แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

แบบแผนและความหมายแห่งองค์รวม

dc.contributor.authorวีระ สมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorWeera Somboonen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:41Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:23:33Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:41Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:23:33Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1178en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1594en_US
dc.description.abstractงานเขียนเรื่อง “แบบแผนและความหมายแห่งองค์รวม” นี้ เป็นผลมาจากงานวิจัยเรื่อง “องค์รวม” อันเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการสังเคราะห์ความรู้: สังคมไทยในกระแสการปฏิรูป” งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจและนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์รวม (holism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีการกล่าวถึงอยู่มากในกระแสปฏิรูปสังคมไทยปัจจุบัน โดยอาศัยแนวความคิดและทฤษฎีต่อไปนี้:- อธิสาร (metamessage) ประเภทของตรรกะ (logical type) และนิเวศวิทยาแห่งจิต (ecology of mind) ของ เกรเกอรี เบทสัน, จุดรวมเชิงจินตนาการ (focus imaginarius) หรือเอกภาพสมมติ (projected unity) ของ อิมมานูเอล ค้านท์, การสร้างนามธรรม (abstraction) อัตลักษณ์ (identity) และฉากหลัง (background) ของ อัลเฟรด นอร์ธ ไวท์เฮด, บทวิพากษ์การลดทอนแยกส่วนอย่างแรงกล้า (strong reductionism) ของ สตีเฟน รอธแมน, กระบวนการสร้างวัตถุวิสัย (objectvation) ของ เออร์วิน ชเรอดิงเจอร์, อเทศภาวะ (non-locality) และปฏิสัมพันธ์ (interrelationship) ของ ควอนตัมฟิสิกส์, ระเบียบแฝงตัว (implicate order) ระเบียบเผยตัว (explicate order) และ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของกายและสัญการณ์ (soma-significance interrelationship) ของ เดวิด โบห์ม, และสังกาลภาพ (synchronicity) ของ คาร์ล จุง, รวมทั้งการอภิปรายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจาก มิลินทปัญหา และงานเขียนชิ้นสำคัญ เช่น งานของ เรอเน เดส์คาร์ตส์ (Rene Descartes),ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) และ มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) เป็นต้นจากการศึกษา วิเคราะห์และประมวลแนวความคิดต่าง ๆ งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อสรุปว่า องค์รวมคือ “แบบแผนเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ อย่างมีความหมาย ในบริบทหนึ่งๆ”องค์รวมเป็นประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของความคิดมนุษย์ ซึ่งจำต้องอาศัยแบบแผนเชื่อมโยงดังกล่าว ดังนั้น องค์รวมกับองค์ประกอบจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกจากกันได้ และสิ่งที่ทำให้ทั้งหมด “โยงถึงกัน” ได้ในลักษณะหนึ่ง ก็คือแบบแผนที่อิงอาศัยความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งการแยกส่วน (fragmentation) กับการลดทอน (reduction) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และเมื่อพิจารณาแนวความคิดหลายประการที่มักถือกันว่าเป็น แนวทางลดทอนแยกส่วน (reductionism) อย่างจริงจังแล้วจะพบว่า แท้ที่จริงก็มีองค์รวมและความหมายเป็นพื้นฐานอยู่แนวคิดเกี่ยวกับองค์รวมมีความสอดคล้องกันในประเด็นเรื่อง การให้ความสำคัญต่อความหมายและบริบท และพยายามนำเอาประเด็นเรื่องความหมายในบริบทต่าง ๆ กลับเข้ามาสู่การสร้างองค์ความรู้ประเด็นหลักขององค์รวมจึงอยู่ที่ การตระหนัก (awareness) ในองค์รวมซึ่งเป็นพื้นฐานแนวทางการสร้างความรู้ในปัจจุบัน และควรเน้น “ความหมาย” หรือ คุณค่า” อันเป็นตัวกำหนดหน่วยภาวะรวม องค์ประกอบ และบริบทของการแสวงหาความรู้ ประเด็นดังกล่าวนี้อาจเรียกได้ว่า “อธิวิธีวิทยา” (meta-methodology) ซึ่งหมายถึง การตระหนักรู้และเลือกใช้ความหมาย (meaning) แบบหนึ่ง กำหนดนิยามหน่วยภาวะทั้งหมด (whole entity) องค์ประกอบ (parts) บริบท (context) และสร้างแบบแผนเชื่อมโยง (connecting pattern) ของสิ่งที่กล่าวถึงหรือสังเกตศึกษา รวมทั้งการทำความเข้าใจหรือถกเถียงเกี่ยวกับความหมายที่นำมาใช้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent777731 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHolistic Healthen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectสุขภาพen_US
dc.subjectกฎหมายสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleแบบแผนและความหมายแห่งองค์รวมth_TH
dc.title.alternativePatterns and meanings of holismen_US
dc.description.publicationมีฉบับตีพิมพ์เชิงสารคดีเก็บไว้ในฐานข้อมูลหนังสือทั่วไป(ทะเบียน3384)en_US
dc.description.abstractalternativeThis essay on “Patterns and Meanings of Holism” is the product of a research on “holism”, which is part of a project on “The Synthesis of Knowledge: Thai Society under Reform Currents”. The research aims at an understanding of and a commentary on holism, a concept widely used in the reform currents in contemporary Thai society. It relies on the following concepts and theories, namely:- Gregory Bateson’s metamessage, logical type and ecology of mind, Immanuel Kant’s focus imaginarius or projected unity, Alfred North Whitehead’s abstraction, identity and background, Stephen Rothman’s critique of strong reductionism, Erwin Schrodinger’s objectivation, quantum physics’ non-locality and interrelationship, David Bohm’s implicate order, explicate order and soma-significance interrelationship, Carl Jung’s synchronicity, and discussions of related subjects in Milindapanha (Milinda’s Questions) as well as other major texts such as those of Rene Descartes, Isaac Newton and Martin Heidegger.As a result of the studies, analysis and synthesis of various concepts and theories, the research arrives at the following conclusions.Holism is “a meaningful connecting pattern of all components in a given context”.Holism is a subject concerning with the working process of human thought, which has to rely on a connecting pattern. Wholes and parts are thus inseparable; and the thing that makes it possible for them to “hang together” in a certain way is a connecting pattern that depends on a certain meaning.Fragmentation and reduction are not the same thing. And once many ideas, commonly regarded as reductionism, have been seriously considered, it will be found out that they are, in fact, based upon wholes and meanings as well.Various ideas of holism share a common ground in emphasizing the importance of meanings and contexts, and a common attempt to reinstate them in the construction of knowledge.The key issue of holism should thus be an awareness of wholes inherent in contemporary trends in the construction of knowledge; and the emphasis should be on the “meaning” or “value” that defines whole entities, components and contexts of the search for knowledge. This may be called a “meta-methodology,” which is -- the awareness, selection and application of a type of meaning to define a whole entity, its parts, the context, and to construct a connecting pattern of the thing being mentioned, observed and studied. This will also include an understanding or argument concerning the choice of meaning.en_US
dc.identifier.callnoW61 ว841บ [2547]en_US
dc.identifier.contactno45ค091en_US
dc.subject.keywordholismen_US
dc.subject.keywordความหมายแห่งองค์รวมen_US
.custom.citationวีระ สมบูรณ์ and Weera Somboon. "แบบแผนและความหมายแห่งองค์รวม." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1594">http://hdl.handle.net/11228/1594</a>.
.custom.total_download111
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1178.pdf
ขนาด: 858.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย