แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาการกระจายและการใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอในประเทศไทย

dc.contributor.authorปิยะ หาญวรวงศ์ชัยth_TH
dc.contributor.authorPiya Hanvoravongchaien_US
dc.contributor.authorฮูตูเบสซี, เรย์มอนด์th_TH
dc.contributor.authorแกมทอง อินทรัตน์th_TH
dc.contributor.authorมานะ วาทะกุลth_TH
dc.contributor.authorวิบูลย์ สุริยจักรยุทธนาth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:20Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:12Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:20Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0973en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1523en_US
dc.description.abstractการกระจายและการใช้งานเครื่องเอ็มอาร์ไอในประเทศไทย เอ็มอาร์ไอเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามาก งานวิจัยชิ้นนี้จะทำการประเมินเทคโนโลยีเอ็มอาร์ไอในส่วนของการกระจายและการใช้งานเครื่องในประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงผลกระทบด้านประสิทธิภาพและความเสมอภาคของบริการตรวจวินิจฉัย จากการศึกษาพบว่าเอ็มอาร์ไอเครื่องแรกในประเทศไทยเริ่มเปิดดำเนินการในปี 2531 ในสถานบริการเอกชน จากนั้นก็เพิ่มจำนวนขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน ณ สิ้นปี 2541 ประเทศไทยมีเครื่องเอ็มอาร์ไอเปิดดำเนินการอยู่ 25 เครื่อง ในจำนวนนี้ 9 เครื่องเป็นของรัฐ 16 เครื่องเป็นของเอกชน โดยมีถึง 17 เครื่องในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องเอ็มอาร์ไอในสถานบริการของรัฐทั้งหมดมีขนาด 1.5 เทสลาร์ ในขณะที่เครื่องในภาคเอกชนมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 0.2 ถึง 2 เทสล่าร์ ค่าเฉลี่ยระยะเวลาเวลาเปิดปิดบริการต่อสัปดาห์ในสถานบริการของรัฐน้อยกว่าของสถานบริการเอกชนอย่างมาก จำนวนผู้รับบริการเฉลี่ยต่อเครื่องในปี 2540 อยู่ที่ 1,233 รายต่อปี โดยมีสถานบริการถึง 6 แห่งที่มีผู้รับบริการน้อยกว่า 500 รายต่อปี จากการสอบถามผู้บริหารสถานบริการที่มีเอ็มอาร์ไอ 23 แห่งพบว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การวางแผนสนับสนุนบริการส่วนอื่นๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีส่วนเสริมในการตัดสินใจลงทุนเปิดบริการ ขณะที่งบลงทุนที่สูงเป็นปัจจัยคิดว่าเป็นอุปสรรคในการลงทุน จากการศึกษาต้นทุนในสถานบริการรัฐและเอกชนจำนวน 8 แห่งพบว่า ค่าเสื่อมราคาเครื่องเป็นต้นทุนหลักของการให้บริการโดยมีสัดส่วนสูงกว่าครึ่งหนึ่งของต้นทุนทั้งหมด จำนวนผู้รับบริการเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดผลการประกอบการ เนื่องจากจำนวนผู้รับบริการของสถานบริการส่วนใหญ่ยังคงต่ำกว่าจุดคุ้มทุน ทำให้มีเพียงสองในแปดแห่งที่มีอัตราการคืนทุนประมาณร้อยละ 100 ส่วนที่เหลืออีก 6 แห่งมีอัตราคืนทุนเพียงแค่ร้อยละ 12 ถึงร้อยละ 41 จำนวนบริการ ณ จุดคุ้มทุนของสถานบริการเอกชนอยู่ที่ประมาณ 1,300 ราย และมากกว่า 2,500 รายสำหรับสถานบริการของรัฐ การศึกษารูปแบบใช้บริการพบว่ามีความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการโดยดูได้จากสัดส่วนผู้มีสิทธิการรักษาพยาบาลที่ต่างกัน ประเด็นเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับแพทย์ผู้ส่งเป็นปัญหาที่อาจจะก่อให้เกิดการส่งตรวจอย่างไม่เหมาะสมและควรจะได้รับการแก้ไข คณะนักวิจัยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่เสมอภาค รวมถึงปัญหาด้านคุณภาพ โดยสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนและการกระจายของเครื่องตามหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงข้อมูลการเจ็บป่วย ลักษณะประชากรและขีดความสามารถของบริการทางการแพทย์ โดยมีการพัฒนาองค์กรที่เป็นผู้ดูแลให้มีความพร้อม เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องที่มีอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาระบบเครือข่ายบริการและการส่งต่อ พัฒนาความรู้และความชำนาญของแพทย์ และให้ความรู้เพิ่มเติมแก่แพทย์และประชาชน รวมถึงการให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาพื้นฐานในภาพรวมระบบการคลังสาธารณสุขและระบบบริการสาธารณสุขที่ยังมีความด้อยประสิทธิภาพและความไม่เป็นธรรมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2287300 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectMRI--Thailanden_US
