dc.contributor.author | ไพโรจน์ ภัทรนรากุล | en_US |
dc.contributor.author | Pairote Pathranarakul | en_US |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ ขันติยาภรณ์ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:59Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:32:08Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:59Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:32:08Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.other | hs0784 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1496 | en_US |
dc.description.abstract | การปฏิรูปบทบาทภารกิจเพื่อการจัดการสาธารณสุข การศึกษาวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงนโยบายที่มุ่งสู่เป้าหมายและการปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอแนวทางปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจ และระบบบริหารภาครัฐด้านการจัดการสาธารณสุข และเพื่อกำหนดทิศทางการบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ในการศึกษาได้ทำการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปบทบาทภารกิจภาครัฐ พิจารณาแนวโน้มประชาคมโลก จากนั้นศึกษาแนวคิดและยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐในประเทศไทย ทบทวนประสบการณ์การปฏิรูปสาธารณสุขของประเทศพัฒนา ทิศทางการพัฒนาสาธารณสุขและกระแสการปฏิรูปสาธารณสุขในประเทศไทย แนวทางการศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยเชิงนโยบายในระดับมหภาค โดยหน่วยในการศึกษาวิจัยเป็นระบบการจัดการสาธารณสุข กรอบในการวิเคราะห์มองผลลัพธ์สุดท้ายของการปฏิรูปบทบาทภารกิจอยู่ที่การมีสุขภาวะที่ดี ทิศทางของภาครัฐในการปฏิรูปบทบาทภารกิจ มุ่งประเด็นที่การกำหนดและประสานนโยบาย ติดตามและประเมินผล ดูแลมาตรฐาน คุณภาพและจรรยาวิชาชีพ ส่งเสริมให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมและพัฒนาประชาคมด้านสุขภาพ คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมอนามัยและสิ่งแวดล้อม ในการศึกษาอาศัยวิธีการเชิงคุณภาพหลายด้าน มีการทำ SWOT Analysis และการจัดทำ SWOT Matrix เสริมด้วยเทคนิคเชิงคุณภาพอื่นๆ ผลจากการศึกษาพบประเด็นที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก การจัดการสาธารณสุขยังมีข้อจำกัดด้านนโยบายและมีปัญหาในเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะยังขาดกลไกนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดและประสานนโยบายในระดับมหภาค โครงสร้างการจัดการสาธารณสุขยังมีลักษณะรวมศูนย์และไม่เอื้อต่อการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการ และมีช่องว่างการประสานงานในระดับพื้นที่ ประการที่สอง จากการประเมินสภาพแวดล้อมได้นำมาสู่การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปบทบาทภารกิจหลายด้าน สำหรับยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่ ส่งเสริมแนวทางประชาสังคมและเครือข่ายภาคีสุขภาพ ส่งเสริมชุมชน สุขภาพดีแบบพึ่งตนเอง ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดสู่ประชาชน ปฏิรูปการเมืองทุกระดับและการเสริมอำนาจให้ชุมชน | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2716056 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Public Health Administration | en_US |
dc.subject | Organizational Change | en_US |
dc.subject | Office Management | en_US |
dc.subject | การจัดการองค์กร | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข--ไทย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาองค์กร--ไทย | en_US |
dc.subject | การจัดการสํานักงาน | en_US |
dc.title | การปฏิรูปบทบาทภารกิจเพื่อการจัดการสาธารณสุข | en_US |
dc.title.alternative | Public health management | en_US |
dc.description.abstractalternative | Public Health Management ReformThis policy research is an action and goal oriented study. Its main objective is to outline a new framework for public health management reform. In the study, concepts on public sector management were reviewed and public health reforms in selected developed countries, namely, Canada, Austria and Singapore, as well as health reform movements in Thailand were discussed. Within an advocacy approach and a macro perspective, public health management system was treated as a unit of analysis. Under such perspective, its ultimate goal is placed on the human well-being while new roles and direction towards public health management reforms were analyzed through various qualitative techniques, including SWOT Analysis with SWOT Matrix.Based on the available sources of data relevant to the space, timeframe and actors, its findings are presented covering two main themes. Firstly, policy and structural constraints have let to the inefficient management – as witnessed from the centralized management approach and the lack of policy integration and coordination at macro level. Secondly, based on the environmental scanning, strategic issues are determined in shaping public sector roles include, among others, enhancing civil society organizations and health networks, strengthening self-reliant and healthy communities, upholding local wisdom and indigenous knowledge base for health promotion. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540JT3 พ992ก 2543 | en_US |
dc.subject.keyword | Public Health Management Reform | en_US |
dc.subject.keyword | Public Sector Roles | en_US |
dc.subject.keyword | Human well-being | en_US |
dc.subject.keyword | Public Health Paradigm | en_US |
.custom.citation | ไพโรจน์ ภัทรนรากุล, Pairote Pathranarakul and ทัศนีย์ ขันติยาภรณ์. "การปฏิรูปบทบาทภารกิจเพื่อการจัดการสาธารณสุข." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1496">http://hdl.handle.net/11228/1496</a>. | |
.custom.total_download | 120 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 1 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |