แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

วิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทย

dc.contributor.authorชูชัย ศุภวงศ์en_US
dc.contributor.authorChoochai Supawongseen_US
dc.contributor.authorสุภกร บัวสายen_US
dc.contributor.authorจิตสิริ ธนภัทรen_US
dc.contributor.authorSupakorn Buasaien_US
dc.contributor.authorJitsiri Thanaptharaen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:43Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:49Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:43Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:49Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0139en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1600en_US
dc.description.abstractวิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทยการศึกษาวิจัยเรื่องวิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างเป็นระบบ และทราบถึงเหตุปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์ที่สำคัญในการควบคุมการบริโภค ยาสูบ ตลอดจนกระบวนการและวิธีการทำงานขององค์กรหน่วยงานจากภาคีต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์เหล่านั้น โดยอาศัยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบทั้งหมด ที่มีอยู่ในเมืองไทย อาศัยการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง 15 ท่าน และจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ นักบริหาร และผู้ปฏิบัติอีก 2 ครั้ง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ถือเอาเหตุการณ์ที่สำคัญ (Critical events) เป็นหน่วยของการวิเคราะห์ และเป็นตัวตั้งในการแบ่งช่วงเวลาของพัฒนาการการควบคุมการบริโภคยาสูบใน เมืองไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ช่วงด้วยกัน คือ ก่อนปี พ.ศ.2529 : เป็นช่วงเวลาของการดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างทำขาดความต่อเนื่อง ช่วงพ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2532 : เป็นช่วงเวลาที่มีการประสานงานและมีการจัดตั้งองค์กร 3)ช่วงพ.ศ.2532 ถึง พ.ศ.2534 : เป็นช่วงเวลาที่ถูกบีบบังคับให้เปิดตลาดบุหรี่ต่างประเทศ 4)ช่วงพ.ศ.2534 ถึง พ.ศ.2539 : เป็นช่วงเวลาของการใช้มาตรการทางกฎหมายและภาษี การแบ่งช่วงเวลาดังกล่าวทำให้พบว่าการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทยได้ดำเนินการไม่น้อยกว่า 4 ทศวรรษ แต่เป็นการดำเนินงานในลักษณะต่างคนต่างทำขาดความต่อเนื่อง จนกระทั่งปี พ.ศ.2529 ได้เกิดองค์กรพัฒนาเอกชน ชื่อโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขึ้น องค์กรแห่งนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ กระบวนการและวิธีการทำงานร่วมกับหน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ อย่างน่าสนใจ ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ (พ.ศ.2532) และมีสำนักงานควบคุมการบริโภคยาสูบ (พ.ศ.2533) ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบายและประสานงานระหว่างหน่วยงาน องค์กรจากภาคีต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ในช่วง ปีพ.ศ.2532-2534 ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญ คือ สหรัฐฯได้ใช้กฎหมายการค้ามาตรา 301 บังคับให้ไทยเปิดตลาดบุหรี่ ซึ่งในช่วงเวลา ดังกล่าวมีผลกระทบที่สำคัญ คือ ทำให้สังคมไทยได้เข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเปิดตลาดบุหรี่ ทำให้อัตราเร่งในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยเร็วขึ้น การดำเนิน-การควบคุมการบริโภคยาสูบในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2529-2539) มีผลให้เกิด คุณค่า ในสังคมไทยที่ไม่ยอมรับการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ทำให้สิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่ได้รับการคุ้มครองมากขึ้น รวมทั้งมีผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ให้เห็นถึงกระบวนการและวิธีการทำงานในเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ของบุคคล หน่วยงาน องค์กร จากภาคีต่าง ๆ ตลอดจนการวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จและปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบที่ผ่านมา รวมทั้งได้จัดทำข้อเสนอแนะที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมการบริโภค ยาสูบ ต่อไปในอนาคตen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3095922 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectTobacco--Prevention and Controlen_US
dc.subjectSmokingen_US
dc.titleวิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทยen_US
dc.title.alternativeThe evolution of the tobacco consumption control in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeThe Evolution of the Tobacco Consumption Control in ThailandThis qualitative research study entitles “the Evolution of the Tobacco Consumption Control in Thailand” was conducted with an aim to systematically chronicle the evolution of the control of tobacco consumption as well as identify the factors leading to those critical events. Moreover, the process and approaches used by the organizations of various parties and impacts from those critical events were also investigated through the methods of reviewing of all documents available in Thailand relation to the tobacco consumption control and interviewing of 15 persons. The investigators also set up an arena for two sessions of brainstorming of thoughts from academics, administrators and implementing staff involved.This study uses the critical events as the determinant units of analysis and denominators for classification of the development periods in Thailand’s tobacco consumption control that can be divided into four periods. They are 1) prior to 1986: a period of unorganized efforts without continuity; 2) 1986-1989: a period of coordination and setting up of organizations; 3) 1989-1991: a period of forced open market to the imported cigarettes; and 4) 1991-1996: a period of legislative measures and tax enforcement. The classification of periods mentioned above makes one realize that the control of tobacco consumption in Thailand has been in existence for over four decades with the initial characteristics of lack of organized activities and continuity. It was not until 1986 that a non-governmental organization by the name of a No Smoking Campaign Project was established. This organization has set up interesting strategy, process and method of working in collaboration with other agencies. Later, there was an establishment of the National Committee for Control of Tobacco Use in 1989. A setting up of the Office of Tobacco Consumption Control in 1990 has subsequently led to a formulation of a policy, plan and better coordination among all agencies from different parties concerned. In addition, during the period of 1998-1991, a critical event took place where the United States of America used the article 301 of its trade law to force Thailand to open its market to the US cigarettes. This incident at the period of time has had major impacts on Thailand in many ways. It caused the Thai society to realize the negative impacts on the health, economic, social as well as environmental issues from opening its market to the imported cigarettes. It also accelerated the drive in campaigning against cigarette smoking in Thailand. An implementation of activities to control the consumption of tobacco during the past decade (1986-1996) has fostered a “value” in the Thai society to reject the practice of cigarette smoking in public places. This has resulted in a better protection of the right of non-smokers and a decrease in the rate of cigarette smoking among the Thai population, particularly those in the age group of over 40 years. The results of the data analysis of this study have shown the implementation procedures and methods used by individuals, offices, and organizations from many parties in the critical events. The data analysis also revealed the supporting factors leading to the success and those failing to facilitate the control of tobacco consumption in the past. Recommendations deemed beneficial to the future implementation of the tobacco consumption control have also been proposed for consideration.en_US
dc.identifier.callnoWM290 ช242ร 2541en_US
dc.subject.keywordยาสูบ--การควบคุมen_US
dc.subject.keywordยาสูบen_US
.custom.citationชูชัย ศุภวงศ์, Choochai Supawongse, สุภกร บัวสาย, จิตสิริ ธนภัทร, Supakorn Buasai and Jitsiri Thanapthara. "วิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบในเมืองไทย." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1600">http://hdl.handle.net/11228/1600</a>.
.custom.total_download124
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0139.pdf
ขนาด: 1.436Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย