Show simple item record

A case study of services of welfare centers in communities

dc.contributor.authorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยาth_TH
dc.contributor.authorThanya Sanitwongse Na Ayuttayaen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:35Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:35Z
dc.date.issued2542en_US
dc.identifier.otherhs0858en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1486en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพสังคมและบริการสังคมที่มีอยู่ในชุมชนที่ผู้สูงอายุได้รับ โดยเน้นการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ทั้งด้านปริมาณของบริการและคุณภาพ การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ปัญหา และความต้องการ รวมไปถึงความสัมพันธ์ของความเข้มแข็งของชุมชนกับคุณภาพการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ความพึงพอใจในชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้สูงอายุ และเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์พูดคุยเจาะลึกและการสังเกตสภาพความเป็นอยู่ ความใกล้ชิด การดูแลจากลูกหลาน และลักษณะของชุมชนและสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล มีทั้งผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน ผู้แทนของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านทั่วไปทั้งผู้ใหญ่และหนุ่มสาว จาก 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก หนองบัวลำภู นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ตราด นครศรีธรรมราชและสตูล ผลการวิจัยสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1. ผลการสำรวจและประเมินบริการสวัสดิการที่จัดในชุมชน 1.1 บริการสวัสดิการสังคมที่จัดในชุมชนที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ คือ บริการด้านสาธารณสุข ทั้งสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือการแจกบัตรผู้สูงอายุ ที่ผู้สูงอายุได้ใช้บริการค่อนข้างมาก พิจารณาทั้งจากสัดส่วนการได้รับบริการ ทั้งบริการสังคมทั่วไปและการได้รับปัจจัย 4 1.2 การได้รับบริการจากผู้นำชุมชนมีสัดส่วนค่อนข้างสูง แต่เนื้อหาของบริการยังเป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น แจกผ้าห่ม เสื้อผ้า ข้าวสาร ฯลฯ 1.3 บริการจากกลุ่มสังคมในชุมชนที่ได้รับความนิยม คือ ฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยเฉพาะแบบไม่จดทะเบียน ซึ่งเป็นการรวมตัวของชาวชุมชนตามธรรมชาติ เป็นสวัสดิการที่สร้างความมั่นใจและอบอุ่นใจให้แก่ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี 2. ผลการประเมินการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ซึ่งโดยวัตถุประสงค์ของการตั้งศูนย์ คือ หน่วยงานที่จะช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์ได้ไม่มากก็น้อย หรือไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ยังไม่มีการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการร่วมใจกันช่วยเหลือดูแลกันเอง และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางให้ความช่วยเหลือตามแนวคิดสวัสดิการสังคมของผู้ที่รับผิดชอบยังมีอยู่จำกัด ทำให้มีการช่วยเหลือแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น 3. ผลการศึกษาความเข้มแข็งของชุมชน และคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ชุมชนที่เข้มแข็ง ชาวบ้านมีความร่วมมือกันให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีระดับหนึ่ง การมีครอบครัวที่เข้มแข็ง ลูกหลานยังอาศัยอยู่ร่วมกัน ดูแลผู้สูงอายุได้ดีที่สุด และหากมีองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อสุขทุกข์ของประชาชน ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เข้าถึงปัญหา รู้วิธีการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุกลุ่มด้อยโอกาสจะมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้มากพอสมควร จากผลการวิจัยทั้งหมด มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย 1.1 การกำหนดนโยบายสังคมที่จะส่งผลไปถึงการจัดการสังคมระดับรากหญ้า ควรเป็นนโยบายที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างรอบคอบ มีการพิจารณาถึงผลดี ผลเสีย ผลประโยชน์ และผลกระทบอย่างถี่ถ้วน จึงประกาศเป็นนโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ 1.2 นโยบายสังคมที่กำหนดควรเป็นแนวทางการปฏิบัติกว้างๆ เพื่อให้แต่ละพื้นที่สรรหารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนตามลักษณะของวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวชุมชน การกำหนดรูปแบบตายตัวแบบเดียวให้ปฏิบัติหรือใช้กันทั่วประเทศ ทำให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นเพียงรูปแบบ แต่ไม่มีการดำเนินงาน เนื่องจากความพร้อมของแต่ละชุมชนไม่เท่าเทียมกัน หรือมีปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จที่ต่างกัน 2. ข้อเสนอแนะระดับการปฏิบัติ 2.1 ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ควรหาทิศทางการทำงานที่ชัดเจนให้แก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ปรับการคัดเลือกคณะกรรมการที่จะบริหารศูนย์ ให้ความรู้ความเข้าใจ อบรม สัมมนาให้เพียงพอที่ผู้รับผิดชอบจะสามารถทำงานสงเคราะห์ราษฎรได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ 2.2 ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานราชการด้านสังคมสงเคราะห์ในพื้นที่ เช่น ประชาสงเคราะห์จังหวัดและประชาสงเคราะห์อำเภอ นักสังคมสงเคราะห์ประจำจังหวัดและอำเภอ ควรได้รับการส่งเสริมให้ได้ทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มที่ ให้มีกำลังใจในการทำงาน ให้ได้รับสวัสดิการที่ดี ได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง และได้รับการพิจารณาความดีความชอบอย่างเหมาะสม กลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คนในแต่ละจังหวัด ก็จะสามารถไปยกระดับคุณภาพชีวิตของคนอื่นๆ ในจังหวัดนั้นๆ ได้อีกมากมายth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent765733 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAge Groupsen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- บริการen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการประเมินรูปแบบบริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในชุมชน : เน้นการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านth_TH
dc.title.alternativeA case study of services of welfare centers in communitiesen_US
dc.description.abstractalternativeAn Evaluation on Social Services for Aging People in Communities: A Case Study of Services of Welfare Centers in Communities This study aims to study social services in communities; especially, which aging people reached; quality of life of aging people; and their troubles and life satisfaction. This study also aims to study the welfare centers in communities’ operations and the relationship of communities’ strength and the welfare centers’ effectiveness. There were 2 types of data, primary and secondary. Primary data were both in qualitative and quantitative forms, collected by interviewing 380 aging people, 101 heads of welfare centers, other people such as, teachers, health officers, monks, imams, merchants and other peasants including juveniles from 19 amphurs, 9 provinces of every part of Thailand. Secondary data were documentary data; such as, handbooks, reports, official memorandum and national policies. The results of the study are as follow: 1. Social services in communities: privilege cards service, institutional service, social group service, and service or assistance from community leaders. - Social services which aging people could reach and were satisfied most were all kinds of health services; such as, hospitals, health centers, including the convenience in using health cards. - Services or assistance from community leaders were fair, mostly moderately good in quantity; such as, giving foods, cloths, money or things. Other services which could help people – in - troubles to have better life quality were low. - Service from social groups in communities which most aging people preferred was ‘cremation service’, a community fund which people in community raises every time one member in the village dies, both in the form of legal and illegal ones. However, aging people preferred illegal cremation fund services to legal ones. 2. An evaluation on welfare centers in communities. Welfare centers in communities, which their objectives were to help people from troubles, were moderately successful in doing their careers because of the insufficiency of knowledge in welfare services. 3. The study on community strength related to aging people’s life quality and life satisfaction. Aging people in highly strengthened communities have been supported in money, foods and things, messages and visits from family members, friends, neighbors and other people more than those lived in less strengthened ones. From the findings shown above, it leads to the following suggestions: 1. In the policy level. - It is not necessary to implement one national policy in every part of the country. - The national policies should be really suitable to the situation and needs of people. 2. In the operational level. - The concepts and trends of forming welfare centers in communities should be readjusted. Members of the centers must have, at least, basic knowledge on social welfare and social work in order to be able to help people – in - troubles as much as possible. - Local government officers in charge of welfare services, if they really know what and how to do welfare careers, they could be the greatest assistants in communities.en_US
dc.identifier.callnoWT31 ธ461ก 2542en_US
dc.subject.keywordEvaluation on Social Servicesen_US
dc.subject.keywordWelfare Centersen_US
dc.subject.keywordการประเมินบริการผู้สูงอายุen_US
dc.subject.keywordศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านen_US
.custom.citationธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา and Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya. "การประเมินรูปแบบบริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในชุมชน : เน้นการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1486">http://hdl.handle.net/11228/1486</a>.
.custom.total_download230
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs0858.pdf
Size: 568.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record