• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แผนที่นโยบายสาธารณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประธาน ฦาชา; Prathan Luecha;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการได้มาซึ่งนโยบายสาธารณะของภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2547 โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ ซึ่งผลการศึกษาได้ปรากฏดังต่อไปนี้ นโยบายสาธารณะที่สำคัญที่ได้ทำการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546 โดยกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะทั้ง 3 ฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำร่างนโยบาย แต่มีเพียงการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546 เท่านั้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างข้อเสนอในขั้นตอนต่อไป รวมถึงการรับรู้ตัดสินใจเพื่อจัดทำร่างนโยบายที่เสนอต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้นโยบายดังกล่าว ส่วนอีก 2 กระบวนการนั้นประชาชนได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการจัดทำร่างนโยบายน้อยมาก แนวคิดในการจัดทำร่างนโยบายทั้ง 3 ฉบับมีความแตกต่างกัน โดยแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงการค้าเพื่อก่อให้เกิดรายได้ในภูมิภาค ส่วนข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมุ่งเน้นไปที่การสร้างสุขภาวะของมนุษย์ให้ครบทุกองค์ประกอบ ได้แก่ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) ซึ่งแนวคิดที่แตกต่างกันนี้ส่งผลถึงกระบวนทัศน์และแนวทางในการกำหนดนโยบายที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงการวัดและประเมินผลนโยบายที่ตามมาโดยแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถประเมินผลได้ชัดเจนมากกว่าการประเมินผลของข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องทำประเมินในหลายองค์ประกอบ กระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ มากขึ้น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกนโยบายที่จะมีผลมาใช้กับประชาชนเอง เพื่อให้นโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1213.pdf
ขนาด: 887.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 50
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV