dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์การใช้และการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตรในพื้นที่อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ศึกษาใน 6 หมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเกษตรกร 293 คน เกษตรกรใช้สารเคมีประเภทออร์กาโนฟอสเฟต 100 หลังคาเรือน ใช้เฉพาะประเภทคาร์บาเมต 14 หลังคาเรือน และใช้สารเคมีทั้ง 2 ชนิด 179 หลังคาเรือน แต่ละหมู่บ้านมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูที่แตกต่างกัน แต่ในภาพรวม เกษตรกรใช้สารเคมีชื่อการค้า ดีคาร์บาม 50 มากที่สุด ร้อยละ 46.76, ฟูราดาน 3% ร้อยละ 45.39, โพลิดอนอี 605 ร้อยละ 27.30, สเปโต ร้อยละ 17.41, และแอนทราซิล 60 ร้อยละ 12.29 พืชที่ปลูกและมีการใช้สารเคมีส่วนใหญ่เป็นแตงร้านใหญ่มากที่สุด รองลงมา จะแตกต่างกันในแต่ละหมู่บ้าน แต่ในภาพรวม ปลูกแตงร้านใหญ่มากที่สุด ร้อยละ 74.742 แตงไทยร้อยละ 74.74 ถั่วฝักยาว ร้อยละ 22.87 แตงโม ร้อยละ 19.8 และพริก ร้อยละ 10.92 นอกจากนี้ยังได้มีการตรวจหาเอ็มไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร โดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษ “Reactive paper” ก่อนฤดูการใช้สารเคมี และหลังใช้สารเคมี 2-4 ชั่วโมง พฤติกรรมการเตรียมสารเคมี จากการสัมภาษณ์ เกษตรกร 293 คน พบว่ามีวิธีการผสมสารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 2.0 การใส่ถุงมือขณะผสมสารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 48.1 การใช้หน้ากากปิดปากปิดจมูกขณะผสมสารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 36.2 พฤติกรรมขณะใช้สารเคมีพบว่า อุปกรณ์ใช้ใส่สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 0.7 การใส่เสื้อกางเกงขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสมร้อยละ 11.9 การใส่ถุงมือขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 45.7 การใช้หน้ากากปิดปากปิดจมูกขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 35.2 การใส่รองเท้าขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 39.9 ลักษณะการเดินขณะใช้สารเคมี ซึ่งหมายถึง การดูทิศทางลมตลอดการใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 44.4 มีพฤติกรรมการกินอาหาร การดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 24.4 พฤติกรรมหลังใช้สารเคมีเกษตรกรมีการอาบน้ำหลังใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 20.8 พฤติกรรมการเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังใช้สารเคมีไม่เหมาะสมร้อยละ 7.8 จากการสังเกตพฤติกรรมการเตรียมสารเคมีของเกษตรกรจำนวน 34 คน พบว่าการใส่ถุงมือขณะผสมสารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 67.6 การใช้หน้ากากปิดปากปิดจมูกขณะผสมสารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 52.9 ขณะใช้สารเคมี พบว่า การใส่เสื้อกางเกงขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 11.8 การใส่ถุงมือขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 61.8 การใช้หน้ากากปิดปิดปากปิดจมูกขณะผสมสารเคมีไม่เหมาสม ร้อยละ 50.0 การใส่รองเท้าขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 44.1 ลักษณะการเดินขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 38.2 มีพฤติกรรมการกินอาหาร, การดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในขณะใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 23.5 ทางด้านพฤติกรรมหลังใช้สารเคมีเกษตรกรมีการอาบน้ำหลังใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 41.1 พฤติกรรมการเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ร้อยละ 8.8 ข้อมูลพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากการสัมภาษณ์ และการสังเกตจะพบข้อมูลที่แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะอยู่ระยะเวลาที่แตกต่างกัน หรือเกษตรกรบางส่วนรู้ว่าพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นอย่างไร และตอบตามพฤติกรรมที่ควรจะเป็นมากกว่า พฤติกรรมที่กระทำจริง ผลการตรวจระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรก่อนฤดูกการปลูกพืช จำนวน 239 คน อยู่ในกลุ่ม “มีความเสี่ยง” และ“ไม่ปลอดภัย” ร้อยละ 41.00 ผลการตรวจเลือดเกษตรกร หลังการใช้สารเคมี 2-4 ชั่วโมง จำนวน 43 คน อยู่ในกลุ่ม “มีความเสี่ยง” และ“ไม่ปลอดภัย” ร้อยละ 53.49 เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจเลือดของเกษตรกรในคนเดียวกันจำนวน 24 คน พบว่าอยู่ในระดับ “มีความเสี่ยง” และระดับ “ไม่ปลอดภัย” ก่อนใช้สารเคมี ร้อยละ 41.6 เพิ่มขึ้นหลังใช้สารเคมีเป็นร้อยละ 58.4 การวิเคราะห์เฉพาะรายบุคคลของเกษตรกรที่ตรวจครบ 2 ครั้ง จำนวน 24 คน พบว่า มีระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดลดลง ร้อยละ 54.17 อาการแสดงหลังจากเกษตรกรใช้สารเคมีที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดศรีษะ มากที่สุด ร้อยละ 43.3 รองลงมา มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 11.3 หายใจขัด แน่นหน้าอกหายใจลำบาก ร้อยละ 8.2 เหงื่อออกมาก ร้อยละ 6.8 กล้ามเนื้อกระตุก มือสั่นตัวสั่น ร้อยละ 6.5 น้ำลายไหล ร้อยละ 6.5 และ คอแห้ง ร้อยละ 5.1 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรยังมีพฤติกรรมีที่ไม่เหมาะสมทั้งในระหว่างเตรียมสารเคมี ขณะใช้สารเคมีและหลังจากใช้สารเคมี นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดลดลง หลังจากใช้สารเคมี เมื่อเปรียบเทียบกับผลการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดก่อนฤดูการปลูก สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่เหมาะสมของเกษตรกรอีกด้วย | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed at elaborating prevention behaviours from pesticide poisoning among farmers in Amphur Nonsa-aad, Udonthani province. The study was cet in 6 villages from which 293 farmers having used organophosphate and organocarbamate pesticides were recruited. Of these users, 100 used only organophosphates, 14 used only organocarbamate, 179 used both. Survey of preference of brands used was found that Decarbam 50 and Furadan 3% were the most popular pesticides(46.79% and 45.39% respectively). Others were Folidon E 605(27.3%), Spato(17.41%), Anthracil 60(12.29%). Vegetables most frequently used of pesticides were Tang-ran-yai(Curcumis sativas)(74.74%) and Tang-tai(Curcumis melo)(74.74%). Others were long bean(22.87%), waterrmelon(19.8%), chilli(10.92%). Blood cholinesterase in farmers was also tested using ‘reactive paper’ before and after spraying pesticides for 2 – 4 hours. Prevention behavious from pesticide poisoning of farmers were categorised in this study into 3 stages of practice, i.e., preparation, spraying and after spraying. Same data were collected using 2 methods, i.e., from in-depth interview and a direct observation. From interviewing, inappropriate practices among 293 farmers in the preparation stage were found in mixing of pesticides(2%), gloves wearing(48.1%), masks wearing(36.2%). After spraying, inappropriate practices were found such as equipment used(0.7%), clothing(11.9%), gloves wearing(35.2%), shoes wearing(39.9%), walking direction according to wind(44.4%), eating and drinking food or smoking(24.4%). After spraying, inappropriate practices were found. These were bathing(20.8%) and clothes changing(7.8%). From direct observation, inappropriate practices among 34 users in the preparation stage were found in gloves wearing(67.6%) and mask wearing(52.9%). During spraying stage, inappropriate practices were found about clothing(11.8%), gloves wearing(61.8%), mask wearing(50.0%), shoes wearing(44.1%), walk direction according to wind(38.2%), eating and drinking food or smoking(23.5%). After spraying, inappropriate practices were found in bathing(41.2%), clothes changing(8.8%). Deviation in percentage found between the 2 methods may have been due to practicing from different frame and2or that some farmers gave answers for an interview different from the real practices. Blood cholinesterases found before spraying period from 239 farmers were in ‘in-risk’ and ‘not-safe’ levels for 41.0%. After spraying pesticides for 2 – 4 hours, blood cholinesterases of 43 users were ‘in-risk’ and ‘not-safe’ levels for 53.49%. When the blood cholinesterases were compared within the same users of 24 farmers, 41.6% was found in ‘in-risk’ and ‘not-safe’ levels before spraying period and the number was increasing to be 58.4% after spraying. Symptoms after spraying were described by farmers in orderly. These were headache(43.3%), nausea2vomiting(11.3%), dyspnea(8.2%), sweating(6.8%), tremor(6.5%), saliva increasing(6.5%) and moth dryness(5.1%). The study concluded that farmers had inappropriate prevention behaviours from pesticide poisoning in all the three stages of practice, i.e., in preparation, spraying and after spraying pesticides. The decrease in blood cholinesterases after spraying pesticides 2 – 4 hours go along with these inappropriate practices. | en_US |