ต้องจ่ายเงินเองทำให้ผู้รับบริการมีแนวโน้มใช้บริการเกินความจำเป็นคณะผู้วิจัยเห็นว่าข้อเสนอที่จะมีระบบประกันสุขภาพระบบเดียวสำหรับประชาชนทุกคนอาจเป็นไปได้ยากเมื่อพิจารณาตามสภาพการณ์ของประเทศไทย เนื่องจากความสามารถในการเสียภาษีและเก็บภาษีของเราไม่ทัดเทียมกับประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ระบบนี้ สิ่งที่ควรเร่งรีบดำเนินการคือการปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยให้ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีความจำเป็นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองสำหรับบริการที่ไม่จำเป็น สำหรับประชาชนที่ไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายให้มีช่องทางการเข้าถึงบริการชุมชนซึ่งรัฐอาจให้การสนับสนุนในระยะเริ่มแรก | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2891122 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Service | en_US |
dc.subject | Health Insurance | en_US |
dc.subject | Health Card Scheme | en_US |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบประกันสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.title | ลักษณะปัญหาการรับบริการสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพต่างๆ | en_US |
dc.title.alternative | The characteristics of problem in health service utilization under different health insurance schemes | en_US |
dc.description.abstractalternative | The characteristics of problems on health service utilization under different health insurance schemesThis research aims at analyzing conditions and problems of health service consumers under current five insurance programs and of a group of consumers who are not covered by the systemproblems of health service delivery affecting the consumermode of health service utilization of the consumers who are not insured problems caused by weaknesses of the five schemes and the quality of service andproposing guidelines and machinery leading to the development a national health service system. The research in both quantitative and qualitative. The quantitative study involves the interviews of 2,400 consumers consisting of 400 each from the five different schemes and another 400 from non insured group in 4 provinces namely Samutprakarn, Chiengmai, Pattani, and Srisaket. The qualitative study involves the administration of 9 focus groups, 12 case studies and interviews with 9 resource persons. The objectives of the research are hereby responed: Problem encountered by all groups of consumers in clouding the non-insured are the lack of promptness on part of public providers; the long waiting for the doctors, the limited time spent for the examination and diagnosis with no explanation on symptoms of the illness; difficulty to commute to and from the designated health centers.Problems relating to the implementation which affect the consumers are lacks of sufficient information on benefits under the schemes by the insurers and lack of good coordination among them; inappropriate subsidization for the free medical care consumers; moral hazard and adverse selection; refusal to receive reffered patients due to reimbursement difficulty; and inefficient service due to unreasonable financial incentives managed by central administration. 3) Only the non-insured minority are capable to pay for their own medical expenses. In case of minor illness, the non-insured would go to the drug stores or private clinics. Their utilization of hospital service is less compared to all of the insured groups. Most of them can depend on themselves for out-patient charges. Most of them can depend on themselves for out-patient charges. Non-insured patients with high cost of expenditures are sometimes advised by the nurse to buy health card or to consult with hospital social workers for appropriate assistance. The number of the non-insured could be much decreased upon efficient health campaigns. Each of the health insurance schemes has its strengths and weaknesses. Collectively speaking, the duplication as well as the discontinuation of rights undermine the reliability of the data used for effective planning. Insufficient subsidization has and impact on the important factors determining provider's behavior. Good accessibility to free service enhances the beneficiaries to overuse the service. 5) The researchers have some reservations over adopting one single insurance system for the "health for all" policy. We might not be able to adopt the system that has been proved successful in many developed countries due to our people's limited ability to pay tax on the one side, and the eddiciency of tax collection on the other. The authorities should timely consider the introduction of pay mechanism by which all consumers receive free essential service and pay only for non-essential service. | en_US |
dc.identifier.callno | W100 ว522ล 2543 | en_US |
dc.subject.keyword | บริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | ประกันสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | วิจิตร ระวิวงศ์, Wichit Rawiwong, ชาย ธีระสุต, ประวิ อ่ำพันธ์ุ, ทิพากรณ์ โพธิ์ถวิล and ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. "ลักษณะปัญหาการรับบริการสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพต่างๆ." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1438">http://hdl.handle.net/11228/1438</a>. | |
.custom.total_download | 240 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 9 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |