แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สิทธิมนุษยชนกับสุขภาพ : บทสำรวจเบื้องต้นเพื่อทบทวนและท้าทายองค์ความรู้

dc.contributor.authorสุรสม กฤษณะจูฑะth_TH
dc.contributor.authorSurasom Krisanajutaen_US
dc.contributor.authorสันติพงษ์ ช้างเผือกth_TH
dc.contributor.authorธวัช มณีผ่องth_TH
dc.contributor.authorอุ่นใจ เจียมบูรณะกุลth_TH
dc.contributor.authorรัชนี นิลจันทร์th_TH
dc.contributor.authorSantipong Changphueaken_US
dc.contributor.authorTawan Maneephongen_US
dc.contributor.authorUnchai Chaimburanakulen_US
dc.contributor.authorRatchanee Ninchanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:38Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:56Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:38Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:56Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1067en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1445en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษาทบทวนแนวความคิดว่าด้วย “สิทธิมนุษยชน” และ “สุขภาพ” เพื่อนำมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผสมผสาน และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองแนวคิดข้างต้น โดยใช้กรอบคิดเรื่อง “การนิยามความหมายทางสังคม” ผนวกกับการประยุกต์แนวความคิดทางสังคมอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจความหลากหลายของการนิยามความหมายของแนวคิด “สุขภาพ” และ “สิทธิมนุษยชน” งานวิจัยชิ้นนี้ได้จัดจำแนกฐานคติของการนิยามความหมายสุขภาพไว้ 3 กระบวนทัศน์คือ กระบวนทัศน์แรก เป็นการนิยามความหมายสุขภาพปัจเจกชน ซึ่งมองสุขภาพอย่างแยกส่วนและมีเป้าหมายมุ่งไปที่การรักษาสุขภาพกาย กระบวนทัศน์ที่สองคือกระบวนทัศน์สุขภาพสาธารณะ มีฐานคติของการมองสุขภาพในระดับการจัดบริการสาธารณสุขหรือการปรับปรุงสภาพแวดล้อม อันเป็นปัจจัยภายนอก เพื่อเอื้อให้ปัจเจกชนมีสุขภาพที่ดี บางครั้งสุขภาพสาธารณะอาจถูกตั้งคำถามในระดับปรัชญาว่า มุ่งรักษาสุขภาพของคนส่วนใหญ่ แต่ได้กีดกันหรือทำลายสุขภาพของคนส่วนน้อย กระบวนทัศน์สุดท้ายคือกระบวนทัศน์สุขภาพสังคม มีฐานคติมองสุขภาพอย่างองค์รวม ซึ่งมองเหตุปัจจัยแห่งสุขภาพมาจากปัจจัยอันซับซ้อน ทั้งในระดับวิถีชีวิต ในระดับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อมแนวคิดสิทธิมนุษยชน ผู้วิจัยได้ถกเถียงถึงฐานรากทางความคิดสำคัญอยู่ 6 ประการคือ แนวคิดมนุษยภาพ ที่เน้นการเคารพความเป็นมนุษย์ แนวคิดอิสระภาพที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน แนวคิดความเป็นสากลที่มองว่ามนุษย์ทุกคนเหมือนกัน แนวคิดความเสมอภาคเน้นความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ แนวคิดความเป็นเหตุผล เน้นเคารพในเหตุผลมากกว่าความรู้สึก แนวความคิดประโยชน์นิยม เป็นแนวคิดที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ แต่เมื่อสิทธิมนุษยชนถูกนำมาใช้ทางปฏิบัติกลับพบกับความขัดแย้งของแนวคิดพื้นฐานข้างต้น เช่น ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่กับส่วนน้อย หรือขัดแย้งระหว่างปรัชญากับการปฏิบัติ การนิยามความหมายของสิทธิมนุษยชนมีลักษณะสัมพัทธ์ ทำให้สิทธิมนุษยชนอาจมีการตีความไปตามเงื่อนไขบริบทแต่ละวัฒนธรรมซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้น ภายใต้ความลักลั่นทางปรัชญาและการเปิดกว้างให้มีการผสมผสานความรู้จากแหล่งต่างๆ กระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเมื่อเชื่อมโยงโน้มนำแนวความคิดสุขภาพเข้ากับสิทธิมนุษยชน สังเคราะห์เป็นแนวคิดสิทธิสุขภาพ พบว่าการเชื่อมโยงสองแนวคิดข้างต้นจะขึ้นอยู่กับบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม หรือขึ้นอยู่กับกาละเทศะอันเฉพาะเจาะจง แนวคิดสิทธิสุขภาพของประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูง เช่น การทรมานนักโทษ สิทธิสุขภาพก็จะเน้นไปที่การเรียกร้องให้ชุมชนแพทย์เข้ามาแสดงบทบาทในการยับยั้งการละเมิดสิทธิ แต่ในสังคมที่ยากจน สิทธิสุขภาพอาจเป็นประเด็นของการเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นหลัก ในกรณีสังคมไทย สิทธิสุขภาพมีความหมายกว้างขวางมาก มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา 3 ระดับ คือ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกี่ยวโยงกับประเด็นเพศสภาพ ผู้บริโภค คนพิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น ระดับที่สองต้องพิจารณาในเชิงสถาบันหรือโครงสร้างสังคม ซึ่งได้หยิบยกกรณีศึกษากรณีสุขภาพของชาวบ้านแม่เมาะที่เผชิญหน้ากับปัญหามลพิษของโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหิน และกรณีศึกษาสุขภาพของคนงานต่างด้าว ในระดับที่สาม พิจารณาในระดับความรู้ พบว่า กระบวนการกีดกันเบียดขับหรือการละเมิดสิทธิไม่ได้กระทำกับคนโดยตรงเท่านั้น แต่ยังได้กระทำกับ “ความรู้” ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเฉพาะความรู้ท้องถิ่น ทำให้มิติมุมมองต่อแนวคิดสิทธิ สุขภาพได้แผ่ขยายไปยังมิติที่ซับซ้อนยิ่งการพิจารณาสถานการณ์ความเป็นไปของโลกซึ่งมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จักต้องเท่าทันความไม่หยุดนิ่งดังกล่าว ฉะนั้น เมื่อพิจารณาประเด็นการละเมิดสิทธิหรือการทำลายสุขภาพซึ่งมีแนวโน้มที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกทีนั้น เป็นปัญหาอันละเอียดอ่อนลึกซึ้ง และกระทบต่อคนทุกชนชั้น การผูกประสานทางความคิดระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพจึงมีความสำคัญยิ่ง การหยิบเลือกมิติที่สร้างสรรค์ของความคิดมาสังเคราะห์ผสมผสาน หากนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เหตุปัจจัยแห่งทุกข์ร่วมสมัย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขทุกข์ที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม ก็จะเป็นวิถีในการยกระดับให้การแก้ไขปัญหาสังคมไม่ให้ผูกติดอยู่กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือแก้ไขแบบแยกส่วนทีละจุด แต่เป็นการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นระยะยาวไปพร้อมๆ กัน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ทอดทิ้งผู้ที่อ่อนแอไว้อยู่เบื้องหลัง นี่เป็นหนทางแห่งการร่วมสร้างกระบวนทัศน์สิทธิสุขภาพให้มีพลัง ในการเอื้อให้ปัจเจกชนสามารถพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ เป็นหนทางในการสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรม และเคารพต่อธรรมชาติแวดล้อมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2739722 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHuman Rightsen_US
dc.subjectHealthen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectสิทธิมนุษยชนen_US
dc.subjectอนามัย,บริการen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพ : บทสำรวจเบื้องต้นเพื่อทบทวนและท้าทายองค์ความรู้th_TH
dc.title.alternativeHuman rights and healthen_US
dc.description.abstractalternativeThis research reviews the notions of social concepts namely human rights and health in order to offer comparison, analysis, synthesis, integrate and bridge the link between human rights and health by applying a theoretical framework called “a social construction of meaning” and various other social concepts. The purpose of the review is fundamentally an attempt to understand the diverse definitions of health and human rights. The understanding of health is divided into three sections. The first notion is “individual health” which takes fragmented perspectives that aim to treat mainly the physicality. The second notion is “public health” in which varying forces on the public health service and the improvement of the public environments that create good external conditions for health. This second notion is sometimes philosophically questioned whether it aims for good health of the majority by excluded or destroyed good health for the minority. The final notion is “social health” which is a holistic approach to health. It takes various considerations of causes and effects on health as a complex many with levels such as in the level of mode of living, in the level of economic, socio-political structure and the level of the natural environment.The notion of human right: the researcher presents six major notions 1) humanist with emphasis on the respecting of human life. 2) liberalist promote liberty and freedom. 3) universalist that see the human being are all the same. 4) egalitarianist emphasis on the equality among human being and does not accept the special privilege to particular group. 5) rationalist emphasis on reason more than emotion. 6) utilitarianist which gives important to the protection of the majority right. However, when the human right ideal is applied in practice, it conflicts with concrete situations. For example, the conflict between the profit of the majority and the minority or the conflict in the level of philosophy and practice. The meaning of human rights is relative because it can provide possibilities of diverse interpretation in different socio-cultural contexts. Thus under the relative ambiguity of philosophy and the possibility of applying knowledge in various contexts, the process of learning about human rights takes an important role.The interrelation between the notion of health and humans right link the concept of right of health. The application of these two concepts changes in various socio-historic contexts and in particular space and time. In a context of high abuse of human rights, for instance in the tortured of the prisoners, the right of health would demand that the medical staff take a role to stop this human rights abuse. On the contrary, in a poor society the right of health would mainly take the issues of the right of access public health services. In the Thai context the rights to health cover a vast area of meaning. It should involve three levels of consideration. On the level of daily life it raises the issues of gender, consumers, disabled people and the Aids patients. On a second level, it should take consideration of institutional or social structures. The research has taken the controversial issues of Mae moh, which suffer from the pollution of electric generator and lichnite industry, and the issues of the health of the immigrants. The third, the level of knowledge, the findings show clearly that the marginalization or the abuse of rights is not only influecing human beings, but also the body of knowledge, especially local knowledge. Therefore, the understanding of right of health penetrates into issues that are more complex.In order to obtain an accurate understanding of the present world which is always on the move, we have to take a serious consideration of the constant changes. Therefore when we once examine the abuse of rights or dangers to health which take place in more complex ways, affects all levels of people, the integration of the notion of health and right takes an important role. The constructive selection of certain aspects of the health right is a means to examine the causes of temporary sufferings in order to deal with the problems proper to different social contexts. Thus will be the way to solve the problems through more holistic sustainable and systematic approach. In addition, it aims at resolving problems in the short term and in the long run without leaving behind the weak. Therefore, in this way of proceeding we will be able to construct the powerful concept of “health rights” in order to provide means for individuals striving for the development of human capacities, to create the just society and respect for natural environment.en_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ส855ส 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค031en_US
dc.subject.keywordindividual healthen_US
dc.subject.keywordpublic healthen_US
dc.subject.keywordsocial healthen_US
dc.subject.keywordสุขภาพปัจเจกชนen_US
dc.subject.keywordสุขภาพสาธารณะen_US
dc.subject.keywordสุขภาพสังคมen_US
dc.subject.keywordแนวคิดสุขภาพen_US
dc.subject.keywordแนวคิดสิทธิมนุษยชนen_US
dc.subject.keywordสิทธิสุขภาพen_US
.custom.citationสุรสม กฤษณะจูฑะ, Surasom Krisanajuta, สันติพงษ์ ช้างเผือก, ธวัช มณีผ่อง, อุ่นใจ เจียมบูรณะกุล, รัชนี นิลจันทร์, Santipong Changphueak, Tawan Maneephong, Unchai Chaimburanakul and Ratchanee Ninchan. "สิทธิมนุษยชนกับสุขภาพ : บทสำรวจเบื้องต้นเพื่อทบทวนและท้าทายองค์ความรู้." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1445">http://hdl.handle.net/11228/1445</a>.
.custom.total_download191
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1067.pdf
ขนาด: 1.815Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย