• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แนวทางการตรวจสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับประชาชนไทย

สุรจิต สุนทรธรรม; Surajit Sunthorntham;
วันที่: 2542
บทคัดย่อ
แนวทางการตรวจสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับประชาชนไทย เล่มนี้ เป็นสรุปเฉพาะคำแนะนำต่างๆ ในแต่ละโรคไว้ ซึ่งจัดทำขึ้นคู่กับหนังสือ เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก : แนวทางการตรวจสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับประชาชน ซึ่งเป็นเล่มที่รวบรวมบทปริทัศน์ไว้สำหรับใช้อ้างอิงและค้นคว้าต่อไป แนวทางที่ได้จัดทำนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานทั่วไปทางคลินิก ไปจนถึงระดับนักวิจัยทางวิชาการ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบาย และผู้ใช้บริการ สามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ตามสมควรแก่สถานภาพ ในการจัดทำแนวทางในครั้งนี้ ได้จัดทำแบ่งเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการป้องกันโรคทางคลินิก ภาคการป้องกันทุติยภูมิ ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคต่างๆ และภาคการป้องกันปฐมภูมิ ซึ่งแบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการใช้ยาป้องกันโรค และหมวดการให้คำปรึกษาเพื่อการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ในส่วนภาคที่ 2 ภาคที่ 3 ได้พยายามจัดทำให้ครอบคลุมโรคที่ป้องกันได้ และยังเป็นปัญหาในประเทศไทยส่วนใหญ่ รวมทั้งได้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับบางโรคที่ป้องกันได้และยังเป็นปัญหาในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งได้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับบางโรคที่แม้ไม่เป็นปัญหาในประเทศไทยมากนัก แต่ก็มีการโฆษณาชวนเชื่อให้ใช้บริการ ทั้งในด้านของการตรวจคัดกรองและวัคซีนกันอย่างมากมายไว้ด้วย โดยได้วิเคราะห์ถึงความแม่นยำ ผลได้ผลเสีย และความคุ้มค่าของการใช้บริการดังกล่าวในบริบทของสังคมไทย นอกจากนี้ในแต่ละเรื่องยังได้เพิ่มเติมส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสำคัญไว้ด้วย ได้แก่ หากโรคใดที่แนะนำให้ทำ ก็ได้เพิ่มเติม มาตรการดำเนินการทางคลินิกเมื่อตรวจพบโรค ซึ่งสามารถใช้ดำเนินการได้ในเวชบริการรักษา ระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิบางส่วนไว้ด้วย ส่วนโรคที่ไม่แนะนำให้ทำ หรือยังมีหลักฐานไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้าน โดยเฉพาะสำหรับส่วนการป้องกันทุติยภูมิ ก็ได้พยายามรวบรวมปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันปฐมภูมิไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อบุคลากรผู้ใช้แนวทางนี้จะได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0914.pdf
ขนาด: 4.651Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 153
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV