dc.contributor.author | รุจินาถ อรรถสิษฐ | en_US |
dc.contributor.author | Rujinat Atasit | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:20:35Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:34:25Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:20:35Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:34:25Z | |
dc.date.issued | 2541 | en_US |
dc.identifier.other | hs0145 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1581 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องสถานภาพและบทบาทการส่งเสริมสุขภาพของภาคประชาชน มุ่งเน้นการศึกษาและการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการส่งเสริมสุขภาพในภาคประชาชน มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนไทย (2) เพื่อศึกษาบทบาทและพัฒนาการด้านส่งเสริมสุขภาพของภาคประชาชน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน (3) เพื่อวิเคราะห์และหาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพในภาคประชาชน วิธีการศึกษาประกอบด้วย 3 วิธี คือ วิธีการทบทวนวรรณกรรม วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเพิ่มขึ้น และประชาชนไทยกำลังเผชิญหน้ากับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ลีลาชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ประชาชนไทยบริโภคอาหารไทย แต่มีการบริโภคไขมันเพิ่มขึ้นและเส้นใยน้อยลง กิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนไทยคือ ทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง วิธีการพักผ่อนคือ การชมโทรทัศน์ คนไทยมีการออกกำลังกายน้อย บางส่วนยังคงสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคนไทยยังมีพฤติกรรมการใช้ยาด้วยตนเอง ในลักษณะมากเกินจำเป็นและไม่เหมาะสม และในปัจจุบัน ประชาชนไทยมีความเครียดสูงขึ้น และยังขาดทักษะการเผชิญสถานการณ์และปัญหาชีวิตในสังคมแบบสมัยใหม่ และยังพบว่าประชาชนไทยให้ความสนใจสุขภาพเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า สิ่งแวดล้อมด้านสังคมและด้านกายภาพส่งผลต่อสุขภาพของคนไทยมากขึ้น สำหรับการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมและพัฒนาด้านสาธารณสุขมากกว่าสองทศวรรษ แต่เป็นการชักชวนให้มีส่วนร่วมตามการชี้นำของบุคลากรสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม องค์กรพัฒนาภาคเอกชน และองค์กรภาครัฐบางแห่งได้มีบทบาทส่งเสริมให้ชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม ตัดสินใจ ควบคุมและพัฒนาด้านสาธารณสุขของชุมชน และยังมีองค์กรชุมชนที่เคลื่อนไหวด้านการส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย จากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ (1) กระทรวงสาธารณสุขควรเพิ่มศักยภาพด้านสุขภาพของประชาชนไทยให้มากขึ้น โดยอาศัยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับสถานการณ์ชีวิตของประชาชนไทยให้มากขึ้น (2) กระทรวงสาธารณสุขควรส่งเสริมให้องค์กร/กลุ่มภายในชุมชนริเริ่ม ตัดสินใจ และพัฒนาสุขภาพของชุมชนอย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน (3) กระทรวงสาธารณสุขควรส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขมีทักษะการเพิ่มความสามารถ ทักษะการไกล่เกลี่ย และทักษะการชี้แนะทางสาธารณะในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ (4) กระทรวงสาธารณสุขควรจัดทำแผนแม่บทระยะยาวด้านส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือแบบหลายภาคี | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Promotion | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.title | สถานภาพและบทบาทการส่งเสริมสุขภาพของภาคประชาชน | en_US |
dc.title.alternative | Status and role of Thai people in health Promotion | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the study were (1) to study the situation of Thai-people health promotion (2) to study the role and the development of health promotion in popular sector, and the relationship between government sector and non-government sector (3) to analyze and to suggest the policy recommendation on the contribution of health promotion. The methods of this study were document review method, indepth interview and informal interview. The finding of this study was: in general, life expectancy at birth has lengthened substantially, Thai people was facing a changing pattern of health, the pattern of morbidity and motality have changed, non-communicable diseases were increasing. The Thai’s lifestyle was changing to urban lifestyle. Thai people mostly eat Thai food, but they increasingly eat saturated fat and decreasingly eat fiber foods. Thai’s daily activities are 8-9 hours of work, 6-8 hours of sleeping, watching television. Lack of exercise and inappropriate self-medication; and some people drink alcoholic beverages and smoke cigarettes. And, Thai people were coping with the stress problem and lack in the coping skill and the life-skill in the modern society. The study also concluded that Thai people were interested in ill health or illness. For the community-based health promotion, the government have had the policy of the community participation and health development for two decades, but the communities were induced by the health personnel. However, the non-government organizations and some government organization contribute the community’s initiatives, decision-making, control and health development. Some community organizations/groups were initiated the health promotion activities by themselves. If was recommended that (1) MOPH should increase the individual health potential; using the variety of methods and the appropriate methods (2) MOPH should promote community organizations and contribute the community’s initiatives, decision-making and health development (3) MOPH should promote the health personnel skill of mediation, enabling and advocacy in the health promotion process (4) MOPH should formulate the long-term master plan of health promotion. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540 ร655ส 2541 | en_US |
.custom.citation | รุจินาถ อรรถสิษฐ and Rujinat Atasit. "สถานภาพและบทบาทการส่งเสริมสุขภาพของภาคประชาชน." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1581">http://hdl.handle.net/11228/1581</a>. | |
.custom.total_download | 210 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |