Show simple item record

Cross-subsidization and risk sharing between health services during the pilot phase of universal coverage

dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:59Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:59Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1093en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1560en_US
dc.description.abstractเนื่องจากต้นทุนการจัดบริการของสถานพยาบาลต่างๆ มีความแตกต่างกันมาก การเข้าสู่การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนไทย ด้วยวิธีงบประมาณแบบใหม่จะมีความสำคัญในการส่งเสริมให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างราบรื่น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีศึกษาต้นทุนการให้บริการและประมาณการความเสี่ยงทางการเงินของสถานพยาบาลในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะนำร่อง เพื่อสร้างกลไกการอุดหนุนการจัดบริการของสถานพยาบาลอย่างเหมาะสม วิธีการศึกษา ศึกษาต้นทุนสถานบริการด้วยวิจัยสำรวจด้วยแบบสอบถามส่งถึงโรงพยาบาลทุกประเภทใน 21 จังหวัดนำร่องปี 2542-2544 คำนวณต้นทุนต่อหน่วยตามวิธีลัด วิเคราะห์ต้นทุนบริการและการเรียนการสอนจากเอกสารงบประมาณของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง ปี 2535-2544 สร้างสมการอุดหนุนสำหรับบริการผู้ป่วยในของสถานบริการระดับต่างๆ จากฐานข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลของโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ใน 21 จังหวัด วิจัยปฏิบัติการแปลงระบบบัญชีเงินสด เป็นระบบบัญชีคงค้างใน 2 โรงพยาบาล ผลการศึกษา อัตราการตอบแบบสอบถามกลับอยู่ในระดับต่ำระหว่างร้อยละ 3-60 ตามประเภทโรงพยาบาล ต้นทุนต่อครั้งผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชนประมาณ 100-200 บาท ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยใน ประมาณ 2,000-6,000 บาท ต้นทุนต่อครั้งผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปประมาณ 200-400 บาท ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยใน ประมาณ 3,000-7,000 บาท ต้นทุนต่อครั้งผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์ประมาณ 300-500 บาท ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยใน ประมาณ 5,000-8,000 บาท ต้นทุนต่อครั้งผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ประมาณ 800-900 บาท ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยใน ประมาณ 17,000-18,000 บาท การมีต้นทุนที่ต่างกัน เป็นความเสี่ยงทางการเงินสำคัญของสถานพยาบาล ถ้าได้รับเงินอุดหนุนที่เท่ากัน เมื่อทดสอบสมการอุดหนุนแก่สถานบริการที่ต้องการคำนึงทั้งปริมาณผลงานและองค์ประกอบประสิทธิภาพ คุณภาพและความเป็นธรรมของสถานบริการพบว่า การใช้วิธีจัดอันดับด้านประสิทธิภาพ ความเป็นธรรมและคุณภาพ เป็นตัวแปรของสมการ มีส่วนจัดเงินอุดหนุนเพียงร้อยละ 2-4 เท่านั้น แต่ถ้าใช้ตัวเลขจริงด้านประสิทธิภาพ ความเป็นธรรมและคุณภาพ การมีส่วนจัดเงินอุดหนุนตามสมการเพิ่มเป็นร้อยละ 51-75 การวิจัยปฏิบัติการแปลงระบบบัญชีพบว่า บุคลากรด้านการเงินการบัญชีมีจำนวนและความรู้ความชำนาญต่อภารกิจใหม่ในระดับไม่พอเพียง เนื่องจากระบบใหม่ต้องรับรู้และแยกประเภทรายรับพึงรับและรายจ่ายพึงจ่ายระบบสอบยันความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน สรุป การศึกษาครั้งนี้ ยืนยันความแตกต่างของต้นทุนการให้บริการของสถานพยาบาลแต่ละระดับ ข้อมูลต้นทุนของสถานพยาบาลรวมทั้งผลงานบริการยังมีปัญหาความเที่ยงตรง การสร้างสมการเพื่ออุดหนุนและให้เฉลี่ยความเสี่ยงระหว่างสถานพยาบาล ต้องคำนึงถึงปัจจัยตัวแปรทั้งประสิทธิภาพ คุณภาพบริการและความเป็นธรรมของแต่ละสถานพยาบาลในระดับที่มีความสำคัญ การปรับระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง ควรให้ความสนใจกับความสามารถและปริมาณบุคลากรด้านการเงินการบัญชี รวมทั้งระบบข้อมูลเพื่อสอบยันรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.description.abstractระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectRisk Managementen_US
dc.subjectHealth Insuranceen_US
dc.subjectCost and Cost Analysisen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.titleการอุดหนุนและเฉลี่ยความเสี่ยงระหว่างสถานบริการในการเข้าสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะนำร่องth_TH
dc.title.alternativeCross-subsidization and risk sharing between health services during the pilot phase of universal coverageen_US
dc.description.abstractalternativeBackground Since cost of providing care at each level greatly differs, the implementation of universal coverage for all Thais by new allocation method is a key to smoothing the transition. This research aimed to find better way of monitoring cost, to identify providers facing financial hardship during the pilot phase in order to suggest appropriate policy of subsidizing providers.Methods 1. Study cost by questionnaire survey to all providers in 21 provinces Fiscal years 1999-2001 by quick method, 2. Study costs of service and education of teaching hospital by reviewing budget documents from 1992-2001, 3. Fit a formula for subsidizing inpatient services by data from individual inpatient data and yearly report of community, general and regional hospitals in 21 provinces, 4. Action research changing the accounting report from cash to accrual basis in 2 hospitals.Results Response rate was low from 3-60% by type of hospital. Cost per outpatient visit at community hospital was 100-200 baht, and cost per inpatient admission was 2,000-6,000 baht. Cost per outpatient visit for general hospital was 200-400 baht and for inpatient was 3,000-7,000 baht. Cost per outpatient at regional hospital was 300-500 baht and for inpatient was 5,000-8,000 baht. Cost per outpatient for teaching hospital was 800-900 baht and for inpatient was 17,000-18,000 baht. Huge difference in cost was a major financial risk for providers. When fitting the model for subsidizing hospital according to efficiency, quality and equity factors, it revealed that using ranking approach could contribute only 2-4% of the total subsidy while using the real value of each factor could contribute much higher to 51-75% of the total subsidy. Action research of accrual accounting system found that there was a lack of adequate number of personnel in finance department as well as a lack of capacity in carrying out this new task. A good system to validate the data for both account receivable and account payable was urgently needed.Conclusions This study confirmed wide differences of costs between each level of health services, however reliability of data was a problem. The subsidization formula to reduce financial risk was tested to include factors on efficiency, quality and equity of each level of health service. The accrual accounting system required an urgent capacity building and adequate number of competent personnel. The system to validate revenue and spending data was used needed urgently.en_US
dc.identifier.callnoWX157 ศ735ก 2546en_US
dc.identifier.contactno44ค049en_US
dc.subject.keywordUnit Costen_US
dc.subject.keywordSubsidization Formulaen_US
dc.subject.keywordAccrual Accounting Systemen_US
dc.subject.keywordต้นทุนบริการen_US
dc.subject.keywordสมการอุดหนุนen_US
dc.subject.keywordระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างen_US
.custom.citationศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "การอุดหนุนและเฉลี่ยความเสี่ยงระหว่างสถานบริการในการเข้าสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะนำร่อง." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1560">http://hdl.handle.net/11228/1560</a>.
.custom.total_download23
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1093.pdf
Size: 994.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record