Show simple item record

Thai National Drug Consumption for the year : 2000-2001

dc.contributor.authorรุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์th_TH
dc.contributor.authorRungphech Sakulbamrungsilen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:34Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:34Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1103en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1569en_US
dc.description.abstractมูลค่าการบริโภคยา (National Drug Consumption) ของประเทศไทยเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยสะท้อนระบบยาและระบบสุขภาพของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในการจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Account- NHA) จึงจำเป็นต้องรวบรวมและสอบทานจำนวนเงินที่ใช้จ่ายไปในการบริโภคยาผ่านช่องทางต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการมูลค่าการบริโภคยาของประเทศไทย ตลอดจนการกระจายยาผ่านช่องทางหลักๆ โดยเน้นการวงแนวทางการอ้างอิงหรือปรับใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมุ่งหวังที่จะนไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาระบบข้อมูลของหน่วยบานเพื่อให้สามารถรายงานมูลค่าการบริโภคยาภายในประเทศได้อย่างเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือต่อไปในอนาคต การศึกษามูลค่าการบริโภคและการกระจายยาของประเทศไทยครั้งนี้ ศึกษาข้อมูลต่อเนื่องกัน 2 ปี คือ ข้อมูลในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 และสิ้นสุดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้ฐานข้อมูลของภาครัฐ โดยเฉพาะข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ในการรายงานมูลค่าการบริโภคยาของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการศึกษาหลักใช้การเปรียบเทียบข้อมูลลักษณะเดียวกันที่ได้จากแหล่งข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง จากนั้นจึงคำนวณหาค่า Correcting Factor (CF) เพื่อใช้ปรับมูลค่าการผลิต และการนำเข้า การประมาณการมูลค่าการผลิต การนำเข้า และการส่งออกยาของประเทศไทย ประมาณการมูลค่าการกระจายยาที่มีการบริโภคผ่านช่องทางต่างๆ เฉพาะการบริโภคในระบบ เพื่อคำนวณหามูลค่าการบริโภคยาของประเทศ รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคของการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ท้ายสุดเป็นการสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลทุติยภูมิที่มีอยู่ให้สามารถใช้ เพื่อรายงานมูลค่าการบริโภคยาอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในการศึกษามูลค่าการผลิต ผู้วิจัยได้รับสำเนาบัญชีการผลิตยาจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย จากกลุ่มตัวอย่าง 49 ราย และในการศึกษาสัดส่วนการกระจายยาจากผู้ผลิตและผู้นำเข้ายาโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง ได้รับข้อมูลที่สามารถใช้ได้เป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 49.08 (160 จาก 326 บริษัท) ผลการศึกษาคือ ในปี 2543 และ 2544 ได้ค่า CF ที่ใช้ปรับมูลค่าการผลิตที่รายงานไปยังกองควบคุมยา เท่ากับ 1,048 และ 1.003 ส่วนค่า CF ที่ใช้ปรับมูลค่าการนำเข้าที่รายงานไปยังกองควบคุมยา เท่ากับ 1,766 และ 1,263 และได้ข้อมูลมูลค่าการบริโภคยา ภายในประเทศ ณ ราคาผู้ประกอบการ ประมาณห้าหมื่นล้านบาท และสี่หมื่นล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการศึกษานี้ได้ข้อมูลสำเนาบัญชีการผลิตจากผู้ผลิตจำนวนน้อย ค่า CF ของมูลค่าการผลิตที่คำนวณได้จึงยังขาดความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่าหากพฤติกรรมของผู้ประกอบการเป็นแนวทางเดียวกันในทุกประเภทของการรายงานแล้ว จะสามารถนำค่า CF ของมูลค่าการนำเข้ามาปรับมูลค่าการผลิตแทนได้ ซึ่งจะได้มูลค่าการบริโภคยาของประเทศ ณ ราคาผู้บริโภคของปี 2543 เท่ากับ 89,818,752,074.11 บาท และปี 2544 เท่ากับ 73,420,994,953.75 บาท การศึกษานี้ พบปัญหาและอุปสรรคมากมายหลายประการ อาทิเช่น คุณภาพของข้อมูลและการกำหนดรูปแบบการรายงานข้อมูลการผลิต นำเข้า และส่งออกยา โครงสร้างฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่ข้อเสนอแนะทั้งในส่วนของคุณภาพรายงาน ส่วนโครงสร้างฐานข้อมูลและสำหรับงานวิจัยในอนาคต ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในส่วนโครงสร้างฐานข้อมูลและความเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูลของหน่วยงานใน อย. ได้แก่ หน่วยงานที่ทำหน้าที่คล้ายหรือเกี่ยวข้องกัน ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงสร้างฐานข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต ได้แก่ เพิ่มการวิจัยในส่วนของการกระจายยา มูลค่าการส่งออก การศึกษาสัดส่วนการบวกเพิ่มจากต้นทุนให้มีความครอบคลุมและละเอียดมากยิ่งขึ้น พัฒนาฐานข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นรูปธรรมและมีความชัดเจนยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1976113 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectDrugsen_US
dc.subjectDrug Utilizationen_US
dc.subjectMedication Systemsen_US
dc.subjectHealth Expendituresen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectยาen_US
dc.subjectการใช้ยาen_US
dc.subjectการใช้ยา, ระบบen_US
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลen_US
dc.subjectระบบเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleมูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544th_TH
dc.title.alternativeThai National Drug Consumption for the year : 2000-2001en_US
dc.identifier.callnoQV55 ร626ม 2547en_US
dc.identifier.contactno45ค017 ล2en_US
dc.subject.keywordDrug Expenditureen_US
dc.subject.keywordNational Health Accounten_US
dc.subject.keywordค่าใช้จ่ายด้านยาen_US
dc.subject.keywordบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติen_US
.custom.citationรุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ and Rungphech Sakulbamrungsil. "มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1569">http://hdl.handle.net/11228/1569</a>.
.custom.total_download228
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1103.pdf
Size: 1.126Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record