Show simple item record

Computed tomography(CT Scan)the value and impact on the patients' management & health care providers in the MOPH hospitals

dc.contributor.authorสมใจ หวังศุภชาติen_US
dc.contributor.authorSomjai Wangsupachatien_US
dc.contributor.authorสุกัลยา เลิศล้ำen_US
dc.contributor.authorแฉล้ม เศรษฐวานิชen_US
dc.contributor.authorพนิดา มุกดีพร้อมen_US
dc.contributor.authorกมลธรรม พูลภิญโญen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:25Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:25Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0375en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1570en_US
dc.description.abstractการประเมินคุณค่าของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความคุ้มค่าของการใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลศูนย์ของกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง 1 แห่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร อีก 2 แห่งอยู่ในภาคกลาง นอกกรุงเทพมหานครและภาคใต้ โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในช่วง 6 เดือน ระหว่างปี 2538 - ปี 2539 โดยความคุ้มค่านี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะต้นทุนต่อครั้งของการตรวจ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้ประโยชน์ต่อผู้บริการ แต่หมายรวมถึง ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ความเหมาะสมของข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจและอัตราการใช้คุณลักษณะพิเศษที่มีมาพร้อมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด spiral ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนต่อครั้งของการตรวจของโรงพยาบาล 1 ซึ่งมีการตรวจ 726 รายโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะเดิม ต่ำที่สุดคือ 2,928 บาท ในขณะที่ต้นทุนต่อครั้งของการตรวจของโรงพยาบาล 2 ซึ่งมีการตรวจ 436 ราย และของโรงพยาบาล 3 ซึ่งมีการตรวจ 432 ราย โดยใช้เครื่อง spiral CT เป็น 6,344 บาท และ 3,738 บาท ตามลำดับ ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยถูกต้องจากเครื่องที่มีคุณลักษณะเดิม = 3,068 บาท จากเครื่อง spiral CT ของโรงพยาบาล 2 และ 3 เป็น 6,554 บาท และ 4,027 บาท ตามลำดับ อัตราการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องไม่ต่างกันจากการตรวจด้วยเครื่องที่มีคุณลักษณะต่างกันคือ ร้อยละ 95 จากเครื่องที่มีคุณลักษณะเดิม ร้อยละ 97 และร้อยละ 93 จากเครื่อง spiral CT ของ โรงพยาบาล 2 และ โรงพยาบาล 3 ตามลำดับ โดยมีความแม่นยำในการวินิจฉัยจากการสุ่มตัวอย่าง interobserver Kappa 0.8-1 และมี agreement ของผลการตรวจที่ผิดปกติ 92 - 95 เปอร์เซนต์ โรงพยาบาล 1 ซี่งมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะเดิม มีต้นทุนต่อครั้งของการตรวจ และต้นทุนต่อรายผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยถูกต้องต่ำสุด อย่างไรก็ดีผู้ป่วยในโรงพยาบาล 2 และ โรงพยาบาล 3 มีอัตราการหายขาดและอาการดีขึ้นมากกว่าผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 โรงพยาบาลที่มีเครื่องคุณลักษณะเดิมมีความเหมาะสมของข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ ร้อยละ 92 ซึ่งมากกว่าโรงพยาบาลซึ่งมีเครื่อง Spiral CT (ร้อยละ 70 ในโรงพยาบาล 2 และ ร้อยละ 75 ในโรงพยาบาล 3) อัตราความเหมาะสมของข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจจากแพทย์เฉพาะทาง มีแนวโน้มต่ำกว่าความเหมาะสมของข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจจากแพทย์ทั่วไปในทุกโรงพยาบาล การใช้คุณลักษณะพิเศษที่มาพร้อมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด spiral ค่อนข้างน้อย (ร้อยละ 9.3) ในโรงพยาบาล 2 และปานกลาง (ร้อยละ 43.9) ในโรงพยาบาล 3 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาผลของสิทธิคุ้มครองของผู้ป่วยต่อการตัดสินใจส่งตรวจของแพทย์ ในสภาพทางคลีนิคของผู้ป่วยที่พบบ่อยในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งพบว่าการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่ได้ขึ้นกับสิทธิคุ้มครองของผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 และ 2 ซึ่งจำแนกเป็นกลุ่มข้าราชการ กลุ่มประกันสังคม กลุ่มที่โรงพยาบาลต้องสงเคราะห์ และกลุ่มที่จ่ายเองได้ ส่วนในโรงพยาบาล 3 กลุ่มข้าราชการมีแนวโน้มในการตัดสินใจส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือมาด้วยอาการปวดศีรษะen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2683240 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleการประเมินคุณค่าของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeComputed tomography(CT Scan)the value and impact on the patients' management & health care providers in the MOPH hospitalsen_US
dc.description.abstractalternativeComputed Tomography (CT scan) the Value and Impact on the Patient's Management & Health Care Providers in the MoPH Hospitals Cost-effectiveness of conventional CT compared to spiral CT scanning was study in three MOPH hospitals, one in Bangkok (spiral CT), the other two in the central (conventional CT) and southern (spiral CT) parts of Thailand during 6-month period in 1995 - 1996.Objective: Primary : To study cost per CT examination and cost per accurate diagnosis comparing between conventional and spiral CT scanners and also to study indication appropriateness for CT request among three hospitals. Secondary : To study the rate of using spiral mode and options which are specifications of spiral CT scanner differred from the conventional CT scanner. To study impact of CT request on the different fringe benefit groups of patients. Design : Prospective cross-sectional study.Participants: All CT requested patients during 6 months, 726 cases in the hospital with conventional CT, 436 and 432 cases in the other two hospitals with spiral CT.Main Outcome Measures: Cost per CT examination, cost per accurate diagnosis and percentage of appropriateness for CT request.Results: Cost per conventional CT examination is 2,928 Bht. while cost per accurate diagnosis is 3,068 Bht. Cost per spiral CT examination in BKK. = 6,344 Bht. and in the hospital outside BKK. = 3,738 Bht. while the cost per accurate diagnosis = 6,554 Bht. and 4,027 Bht. respectively. The accuracies in diagnosis are almost the same, i.e., 95% for conventional CT 97%, and 93% for spiral CT with almost perfect inter-observer reliability (K = 0. 8 - 1) and 92 - 95% agreement of the abnormal findings. The study shows tendency of some influence on decision of CT request for government officials whom full reimbursement is applicable. The appropriateness of CT request is 92% in the conventional CT; 70%, and 75% in the other two hospitals of spiral CT. Conclusion: Conventional CT is more cost-effective than spiral CT in the MOPH hospitals. The accuracies in diagnosis are not different.en_US
dc.identifier.callnoWN250.5 ส16ก 2541en_US
dc.subject.keywordComputed Temographyen_US
dc.subject.keywordCT Scanen_US
dc.subject.keywordPatients' Mangementen_US
dc.subject.keywordHealth Care Providersen_US
dc.subject.keywordX-Rayen_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยen_US
dc.subject.keywordรังสีเอกซ์en_US
dc.subject.keywordเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์en_US
dc.subject.keywordการรักษาผู้ป่วยen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลสาธารณสุขen_US
.custom.citationสมใจ หวังศุภชาติ, Somjai Wangsupachati, สุกัลยา เลิศล้ำ, แฉล้ม เศรษฐวานิช, พนิดา มุกดีพร้อม and กมลธรรม พูลภิญโญ. "การประเมินคุณค่าของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1570">http://hdl.handle.net/11228/1570</a>.
.custom.total_download81
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0375.pdf
Size: 2.693Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record