The situation of death and dying paradigm shift
dc.contributor.author | ธนา นิลชัยโกวิทย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Tana Nilchaigowit | en_US |
dc.contributor.author | วริสรา กริชไกรวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | วรรณา จารุสมบูรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | พรเลิศ ฉัตรแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Warisara Krikhaiwan | en_US |
dc.contributor.author | Wanna Jarusomboon | en_US |
dc.contributor.author | Pornlert Charkaeow | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:58Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:31:59Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:58Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:31:59Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs1068 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1494 | en_US |
dc.description | ชื่อหน้าปก: รายงานผลการศึกษาเรื่องโครงการวิจัยเรื่องการทบทวนกระบวนทัศน์เรื่องความตายกับมิติแห่งสุขภาวะ | th_TH |
dc.description.abstract | โครงการนี้เป็นหัวข้อหนึ่งของการศึกษาทบทวนกระบวนทัศน์สุขภาพซึ่งหยิบยกเอาประเด็นเรื่องความตายและการจัดการความตายขึ้นมาพิจารณา โดยคาดหวังว่าผลการศึกษานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้คนในสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาทบทวนแนวคิดและแนวทางการจัดการความตายที่เป็นกระแสหลักอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยในมิติที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้คนในสังคมมีท่าทีที่ถูกต้องและสามารถเผชิญกับความตายได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งมีการคิดค้น เสนอแนะรูปแบบในการจัดการกับความตายที่หลากหลายและสอดคล้องกับสังคมไทย โดยคำนึงถึงบริบททางครอบครัว ชุมชน ของผู้ป่วยและญาติเป็นสำคัญ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อรวบรวมและทบทวนสถานการณ์การตายและการจัดการความตายที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยจัดทำเป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยและญาติ ประมาณ 10-15 กรณีศึกษา แนวคิดและแนวทางในการจัดการความตายในต่างประเทศ จัดทำกรณีศึกษาประสบการณ์องค์กรของรัฐและเอกชนที่มีความริเริ่มที่น่าสนใจในการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย อย่างน้อย 10-15 องค์กร รวบรวมและจัดระบบข้อมูลบุคคล องค์กร และฐานความรู้ที่มีอยู่ในสังคมไทยให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้ จัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติการในการปรับกระบวนทัศน์เรื่องความตาย ผลการศึกษาจากกรณีศึกษาของผู้ป่วยและญาติ จำนวน 12 ราย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากญาติและตัวผู้ป่วยเอง 2 ราย และข้อมูลจากญาติภายหลังการเสียชีวิตแล้วอีก 10 ราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่เขตเมืองในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง มีเพียง 30% ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลออกไป พบประเด็นที่น่าสนใจทั้งเรื่องของวิธีคิดต่อความตาย รูปแบบการจัดการกับความตาย ปัจจัยเกื้อหนุน และปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรค ดังนี้ ผู้ป่วยและญาติไม่ได้มีระบบวิธีคิดชุดเดียว มีทั้งส่วนที่เป็นวิธีคิดร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมและส่วนที่คิดแตกต่างออกไป ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความตายมิได้ตายตัวเสมอไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ปัญหาที่เผชิญด้วย เมื่อเข้าสู่ภาวะเจ็บป่วยพบว่ามีวิธีคิดที่กำลังแพร่ขยายอยู่ในสังคมขณะนี้ก็คือ วิธีคิดที่ว่า “เมื่อเจ็บป่วยต้องไปโรงพยาบาล” ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่มาจากชนชั้นใดหรือมีเศรษฐานะอย่างไร ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากวิธีคิดเช่นเดียวกันนี้ทั้งสิ้น แต่โอกาสในการเข้าถึงการดูแลรักษาอาจแตกต่างกัน ดังนั้นแนวโน้มของการตายที่โรงพยาบาลจะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าช่องว่างในการดูแลผู้ป่วยที่สิ้นหวังจะมีมากขึ้นด้วยในกระบวนการรักษาพยาบาลพบว่ามีช่องว่างทางสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้รับการรักษาและญาติ อันเนื่องมาจากวิธีคิดที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้รับการรักษาและญาติเกิดภาวะขาดแคลนข้อมูลความรู้ในการดูแลรักษาเพราะองค์ความรู้ที่ตนเองมีเป็นคนละชุดกับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ รวมทั้งตัวแพทย์หรือผู้ให้การรักษาเองด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนตัดสินใจในระหว่างการรักษาพยาบาลถือเป็นประสบการณ์ร่วมที่ทำให้เกิดความพอใจระหว่างผู้ให้การรักษาและผู้ป่วย/ญาติ ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่ให้องค์ความรู้ของประชาชนหรือของผู้ป่วยได้เผยตัวออกมา ส่งผลให้ช่องว่างหดแคบเข้ามา และน่าจะเป็นแนวทางที่นำไปพัฒนาในระบบต่อไป ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรม ความเป็นครอบครัวหรือชุมชน สถานภาพทางเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่กระบวนการตัดสินใจในการจัดการกับความตายที่พึงปรารถนาและไม่ปรารถนาการตายที่บ้านสามารถจะเป็นทั้งการตายที่ดีและการตายที่ไม่ดี ขึ้นอยู่องค์ประกอบของครอบครัว ชุมชน และเงื่อนไขทางสังคม และการตายที่โรงพยาบาลไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการตายที่ไม่ดีเสมอไป หากบุคลากรทางการแพทย์เข้าใจ สนใจ รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้ผู้ป่วยและญาติสามารถแสดงความคิดและศักยภาพของตนในการจัดการกับความตายที่เหมาะสมโดยเคารพศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย/ญาติ จากการทบทวนความรู้เกี่ยวกับวิธีคิด ทัศนคติ และแนวทางในการจัดการกับความตายที่เกิดขึ้น ตลอดจนประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ พบว่ามีแนวคิดหลักอยู่ 4 มิติ กล่าวคือมิติด้านชีวการแพทย์ (Bio-medical Model) ซึ่งให้ความสำคัญกับกลไกการทำงานทางกายภาพเป็นหลัก ความตายจึงเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงและแยกออกจากชีวิตมิติด้านกาย-จิต-สังคม (Bio-psychosocail Model) ที่หันมาให้ความสำคัญกับมิติทางด้านจิตใจและครอบครัวมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่พยายามจะลดช่องว่างของแนวคิดแบบชีวการแพทย์ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาพยาบาล โดยมีมาตรการทางการแพทย์เข้ามาจัดการมากขึ้น เช่น การลดความทุกข์ทรมานของคนไข้ในระยะสุดท้าย มีการให้คำแนะนำปรึกษา การให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวทางการรักษา ฯลฯ ซึ่งเป็นที่มาของ palliative care การมีสถานฟักฟื้นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย มิติด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Model) มองว่าชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร ความตายเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาก การมีสุขภาพดีจึงเป็นเพียงแค่บันไดขั้นหนึ่งของการพัฒนาให้มีชีวิตที่ดีงามกว่าที่เป็นอยู่ ความตายจึงไม่ใช่ที่ต้องหลีกเลี่ยงหรือจัดการ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพิจารณา โดยนัยนี้ การตายไม่ได้เป็นสิ่งที่แยกขาดจากชีวิต จุดมุ่งหมายของการตายเป็นการปลดปล่อยตนเองจากความยึดมั่นถือมั่นจากข้อมูลพื้นฐานขององค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งกรณีศึกษาองค์กรที่มีความริเริ่มที่น่าสนใจ จำนวน 15 องค์กร พบว่ามากกว่า 50% เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานกับผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย ส่วนที่เหลือเป็นความริเริ่มที่อยู่ในโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มต้นมาจากปัญหาของผู้ป่วยที่ต้องเผชิญ และค่อยๆ พัฒนาไป นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลคาทอลิกที่ให้ความสำคัญกับงานอภิบาลผู้ป่วยที่รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย จากการพูดคุยและสัมภาษณ์พบประเด็นที่น่าสนใจคือสังคมไทยมีต้นทุนด้านบุคคลและองค์กรที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้และพัฒนาแนวทางการให้ความช่วยเหลือกับผู้ป่วยและญาติมาแล้วระดับหนึ่ง กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งมักเกิดจากการรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มผู้ที่สนใจในเรื่องนี้และค่อยๆ แพร่ขยายออกไปองค์กรพัฒนาเอกชนมีข้อเด่นในด้านการทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยและญาติ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้สามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานความเข้าใจระหว่างผู้ให้การรักษาและผู้รับการรักษา/ญาติโรงพยาบาลทั่วไปหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีคณะแพทย์/พยาบาล โรงพยาบาลคาทอลิก มีแนวโน้มจะให้ความสนใจการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเริ่มมีงานในวิชาการเรื่องนี้แพร่ขยายอยู่ในเวทีวิชาการนานาชาติ ขณะเดียวกันก็เริ่มมีกระแสการยอมรับสิทธิผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นโรงพยาบาลชุมชนควรมีบทบาทในการสนับสนุนครอบครัวและชุมชนให้สามารถเผชิญกับความตายและจัดการความตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการเยี่ยมบ้าน ระบบ Primary Care และการอำนวยความสะดวกในการส่งต่อการเกิดขึ้นของระบบพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (HA) มีส่วนที่ทำให้การทำงานในเรื่องนี้มีพื้นที่ที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะอาศัยเงื่อนไขนี้ในการต่อยอดหรือพัฒนาองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและสอดคล้องกับบริบททางสังคมของพื้นที่ รวมทั้งแพร่ขยายแนวความคิดและขับเคลื่อนแนวคิดนี้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในวงกว้างข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาวิจัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและครอบคลุมกลุ่มประชากรที่หลากหลายมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเป็นด้านหลัก เพราะจะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจเรื่องความตายในมิติที่ลุ่มลึกและเข้าถึงสภาวะความเป็นมนุษย์และจิตวิญญาณและใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณในการขยายผลและเชื่อมโยงสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบระบบพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (HA) เป็นช่องทางสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดังนั้น ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยแบบปฏิบัติการเพื่อนำร่องในสถานพยาบาลบางแห่งที่มีความสนใจเรื่องนี้เป็นพื้นฐานอยู่แล้วในระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรทั้งรัฐและเอกชนที่ให้ความสนใจและมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวข้องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พบว่าองค์กรส่วนใหญ่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ในการดูแลหรือช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งมีเงื่อนไขการทำงานที่ค่อนข้างเปิดกว้าง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขน่าจะใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาองค์ความรู้หรือสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจัดให้มีเวทีเผยแพร่รูปแบบหรือแนวทางการทำงานที่หลากหลายสู่สาธารณชนเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยและญาติ ควรจะทำเอกสารเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบุคคล องค์กร หนังสือ และงานวิจัยเกี่ยวกับความตายและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 7193911 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health | en_US |
dc.subject | Death | en_US |
dc.subject | Right to Die | en_US |
dc.subject | Hospices | en_US |
dc.subject | Critical Care | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ความตาย | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วย, สิทธิ | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยหนัก, การดูแล | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การทบทวนกระบวนทัศน์เรื่องความตายกับมิติแห่งสุขภาวะ | th_TH |
dc.title.alternative | The situation of death and dying paradigm shift | en_US |
dc.description.abstractalternative | The project is aimed to review health paradigm in which death and death management is considered. The study is supposed to encourage society and relevant organization to review their concepts and pattern of death management, the current mainstream. Research should be supported in various dimensions, helping society to perform and confront with death effectively. Invention, recommendation of various death management and congruent with Thai society, regarding of family, community context of patients and their relatives, are importantly included. ResultsThe study in patients and relatives, totally 12, data are collected form 10 relatives (after the death of patient) and 2 patients. They mostly live in metropolitan area (Bangkok), and environ areas, Only 30 percents live in outer area, supporting factors, and hindered factors, as follow:There is no integrity of thinking system. There is a combined thinking system within society; there is still different way of thinking. However, death concept is not always stable, it depends on the confronted situations.When facing with illness condition, there is a way of thinking like “when being ill, hospital treatment is needed”. It is irrespective of social class, or economic status, They are all influenced by the same system of thinking. The opportunity of accessible treatment may vary. Therefore, tendency of hospital death increases. In other words, the treatment gap of despair patient will be widened.For medical treatment procedures, it was found that there is communication gap between medical personnel and patients and their relatives, due to different way of thinking. As a result, patients and relatives are lacks of treatment knowledge since their knowledge body is not the same as medical personnel, which brings about the limitation of accessible knowledge necessary to decision making for doctors and medical personnel.Opportunity provision for patients and relatives to participate in decision-making procedures during medical treatment is considered satisfyingly among medical personnel, patients, and their relatives. A chance of knowledge accessibility is revealed, resulting in contracted gap, and furthers development in the system.Religious belief and ritual, family or community, and economic status are significantly considered as major factors lead to decision making of desirable death undesirable management.Home death could be both considered as good death and bad death; it depends on components of family, community, and social conditions. Hospital death is not necessarily considered as bad death, if the medical personnel understand, interest. Chance of displaying attitudes and potential of appropriate death management are revealed to patients and relatives, regarding of human’s pride respect.For revision of concepts, attitudes, patterns of death management, and medical system issues are included; it was found that there are three core concepts as:Bio-medical model is focused on mechanism of physical performance. Therefore, it should exclude death from ordinary life.Bio-psychosocial model is focused on mental and family dimension. It is the concept that tries to reduce gap of Bio-medical model, providing opportunity to patients and relatives to participate in medical treatment procedures. More medical standard are involved, for example, decreasing final pain and torture of the patients, counseling provision, and fact provision of treatment procedure, etc. Those are all from palliative care, which provides convalesce residence for final stage patients.Spiritual model is viewed, as life is part of nature, Both are interconnected, Nothing is permanent, Death is natural. Good health is just the only way to develop life more enrichingly, Death should not be avoided or managed, however, it should be reflected, This implies that death is not separated from life, Death objective is to release oneself from adhere belief.For basic information of organization working with final patient, including a case study of 15 initiative organizations, it was found that there are 50 percents of private organization working with HIV patients and final HIV patients. The rest is in the early stage within medical schools, general hospitals, and community hospitals. Mostly it came form patients’ problems in which they had to face with, and then the problems were gradually developed. In addition, Catholic hospital is now focusing on patient governance, and treatment for final HIV patients is included. From the interviews relevant issues were found as:Thai society has a certain resource of personnel and organizations pertaining to this area and develops a particular organization to help patients and relatives. It is established in provincial areas, both public and private sectors. It was unofficially merged by interested people, and circulated.Private organization of development is distinctive in terms of working closely with patients and relatives, more flexible, and neutral as a connector between medical personnel, and patients and relatives. For general hospital, especially for medical nurse faculty available, Catholic hospital is likely to pay more attention to final patients increasingly since there is academic research circulated among international academic stages. At the same time, more mainstream acceptation of patient’ right is revealed.Community hospital should play an important role in supporting family and community to confront with death and death management effectively, through house visiting, Primary Care, and the convenience of patient transfer.The provision of hospital quality development system (HA) is responsible for clearer domain and more acceptation. The relevant organization should employ the advantages to further or develop knowledge that can be actually practiced and congruent with local context of society. The concept circulation and concept drive to relevant personnel should be included pervasively.RecommendationsThere should be deeper research and covered with various kinds of population. Qualitative research should be focused since it can describe death into deeper dimension and it can access to human and spirit. In addition, quantitative research can be used as result expansion and link of systematic change.Hospital quality development system (HA) is a critical channel to be forced into systematic change pertaining to treatment of final patient. Therefore, practical research should be promoted as a pilot project in some hospitals whose interests are their primary bases.During data collection, learning opportunity is exchanged. The organization network is linked both public and private sectors, which their interests and experiences relevant to final patient treatment are shown, it was found that most organizations have potential and readiness to develop newly trends of taking care and aiding final patients. In addition, widely conditions of working are opened; the research institutes- public health system should grasp this advantage to develop knowledge body or to support the necessary and usable knowledge body collection. Furthermore, patterns and various kinds of model should be broadcasted to the public as an alternative for patients and relatives.Documents pertaining to personnel, organizations, book, and research of death and other relevant documents should be made for anyone interested in to be accessed. | en_US |
dc.identifier.callno | W820 ธ231ก 2546 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค012 | en_US |
dc.subject.keyword | Dying | en_US |
dc.subject.keyword | การตาย | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยระยะสุดท้าย | en_US |
dc.subject.keyword | วิธีคิดต่อความตาย | en_US |
dc.subject.keyword | รูปแบบการจัดการกับความตาย | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล | en_US |
.custom.citation | ธนา นิลชัยโกวิทย์, Tana Nilchaigowit, วริสรา กริชไกรวรรณ, วรรณา จารุสมบูรณ์, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, Warisara Krikhaiwan, Wanna Jarusomboon and Pornlert Charkaeow. "การทบทวนกระบวนทัศน์เรื่องความตายกับมิติแห่งสุขภาวะ." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1494">http://hdl.handle.net/11228/1494</a>. | |
.custom.total_download | 268 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย