dc.contributor.author | สุภาภรณ์ เตโชวาณิชย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Supaporn Techowanit | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:54Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:31:58Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:54Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:31:58Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs1096 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1484 | en_US |
dc.description.abstract | ปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลประกาศสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชนทุกคน ตามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ครอบคลุมขอบเขตทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนทุกคนมีความรับรู้และเข้าใจใกล้ชิดกับนโยบายฯ แตกต่างจากเมื่อปี พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตามยังมีข้อถกเถียงกันว่า แนวคิดของสังคมเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และความเป็นธรรมทางสุขภาพ ยังแตกต่างกันหลากหลาย บ้างต้องการให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหวนกลับไปสู่นโยบายเจาะกลุ่มเป้าหมายคนจน เพราะจะประหยัดงบประมาณของรัฐในการดำเนินงาน บ้างต้องการให้รัฐใช้โอกาสนี้ในการย้ำอย่างชัดเจนว่า นโยบายนี้ต้องการครอบคลุมเป้าหมายประชาชนทุกคนโดยไม่แบ่งแยกฐานะ จึงสมควรทำการวิจัยเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของบุคคลกลุ่มต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปและประสบการณ์เปลี่ยนแปลง และแนวคิดของประชาชนจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้รับผิดชอบด้านนโยบายสำคัญ พัฒนานโยบายต่ออย่างตรงความต้องการของประชาชนมากที่สุด กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนในครัวเรือนของโครงการประเมินผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่สำรวจเป็นครั้งที่ 2 (panel household survey ครั้งแรกสำรวจปี 2544 ครั้งที่ 2 ปี 2546) มี 4 จังหวัดจาก 4 ภาค คือ สุโขทัย อุบลราชธานี สมุทรสาคร และภูเก็ต จากกรอบครัวเรือนทั้งหมด 1,000 ครัวเรือนในแต่ละจังหวัด สุ่มหัวหน้าครัวเรือนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบอิสระ (simple random sampling) จำนวน 100 คน ครอบคลุมอำเภอเมือง และอำเภอใกล้เคียงอำเภอเมือง อีก 2 อำเภอ เพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้าประชุม ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมประชุม และการหาฉันทามติจากการประชุมกลุ่มใหญ่ ผลของกระบวนการวิจัยจะทำให้ทราบว่าความคิดเห็นทางสังคมต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทยว่าจะไปในทิศทางใด จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มค่าบริการของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเมื่อมารับบริการ ประชาชนมีแนวคิดเกี่ยวกับการเพิ่มการจัดเก็บค่าบริการของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเมื่อมารับบริการเป็นแนวคิด 2 อย่าง คือการให้ความสำคัญกับประโยชน์ที่จะได้รับมากที่สุด และต้องการให้เกิดความถ้วนหน้าด้วยในขณะเดียวกัน นั่นคือแนวความคิดเป็นแบบ Utilitarianism และ Egalitarianism การเก็บภาษีรายได้เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนยอมจ่ายภาษีรายได้เพิ่มขึ้น นั่นคือการยอมให้ตนได้รับผลกระทบเพื่อให้เกิดความถ้วนหน้าในการสร้างหลักประกันสุขภาพซึ่งเป็นแนวคิดที่มองความเท่าเทียมกันเป็นสำคัญซึ่งเป็นแนวคิดแบบ Egalitarianism นอกจากนี้การนำเงินประกันสังคมบางส่วนมาสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนมองเห็นสิทธิของลูกจ้างและบทบาทความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนประกันสังคมที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้ลูกจ้างอยู่แล้ว จึงไม่สมควรที่จะไปก้าวก่ายสิทธิของกลุ่มลูกจ้าง นั่นคือแนวคิดแบบ Communitarianism ส่วนการเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะคนจน หรือคนที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูลเท่านั้น ในการดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนมีแนวคิดว่าทุกคนควรมีความเสมอภาค และเท่าเทียมกันในด้านหลักประกันสุขภาพ ซึ่งไม่ว่าเศรษฐานะจะเป็นเช่นไร ทุกคนควรมีสิทธิ์เท่าเทียมกันซึ่งเป็นแนวคิดแบบ Egalitarianism การเก็บค่าบริการแพงขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยข้ามเขตซึ่งไม่ใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพของตน ประชาชนเชื่อว่ารัฐสามารถดำเนินการให้เกิดความเท่าเทียมกันและถ้วนหน้าได้ โดยไม่ควรลงโทษกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ข้ามเขต เพราะกลุ่มที่ข้ามเขตย่อมมีเหตุผลและมีความจำเป็นที่จะข้ามเขตการรักษาซึ่งเป็นแนวคิดแบบ Egalitarianism สุดท้ายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรรักษาเฉพาะโรค ประชาชนเชื่อในบทบาทของรัฐและเชื่อว่ารัฐสามารถจัดการบริการทางสังคมให้กับประชาชนทุกคนเท่าเทียมกันไม่ว่ารวยหรือจน ทุกคนต้องมีสิทธิในการได้รับการรักษาให้หายจากโรคที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ทั้งแพงและถูกได้ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแบบ Egalitarianism | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1671696 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยนเรศวร | en_US |
dc.subject | Health Insurance--Thailand | en_US |
dc.subject | Universal Health Coverage | en_US |
dc.subject | ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ--ไทย | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | แนวคิดของสังคมต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Thais' ideologies towards universal health coverage | en_US |
dc.description.abstractalternative | The 30 baht universal health scheme established by Thai Government in 2001 proposed to provide welfare on health to Thai people. There are controversies whether this policy promotes equity in health.Objective: To study the ideologies of Thai people towards the universal health coverage policy.Method: Qualitative research complemented with quantitative method. Citizen dialogue technique (or weekend meeting) was applied to 100 people randomly selected in each province for the meeting. Participants gave their views in the questionnaires before and after the meeting. The meeting started with small group discussion in the morning and whole group meeting in order to reach consensus wherever possible. The study was conducted in 4 provinces: Sukhothai, Ubonratchathani, Phuket and Samut Sakhon.Results: The turn up rates of participant ranged from 22-80% of the invited guests. They supported the idea of increasing copayment of 30 baht to finance the universal health coverage because they believed that fee increased would provide coverage for more people. They were willing to pay income tax for universal health coverage because they wanted better services. They said the government should not pool in money from the social security scheme to finance universal health coverage. However, some supported that the government should pool in only particular percentage of money from social security scheme to manage the universal coverage policy. Most of participants agreed that the government universal health coverage should not focus on only the low income people because all people should have equal right to universal health coverage. Furthermore, the government should not increase user fee for those who cross the boundary for services (or against the universal health coverage guidelines), and people whohad an accident or were ill outside their contracted hospitals should not be punished by payinghigh fee. Finally, the universal coverage policy should not limit access to high cost care, they preferred to see the policy as advertised “30 baht for all diseases”. Conclusions: These Thais’ Ideologies were mixed between egalitarianism, communitarianism and utilitarianism. These ideologies represented that Thai people believed in the collective roles of the government to provide health services to all Thai people. Key words: universal health coverage, weekend meeting, egalitarianism, libertarianism, communitarianism and utilitarianism | en_US |
dc.identifier.callno | W275.JT3 ส837น 2546 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค065 | en_US |
.custom.citation | สุภาภรณ์ เตโชวาณิชย์ and Supaporn Techowanit. "แนวคิดของสังคมต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1484">http://hdl.handle.net/11228/1484</a>. | |
.custom.total_download | 184 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |