dc.contributor.author | กุศล สุนทรธาดา | en_US |
dc.contributor.author | Kusol Soonthorndhada | en_US |
dc.contributor.author | จิตตินันท์ เดชะคุปต์ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:20:10Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:32:45Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:20:10Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:32:45Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0771 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1519 | en_US |
dc.description.abstract | รูปแบบและระบบการจัดบริการสถานเลี้ยงดูเด็กที่มีคุณภาพในประเทศไทย: กรณีพินิจศึกษา ปัจจุบันหน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน ได้จัดให้มีบริการสถานเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอย่างมากมายทั้งในเมืองและชนบท แต่ยังมีปัญหาด้านคุณภาพมาตรฐานของการจัดการบริการ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสถานเลี้ยงดูเด็กที่ถือว่ามีคุณภาพรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย โดยวิเคราะห์เจาะลึกลักษณะการจัดบริการเฉพาะรายกรณี เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการจัดบริการ ระบบการดำเนินงาน และปัจจัยกำหนดคุณภาพบริการ 2) ศึกษาเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานเลี้ยงดูเด็กของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสถานเลี้ยงดูเด็ก ทั้งภาครัฐและเอกชน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ของต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาเกณฑ์คุณภาพสถานเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมภายใต้บริบทของสังคมไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก รวมทั้งการสังเกตพัฒนาการเด็ก พฤติกรรมของผู้ดูแลเด็ก และสภาพแวดล้อมของสถานเลี้ยงดูเด็ก ประกอบการบันทึกวีดิทัศน์สถานเลี้ยงดูเด็กที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ จำนวน 20 แห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ที่ให้บริการแก่เด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ปี สังกัดภาครัฐและภาคเอกชน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบและระบบการจัดบริการสถานเลี้ยงดูเด็กที่มีคุณภาพ มีรูปแบบการจัดบริการที่หลากหลาย สถานบริการที่ดีมีคุณภาพส่วนใหญ่จะมีระบบบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการจัดการการเงินอย่างมีแบบแผน และตรวจสอบได้ การจัดบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน โดยบุคลากรได้รับการฝึกอบรมด้านเด็กปฐมวัย บุคลากรมีความรับผิดชอบต่องานสูง และมีความพึงพอใจในงาน มีระบบการจัดบริการดูแลเด็กและกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัย ฯลฯ ในการปรับปรุงคุณภาพของสถานบริการเลี้ยงดูเด็ก หน่วยงานต่างๆ เกือบทุกสังกัดได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพของหน่วยงานขึ้นมาเพื่อประเมินคุณภาพการจัดบริการสถานเลี้ยงดูเด็กในสังกัด ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดในด้านปัจจัยและด้านกระบวนการพัฒนาเด็กมากกว่าด้านผลผลิตคือพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ ควรมีการเพิ่มเติมเกณฑ์มาตรฐานของไทยบางประเด็น ได้แก่ การกำหนดปรัชญาและเป้าหมายการพัฒนาเด็กที่ชัดเจน การให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ครูกับผู้ปกครอง และระหว่างบุคลากรด้วยกัน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และการคุ้มครองป้องกันการล่วงละเมิดทางร่างกายและเพศ เป็นต้น รวมทั้งให้มีการจัดทำเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานขั้นต่ำของการจัดบริการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก พร้อมตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่การประกันคุณภาพสถานเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 8050410 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Child Care Service--Thailand | en_US |
dc.subject | สถานเลี้ยงดูเด็ก--ไทย | en_US |
dc.title | รูปแบบและระบบการจัดบริการสถานเลี้ยงดูเด็กที่มีคุณภาพในประเทศไทย : กรณีพินิจศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Forms and systems of quality child care services in Thailand: an indepth case study | en_US |
dc.description.abstractalternative | Forms and Systems of Quality Child Care Services in Thailand:An Indepth Case Study Today most Thai families rely on child-care providers to help raise their children, often beginning at a critical stage of their brain development, particularly children under 6 year of age. But most of the settings where Thai children receive care fall short of the quality standards. The primary focus of this qualitative study is to investigate child care forms, systems and factors related to quality child care services in Thailand. The second objective is to analyses the criteria and standards of quality child-care in both private and government setting, and compare with foreign standards in order to set (minimum) standards of care under Thai context. Data was collected from administrators/owners and childcare providers/caregivers of the childcare settings, including children aged 0-6 years and their parents of 20 selected sample child-care centers/schools operated by government and private own in Bangkok and other provinces throughout Thailand. Both Structured and unstructured questionnaires for interviews, including observation and videotaping techniques were used to collect data. The results showed that the forms of child-care services in Thailand were varied depending on the purpose of services (affiliated with school or not) the age group of children to be care (infants, toddlers or preschools) and t the need of children (normal or special disadvantaged children). About the system of good quality child care services, it was found that mostly composed of a better and more efficient managements in terms of accountability of financial system, low staff turnover and higher job responsibility and satisfaction; staff(s) with more formal education and specialized early childhood training in addition, a more developmentally appropriate environment with age-appropriate and child-centered activities to promote learning and foster all aspects of their development; higher standard of health, nutrition and safety provisions; including better relations with parents/and communities were evident. For the quality improvement of all government units in Thailand, the focus was actually on standards and indicators of inputs and process of child-care services/centers more than outcome on child development. A good quality child-care center in Thai context should include some standards from foreign countries such as a clear philosophy and goals between child care staffs and parents to promote their complementary roles and to parents participation; the interactions between children and staff, the interactions between staff themselves; and also the respect of protecting child abuse. Therefore it will be worthwhile to specify that minimum acceptable standards regarding such factors in order to guarantee good quality child-care services for young children. | en_US |
dc.identifier.callno | WS105.5 ก729ร 2544 | en_US |
dc.subject.keyword | รูปแบบและระบบการจัดการสถานเลี้ยงดูเด็ก | en_US |
.custom.citation | กุศล สุนทรธาดา, Kusol Soonthorndhada and จิตตินันท์ เดชะคุปต์. "รูปแบบและระบบการจัดบริการสถานเลี้ยงดูเด็กที่มีคุณภาพในประเทศไทย : กรณีพินิจศึกษา." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1519">http://hdl.handle.net/11228/1519</a>. | |
.custom.total_download | 113 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |