Show simple item record

Study and index development for risk behaviour of sex in high school and technical colledge students in Nakornrajasrima

dc.contributor.authorธนะพงศ์ จินวงษ์en_US
dc.contributor.authorDhahapong Chinwongseen_US
dc.contributor.authorเรืองชัย บุญยศักด์en_US
dc.contributor.authorนวลละออ วิวัฒน์วรพันธ์en_US
dc.contributor.authorรัตนา เอื้อวิทยาศุภรen_US
dc.contributor.authorพชรพร สุวิชาเชิดชูen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:46Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:51Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:46Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:51Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0415en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1605en_US
dc.description.abstractการศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนมัธยมปลายและอาชีวศึกษา จ. นครราชสีมา การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบในการหาตัวชี้วัด การมี พฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนมัธยมปลายและอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีการทบทวนการศึกษาที่ผ่านมา ร่วมกับเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมประชุมระดมสมองเพื่อกำหนดตัวแปรหรือตัวชี้วัดที่จะดำเนินการศึกษา จากนั้น แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การศึกษาในกลุ่มนักเรียนมัธยมและนักเรียนอาชีวะโดยวิธีเพื่อหาปัจจัยที่ความสัมพันธ์ ความไว และ มีค่าพยากรณ์บวกต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 1,314 คน แบ่งเป็นนักเรียนมัธยมในเขตเมือง 232 คน มัธยมเขตต่างอำเภอ 809 คน และ วิทยาลัยอาชีวศึกษา 273 คน คิดเป็นนักเรียนชาย 683 คน และ นักเรียนหญิง 631 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บข้อมูลจะใช้แบบสอบถามที่นักเรียนเป็นผู้ตอบเองและเป็นความลับ และการศึกษาในส่วนที่ (2) เป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 12 แห่ง เพื่อประเมินความสนใจ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และข้อเสนอแนะต่อการนำตัวชี้วัดไปใช้ โดยไม่มีการระบุชื่อสถานศึกษาที่ทำการเก็บข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนอาชีวะชายเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วร้อยละ 46.7 ส่วนนักเรียนมัธยมทั้งเขตเมืองและต่างอำเภอตอบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วประมาณหนึ่งในห้า ในขณะที่นักเรียนหญิงที่ตอบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วคิดเป็นร้อยละ 10.5 , 2.9 และ 3 ในกลุ่มนักเรียนอาชีวะ มัธยม เขตเมือง และเขตต่างอำเภอ ตามลำดับ สำหรับตัวแปรหรือปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมีพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายคือ การดื่มสุรา การไม่ได้พักอาศัยกับบิดามารดา รายได้ อายุ และ ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องว่าการมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนหญิงไม่เสี่ยงต่อการติดเอดส์ และจากการเปรียบเทียบผลการศึกษาครั้งนี้กับการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าแนวโน้มของการเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายกับแฟน-เพื่อนหญิงก็เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่สัดส่วนของการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับแฟน-เพื่อนหญิงก็อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ สำหรับปัจจัยที่พบว่ามีค่าความไว และค่าพยากรณ์บวกต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ในระดับที่สูงคือ ปัจจัยเรื่อง การดื่มสุรา ที่พักขณะเรียน กลุ่มนักเรียนอาชีวะ ทัศนคติ และ รายได้ ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีบางส่วนเท่านั้นที่มองว่าพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ของนักเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญ ทั้งนี้ เพราะสถานศึกษาส่วนใหญ่จะเน้นแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติด เรื่องการเรียน เป็นหลัก ในขณะเดียวกันสถานศึกษาแต่ละแห่งก็มิได้มีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์หรือนำเสนอข้อมูลเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ทำให้ข้อมูลขนาดปัญหาน่าจะต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ข้อคิดเห็นว่าปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ เกิดจากหลายเหตุปัจจัย เช่น การอยู่หอพัก การไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัว และการมีแหล่งมั่วสุ่มอยู่มาก ทำให้การดูแลเป็นไปได้ไม่ทั่วถึง ในส่วนของตัวชี้วัดด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ที่จะใช้ในสถานศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี สนับสนุนให้มีการจัดทำ แต่มีปัญหาติดขัดเรื่องการวัดและผู้ที่จะรับผิดชอบดำเนินการเก็บข้อมูล โดยไม่อยากให้ทางสถานศึกษาเป็นผู้จัดเก็บเอง เมื่อนำผลการสำรวจข้อมูลในกลุ่มนักเรียนไปรับฟังข้อคิดเห็น ผู้บริหารก็คิดว่าข้อมูลที่สำรวจได้ในการศึกษาครั้งนี้ใกล้เคียงกับที่คิดไว้ แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยหรือวางแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ 1) การนำเสนอผลการศึกษาให้ผู้บริหาร อาจารย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ เพื่อให้เกิดความตระหนัก พร้อมทั้งร่วมกันพิจารณาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางในการลดปัญหาดังกล่าวลง 2) สำหรับกลุ่มที่ควรเน้นให้มีกิจกรรมเพื่อลดปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ที่สำคัญ คือ นักเรียนอาชีวศึกษา ขณะเดียวกันในกลุ่มนักเรียนมัธยมทั้งเขตเมืองและต่างอำเภอก็ควรมีกิจกรรมในการลดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การดื่มสุรา การมีทัศนคติไม่ถูกต้องว่าการมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนหญิงไม่เสี่ยงต่อการติดเอดส์ 3) ในส่วนของการนำตัวชี้วัดไปใช้ จะต้องมีกระบวนการพัฒนากลวิธีในการจัดเก็บ ระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องในแต่ละสถานศึกษา การระดมการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและทุกระดับที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งดำเนินการประเมินผลตัวชี้วัดดังกล่าว ตลอดจนหากลวิธีที่จะนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางจัดทำแผนงานหรือโครงการที่เหมาะสมสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่ง ต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1050582 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAge Groupsen_US
dc.subjectHealth Care Evaluation Mechanismsen_US
dc.subjectHealth Survey -- Health Indicatorsen_US
dc.titleการศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ในนักเรียนมัธยมปลายและอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.title.alternativeStudy and index development for risk behaviour of sex in high school and technical colledge students in Nakornrajasrimaen_US
dc.description.abstractalternativeStudy and Development of Indicators for Evaluating Risk Behaviour of Sexual Intercourse in High School and Technical College Students in Nakornrachasema ProvinceThe study objectives were to develop techniques of how to find risk behaviour indicators of sexual intercourse in high school and technical college students in Nakornrachasema. The technique which was used in this study was literature review in addition to organising brain storming meeting in order to determine the indicators. The study was grouped into 2 parts, 1) studying in high school and technical college students to find risk indicators by interviewing 1314 students sampled by multi-stage technique, 2) interviewing 12 school administrators to assess their interests in using the indicators.The study showed that 1 in 5 high school students and 46.7% of technical college students had had sexual intercourse while in female students, 10.5% of technical college students, 2.9% of high school students in Muang district and 3% of high school students in other districts had done so. Factors which were related to risk behaviour in male group, were drinking, independent living from their family, family income, age and inappropriate attitude for example having sex with their friends not risking AIDS infection. Sensitive indicators which were positive to high risk, were drinking, their living conditions, being technical college students, attitudes and family income.The results from interviewing educational administrators were some of them considered this issue as important whereas they were more interested in drug and learning problems. They expressed concern over independent living, less taken care by their family and lots of entertaining places where students were easily led to risk life behaviour. Most of them agreed with the use of indicators but felt hesitate to collect data by themselves. The study recommended that;the results of this study should be presented to all involved to promote issue awareness and process of exchanging views,high risk group which was the technical college students should be first targeted,process of data collection should be developed.en_US
dc.identifier.callnoHQ793 ธ15ร 2541en_US
dc.subject.keywordHealth Risk Behavioren_US
dc.subject.keywordIndicatoren_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาen_US
dc.subject.keywordสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.subject.keywordสำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 5en_US
dc.subject.keywordศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 5en_US
dc.subject.keywordสามัญศึกษาจังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.subject.keywordตัวชี้วัดen_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์en_US
dc.subject.keywordนักเรียนอาชีวศึกษาen_US
dc.subject.keywordวัยรุ่นen_US
dc.subject.keywordปัจจัยเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์en_US
.custom.citationธนะพงศ์ จินวงษ์, Dhahapong Chinwongse, เรืองชัย บุญยศักด์, นวลละออ วิวัฒน์วรพันธ์, รัตนา เอื้อวิทยาศุภร and พชรพร สุวิชาเชิดชู. "การศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ในนักเรียนมัธยมปลายและอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1605">http://hdl.handle.net/11228/1605</a>.
.custom.total_download216
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0415.pdf
Size: 1.082Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record