dc.subjectเครื่องเอ็มอาร์ไอ--ไทยen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาการกระจายและการใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeDiffusion and utilization of MRI in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeDiffusion and Utilisation of MRI in Thailand. MRI is one of the big ticket technology that is expensive in both its procurement cost and its maintenance. This study assesses the efficiency and equity of MRI services by looking at the patterns of diffusion and utilisation in Thailand. The study shows that, since the first introduction of MRI machine in the private facility in 1988, the number of MRI has been gradually increasing both in public and private health sectors. In 1998, Thai people have the choice of getting MRI services from 25 MRI machines in operation; 9 of them are in public hospitals and the rest are in private facilities (10 in private hospitals and 6 in private freestanding diagnostic centers). Most of the machines are located in Bangkok area (17 places). All MRI in the public hospitals have the magnetic power of 1.5 Teslas. The private machines however possess various level of magnetic strength ranging between 0.2 to 2 Teslas. Average operating time per week in the public hospitals is much lower than that in private facilities. Average number of cases operated per machine per year in 1997 is 1,233. There are 6 MRI units with less than 500 patients being examined that year. From the interview with 23 facilities' owners or hospital or center administrators we find out that the nature of technology, planning and logistics are two main stimulating factors for the MRI machine procurement while the budget for investment is the most impeding factor. From the costing studies in 8 sampled MRI units, the results show that capital depreciation cost is the major portion, over half, of total cost of MRI operation. Number of cases operated is the key factor determining their financial results. Majorities of MRI units are operating on lost while only 2 out of 8 sites have nearly 100% cost recovery. The rest are striving with the cost recovery figures between only 12 to 41 percent. The break-even points for MRI operation are calculated to be at around 1,300 cases per year for private facilities and more than 2,500 cases per year for public facilities. The utilization study reveals that there is inequitable MRI access as shown in different rate of its usage among patients from different payment scheme. We furthermore detect that many MRI units under private settings offer financial incentives to the physicians who refer cases to their sites by routing back a certain proportion of service charge acquired from the patients. This controversial way of promotion, "Kick back”, may lead to inappropriate utilisation and should be seriously addressed by regulators, professional organization, and consumer protection agencies. The research team has proposed several recommendations to counteract the problems of inefficiency, inequity and questionable quality of MRI services. We support the upcoming draft of the new Medical Device Act that will embody the regulation on number and distribution of certain medical devices using evidence based on pidemiology, demographic pattern and the distribution of existing facilities. Monitoring and assessing bodies must be empowered with skill and knowledge. Better use of the existing MRI machines will definitely be highly appreciated by all. Strengthening of the service network and referral system is one possible way. Continuing medical education for doctors, radiologists and other staffs together with more public education on the indication of use, benefit and cost of MRI technology will help. Likewise, the fundamental problems resulting from inefficient and unfair health financing and delivery system should not be overlooked.en_US
dc.subject.keywordMedicalen_US
dc.subject.keywordเครื่องมือแพทย์en_US
.custom.citationปิยะ หาญวรวงศ์ชัย, Piya Hanvoravongchai, ฮูตูเบสซี, เรย์มอนด์, แกมทอง อินทรัตน์, มานะ วาทะกุล and วิบูลย์ สุริยจักรยุทธนา. "การศึกษาการกระจายและการใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอในประเทศไทย." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1523">http://hdl.handle.net/11228/1523</a>.
.custom.total_download68
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0973.pdf
ขนาด: 1.195Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย