แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ภาคเอกชนกับการให้บริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

dc.contributor.authorวาทินี บุญชะลักษีth_TH
dc.contributor.authorWatinee Boonchaluksien_US
dc.contributor.authorยุพิน วรสิริอมรth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:56Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:30:17Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:56Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:30:17Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0848en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1491en_US
dc.description.abstractความต้องการบริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวขึ้น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นไม่สอดคล้องกับหน่วยงานหรือสถานบริการของภาครัฐที่ให้บริการ ทำให้ประชากรกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งต้องพึ่งการใช้บริการจากภาคเอกชน ทำให้อัตราการเติบโตในภาคธุรกิจนี้รวมถึงสถานบริการสงเคราะห์เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและลักษณะงานบริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุที่ให้โดยภาคเอกชน และรวมถึงรูปแบบการบริหารจัดการ งานศึกษานี้แบ่งกลุ่มสถานบริการเอกชนที่ให้บริการประเภทนี้เป็น 6 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลที่ไม่หวังกำไร สถานบริการสงเคราะห์ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับบริการฟรีทั้งหมดหรือต้องร่วมจ่ายบางส่วนแต่เป็นส่วนน้อย สถานที่พักคนชรา สถานพยาบาลผู้สูงอายุ และโรงเรียนหรือสถานบริการที่เปิดสอนการดูแลผู้สูงอายุ การศึกษานี้พบว่า 95% ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความพอใจต่องานบริการ ขณะที่กลุ่มที่ได้รับบริการฟรี ให้ความเห็นว่าแค่เพียงมีอาหารและบริการทางการแพทย์ที่ครบถ้วนก็พอใจแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่อยู่ร่วมกับครอบครับหรือลูกหลานที่ต้องการงานบริการดูแลตนเอง มักจะจ้างผู้ดูแลที่ได้รับการรับรองไปดูแลตนเองที่บ้าน ตรงนี้ทำให้ธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มที่ดี เพราะมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ดังจะเห็นได้จากมีจำนวนโรงเรียนเปิดสอนการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และมีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในช่วงขอจดทะเบียนเพื่อเปิดสอนโปรแกรมระยะสั้น การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ รัฐต้องพัฒนาและกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพทั้งในส่วนเนื้อหางานบริการเอง และระบบโครงสร้างบริหารจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ หรือเป็นสวัสดิการจากรัฐ ผู้ที่จะมาเป็นผู้บริหารสถานบริการดูแลผู้สูงอายุควรเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อเพิ่มความสนใจให้แก่ประชาชนที่ต้องการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากความต้องการงานบริการประเภทนี้เพิ่มมากขึ้นทุกปี บุคลากรสุขภาพจากภาครัฐควรได้รับการสนับสนุนให้ออกไปให้บริการที่สถานบริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับ คุณภาพงานบริการ ราคาค่าใช้จ่าย และสถานบริการที่ให้บริการดังกล่าวมีที่ใดบ้างth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2064309 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแลen_US
dc.subjectบริการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleภาคเอกชนกับการให้บริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThailand's aged care in private senteren_US
dc.description.abstractalternativeThailand’s Aged Care in Private Sector Thailand’s increasing number of elderly population and their longer lives are causing higher needs of aged care. While public facilities to support such needs are minimal, both business-liked facilities and non-profit organizations are increasing in number to meet unmet needs / demand. The private aged care in Thailand was studied two major aspects which were types of care given and their service management. Types of private facilities were categorized into 6 groups and sampled for data collection. Interviewing personnel involved in aged care such as administrators, physicians, nurses, physiotherapists, other health personnel and officials in addition to their customers (patients) were made. The 6 groups were profit-liked hospitals, non-profit hospitals, well fare organizations (partly charging fees or no fees), accommodations for the aged, nursing homes and aged care teaching schools The study found 95% of those paying fees for aged care were satisfied with the care provision whereas those being given free care commented that if only food and health care were sufficient their satisfaction would be achieved. The elderly who lived with their families and needed aged care tended to hire the certified care givers who had attended short course training from registered schools. A number of schools wishing to provide training programs were increasing based on evidence of growing number of schools or facilities being in the process of registration. The study recommended:public clear policy guideline for aged care provision in terms of care and its provision system be developed and carried out by the government, more elderly be insured for aged care,health personnel be administrators for care provision,gerontology be supported to boost people’s interest for being care givers in order to meet rirsing demand,public health personnel be sent to help non-profit facilities to do medical checking and provide medical care for the aged patients,information on aged care be widely distributed to help out the needed for seeking care quality and just fees.en_US
dc.identifier.callnoWT31 ว464ภ 2544en_US
dc.identifier.contactno41ค033en_US
dc.subject.keywordการให้บริการสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการดูแลผู้สูงอายุen_US
.custom.citationวาทินี บุญชะลักษี, Watinee Boonchaluksi and ยุพิน วรสิริอมร. "ภาคเอกชนกับการให้บริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1491">http://hdl.handle.net/11228/1491</a>.
.custom.total_download667
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year18
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0848.pdf
ขนาด: 1019.Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย